ดอกทองกวาว
ดอกจานเหลือง
ดอกไม้ประจำจังหวัดลำพูน
ดอกไม้ประจำจังหวัด | เชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี |
ชื่อดอกไม้ | ดอกทองกวาว |
ชื่อสามัญ | Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Butea monosperma |
วงศ์ | LEGUMINOSAE |
ชื่ออื่น | กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน) |
ลักษณะทั่วไป | ทองกวาว เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 10–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะกลม หรือเป็นทรงกระบอก ใบประกอบมี 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ใบหนาและมีขน ใต้ใบสีเขียวอมเทา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่ว สีแสดแดงหรือเหลือง มีขน ออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน มีขนนุ่ม เมล็ด 1 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก |
การขยายพันธุ์ | การเพาะเมล็ด |
สภาพที่เหมาะสม | ดินร่วนซุย แสงแดดจัด |
ถิ่นกำเนิด | อินเดีย |
ดอกทองกวาว เป็นดอกไม้ประจำจังหวัด จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดลำพูน, จังหวัดอำนาจเจริญ, จังหวัดอุดรธานี