ความเชื่อเรื่องการโกนผมไฟ

 

เมื่อลูกอ่อนมีอายุได้ประมาณเดือนเศษ พ่อแม่ก็จะเตรียมโกนผมไฟโดยไม่ต้องทำพิธี ด้วยการลับมีดโกนกับหินลับมีดให้คมกริบ นำใบบอนมาใบหนึ่ง แม่อุ้มเด็กไว้ในตัก พ่อเอาน้ำชโลมผมไฟให้เด็กทั่วศีรษะ เมื่อผมเปียกดีแล้วพ่อจะเริ่มโกนตั้งแต่หน้าผากขึ้นจนรอบศีรษะ จะต้องระวังส่วนสูงสุดของศีรษะตอนกลางที่เรียกว่า “กระหม่อม” เท่านั้น เพราะเด็กเกิดใหม่กระหม่อมจะบางยังไม่เต็ม ยังนิ่มอยู่ทำให้โกนยากกว่าบริเวณอื่นๆ ส่วนแม่คอยจับมือลูกที่ไขว่คว้าไปมาไม่ได้หยุดนั้นให้นิ่งไว้จะได้ไม่ถูกมีด โกนบาด

เมื่อโกนผมไฟเสร็จแล้ว พ่อจะเก็บผมไฟใส่ใบบอนที่เตรียมไว้ ห่อให้เรียบร้อยแล้วอาจนำไปลอยน้ำโดยเชื่อว่าจะเกิดความร่มเย็นแก่ลูกต่อไป บางรายหากไม่นำห่อผมไฟไปลอยน้ำ ก็อาจนำไปฝากไว้ที่ต้นกล้วยที่มีกาบใหญ่ๆ ก็ได้เพราะถือว่าผมเป็นของสูงจะนำไปทิ้งเรี่ยราดไม่ได้ เหตุผลที่เลือกใบบอนมาห่อผมไฟเด็กคงไม่ใช่เพราะเห็นกิริยาของเด็กอ่อนไม่ อยู่นิ่ง ดูเหมือนคันขยุกขยิกตลอดเวลา แต่อาจเป็นเพราะต้นบอนขึ้นอยู่ทั่วไปในแหล่งที่มีน้ำไปถึง หาง่ายจึงมีผู้นิยมเด็ดหรือตัดมาใช้ รวมทั้งนำมาห่อผมไฟที่โกนแล้วด้วย

ที่มาของความเชื่อเรื่องการโกนผมไฟ : http://thaiculturebuu.wordpress.com

Related posts
ประเพณีไทย ประเพณีแห่นางแมวขอฝน
ประเพณีไทย ประเพณีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้า อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (ประเพณีเข้ากรรมเมือง)
ประเพณีไทย ประเพณีบุญข้าวหลาม
ประเพณีไทย ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย
ประเพณีไทย ประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ
ประเพณีไทย ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ