ประเพณีไทย ประเพณีเข้าอินทขิล (ใส่ขันดอก)

ช่วงเวลาที่จัดงานประเพณีไทย ประเพณีเข้าอินทขิล (ใส่ขันดอก) ระหว่างแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ (เดือน ๙ จันทรคติภาคกลาง) ถึง ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน๙ เหนือ ณ วิหารจตุรมุข วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ความสำคัญของประเพณีเข้าอินทขิล (ใส่ขันดอก)

เป็นประเพณีบูชาเสาหลักเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีชื่อว่าเสาอินทขิล เสาหลักเมืองเดิมมีมาตั้งแต่เมื่อครั้งสร้างเมืองเชียงใหม่ และประดิษฐานที่วัดสะดือเมือง ต่อมาได้เสื่อมสภาพไป พระยากาวิละซึ่งได้ฟื้นฟูประเพณีอินทขิลขึ้นใหม่ จึงได้สร้างและย้ายมาประดิษฐานไว้ ณ วัดสวนดอกจนถึงปัจจุบันนี้ ชาวเชียงใหม่ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอย่างหนึ่ง

พิธีกรรมของประเพณีเข้าอินทขิล (ใส่ขันดอก)

เริ่มด้วยพ่อหมอพฤฒาจารย์กระทำพิธีบูชาครู สักการะวิญญาณบรรพบุรุษ อารักษ์ และผีเจ้านายทั้งหลาย เทศบาลนครเชียงใหม่จัดขบวนแห่พระพุทธรูปฝนแสนห่าไปรอบเมืองให้ประชาชนสรงน้ำ ที่บริเวณวัดมีขันบูชาเสาอินทขิลสำหรับให้ประชาชนนำดอกไม้ไปบูชา (เรียกว่า ใส่ขันดอก)

สาระของประเพณีเข้าอินทขิล (ใส่ขันดอก)

ทำให้ประชาชนทราบความเป็นไปของบ้านเมือง ทำให้มีความหวังว่าในปีที่กำลังจะมาถึงจะมีความอุดมสมบูรณ์ และประชาชนจะอยู่ดีกินดี

ที่มาประเพณีไทย ประเพณีเข้าอินทขิล (ใส่ขันดอก) : ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

Related posts
ประเพณีไทย ประเพณีแห่นางแมวขอฝน
ประเพณีไทย ประเพณีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้า อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (ประเพณีเข้ากรรมเมือง)
ประเพณีไทย ประเพณีบุญข้าวหลาม
ประเพณีไทย ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย
ประเพณีไทย ประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ
ประเพณีไทย ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ