สัก สมุนไพรไทย

สัก สมุนไพรไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f.
ชื่อสามัญ : Teak
วงศ์ : LABIATAE
ชื่ออื่น : เคาะเยียโอ (ละว้า-เชียงใหม่) ปายี้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ปีฮือ เป้อยี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เส่บายี้ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ไม้ผลัดใบสูงตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป ลำต้นเปลาตรง โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น เปลือกในสีเขียวอ่อน ใบ เดี่ยว เรียบตรงข้าม ปลายแหลม โคนมน ยาว 25-40 เซนติเมตร กว้าง 20-30 เซนติเมตร ใบต้นอ่อนจะใหญ่กว่านี้มาก ด้านล่างสีเขียวเข้ม ด้านบนสีอ่อนกว่า ผิวใบมีขนสากมือ มีต่อมเล็ก ๆ สีแดง ขยี้ใบจะมีสีแดงเหมือนเลือด ดอก ขนาดเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล แห้งค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง เมล็ด มี 1-3 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบ เนื้อไม้ เปลือก ดอก

สรรพคุณ :

ใบ
– รสเผ็ดเล็กน้อย
– รับประทานเป็นยาลดน้ำตาลในเลือด
– บำรุงโลหิต รักษาประจำเดือนไม่ปกติ แก้พิษโลหิต
– ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
– ทำยาอม แก้เจ็บคอ

เนื้อไม้
– รสเผ็ดเล็กน้อย
– รับประทานเป็นยา ขับลม ขับปัสสาวะ ได้ดีมาก ใช้แก้บวม
– บำรุงโลหิต แก้ลมในกระดูก แก้อ่อนเพลีย
– แก้ไข้ คุมธาตุ
– ขับพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง

เปลือก – ฝาดสมาน

ดอก – ขับปัสสาวะ

วิธีและปริมาณที่ใช้

ใช้ใบ – ต้มกับน้ำ รับประทานเป็นยาลดน้ำตาลในเลือด

สรรพคุณของสัก

  1. ใบนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด (ใบ)
  2. เนื้อไม้และใบมีรสเผ็ดเล็กน้อย สรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต (เนื้อไม้,ใบ)
  3. ใบมีรสเผ็ดเล็กน้อย มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษโลหิต (ใบ)
  4. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (เนื้อไม้)
  5. เปลือกไม้มีสรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ (เปลือกไม้)
  6. เมล็ดใช้เป็นยารักษาโรคตา (เมล็ด)
  7. ใบใช้ทำเป็นยาอมแก้เจ็บคอ (ใบ)
  8. ช่วยแก้ไข้ คุมธาตุในร่างกาย (เนื้อไม้)
  9. เนื้อไม้ใช้รับประทานเป็นยาขับลมได้ดีมาก ส่วนใบก็มีสรรพคุณเป็นยาขับลมเช่นกัน (เนื้อไม้,ใบ)
  10. เนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ (เนื้อไม้)
  11. เนื้อไม้ ใบ และดอกมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (เนื้อไม้,ใบ,ดอก)
  12. ใบใช้เป็นยาแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ (ใบ)
  13. ช่วยรักษาประจำเดือนไม่ปกติ (ใบ)
  14. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (เนื้อไม้)
  15. เปลือกมีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมาน (เปลือก)
  16. เปลือกไม้มีสรรพคุช่วยบรรเทาอาการบวม (เปลือกไม้) ส่วนเนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาแก้บวม (เนื้อไม้)
  17. ช่วยแก้ลมในกระดูก (เนื้อไม้)