ประเพณีไทย ประเพณีบุญข้าวหลาม

ช่วงเวลาที่จัดงานประเพณีบุญข้าวหลาม

ประเพณีบุญข้าวหลาม เป็นประเพณีของชาวลาวเวียงและลาวพวนในอำเภอพนมสารคาม ซึ่งเป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายลาว ที่อยู่ใกล้เคียงกับชาวไทยเชื้อสายเขมร

ประเพณีนี้อาจเป็นสิ่งที่ยึดถือสืบต่อกันมาแต่ก่อนเมื่อครั้งยังอยู่ใน ประเทศลาวจึงเท่ากับเป็นการรักษาประเพณีดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติกันมา ซึ่งเท่ากับเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนาทางหนึ่ง

พิธีกรรมของประเพณีบุญข้าวหลาม

วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ชาวบ้านทุกบ้านจะเผาข้าวหลาม เพื่อนำไปถวายพระในเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ตอนสายจะพากันเดินไปขึ้นเขาดงยาง ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๖ กิโลเมตร เพื่อปิดทองรอยพระพุทธบาทบนเขาดงยาง และนำข้าวหลามไปรับประทานบนเขา

สาระของประเพณีบุญข้าวหลาม

นอกเหนือจากการทำบุญกุศลแล้วยังเป็นการชุมนุมพบปะกัน ของชนเผ่าผู้อพยพทางหนึ่ง ทั้งนี้สืบเนื่องจากชุมชนลาวรุ่นแรกๆล้วนมาจากประเทศลาวแล้วแยกย้ายกัน บุกเบิกป่าสร้างที่ทำกิน การกำหนดนัดพบหน้าโดยถือเอาวันสำคัญทางศาสนาเป็นแกนนั้นนับได้ว่าได้ทั้งบุญ กุศส ได้ทั้งความรู้สึกอบอุ่นทางเชื้อชาติในคราวเดียวกัน

ที่มาประเพณีไทย ประเพณีบุญข้าวหลาม : ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

ประเพณีไทย ประเพณีบุญข้าวหลาม

ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งอพยพมาจากเวียงจันทร์ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งเรียกตัวเองว่า “ชาวลาวเวียง” ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขต อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

บุญข้าวหลาม” เป็นประเพณีการทำบุญถวายข้าวหลาม ขนมจีนน้ำยาป่าแด่พระภิกษุสงฆ์ วัดหนองบัว วัดหนองแหน ซึ่งอยู่ในเขต อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ประเพณีนี้มีในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3ของทุกปี เหตุที่ถวายข้าวหลามนั้น อาจเป็นเพราะเดือน 3 เป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา จึงนำข้าวอันเป็นพืชหลักของตนที่ได้จากการเก็บเกี่ยวครั้งแรก ซึ่งเรียกว่าข้าวใหม่ จะมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมาก นำมาทำเป็นอาหาร โดยใช้ไม้ไผ่สีสุกเป็นวัสดุประกอบในการเผา เพื่อทำให้ข้าวสุก เรียกว่า “ข้าวหลาม” เพื่อนำไปถวายพระภิกษุ

การเผาข้าวหลาม ชาวบ้านจะเริ่มเผาในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 โดยชาวบ้านจะออกไปหาไม้ไผ่ ซึ่งมีอยู่มากในหมู่บ้านมาทำกระบอกข้าวหลาม ซึ่งจะต้องเลือกลำไผ่ที่ไม่แก่หรืออ่อนมากเกินไป ไม่มีตามด เพราะตามดจะทำให้มีกลิ่นเหม็นและไม่มีเยื่อ ทำให้ข้าวติดกระบอก ความยาวของปล้องไม้ไผ่ ห่างพอควร ยาวประมาณ 18 นิ้ว นำไม้ไผ่ทั้งลำมาตัด หรือเลื่อยเป็นท่อน ๆ โดยมีข้อต่อที่ก้นกระบอกจากนั้นนำ “ข้าวเหนียว” ที่มีกะทิผสมเรียบร้อยแล้ว ใส่กระบอกนำไปเผาไฟที่ลานบ้าน โดยขุดดินเป็นรางตื้น ๆ เป็นที่ตั้งกระบอกข้าวหลาม รอบ ๆ แถวข้าวหลามก่อกองไฟขนานไปกับข้าวหลาม บางบ้านใช้ต้นไม้ที่ตายแล้วทั้งต้นมาเป็นเชื้อเพลิง เช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ชาวบ้านจะนำข้าวหลามขนมจีนไปทำบุญที่วัด


การทำบุญข้าวหลามของชาว “ลาวเวียง” ยังคงทำกันตามประเพณีดั้งเดิม และผสมผสานกับประเพณีไทยก็คือ การปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลองที่วัดเขาดงยาง (วัดสุวรรณคีรี) เขต ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา กลางเดือน 3 ชาวบ้าน “ลาวเวียง” ซึ่งอยู่ห่างจากวัดดงยาง ประมาณ 4 – 6 กิโลเมตร ต้องเดินทางด้วยเท้าไปปิดทอง โดยใช้เส้นทางผ่านบ้านหัวสำโรง ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว ซึ่งมีชาวไทยเชื้อสายเขมร ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นจำนวนมาก ประเพณีบุญข้าวหลามจึงแพร่หลายสู่บ้านหัวสำโรง และรับเป็นประเพณีของชนกลุ่มตน เป็นประเพณี “ขึ้นเขาเผาข้าวหลาม” ของชาวชุมชนหัวสำโรง ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา มาจนถึงทุกวันนี้

ประเพณีไทย ประเพณีบุญข้าวประดับดิน

ประเพณีไทย ประเพณีบุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรกหรือเปรต อยากให้เพื่อนๆรู้ที่มาของประเพณี เพื่อจะได้เข้าใจความหมายที่ทำให้เกิดประเพณีนี้ขึ้นมาครับ

มีเรื่องเล่าต่อกันมาอยู่หลายแห่ง บางแห่งก็เล่าว่า โบราณท่านเขียนไว้ในหนังสือฉลอง ความว่า “ครั้งที่มหาโมคคัลลาน์แทรกแผ่นดินลงไปเยือนนรก ซึ่งเขากำลังเสวยกรรมอยู่ในแดนต่างๆ พอท่านไปถึงก็บันดาลให้ไฟนรกดับ สัตว์นรกก็ไม่ได้เสวยกรรม พอท่านจะกลับมายังโลกมนุษย์พวกสัตว์นรกได้สั่งท่านให้มาบอกญาติพี่น้องทาง โลกได้ทราบ และทำทานอุทิศส่วนกุศลไปให้บ้าง เมื่อพระโมคคัลลาน์กลับมาถึงชมพูทวีปก็ประกาศข่าวนี้ให้ประชาชนทราบ ซึ่งวันนั้นตรงกับวันดับเดือนเก้า (วันแรม 15 ค่ำ) จึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันทำบุญข้าวประดับดิน

ประเพณีบุญข้าวประดับดิน

อีกแห่งก็เล่าว่า มีเรื่องเล่าไว้ในพระธรรมบทว่าญาติของพระเจ้าพิมพิสารกินของสงฆ์เมื่อตาย แล้วไปเกิดในนรก ครั้นพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้วมิได้อุทิศให้ญาติที่ตาย กลางคืนพวกญาติที่ตายมาแสดงตัวเปล่งเสียงน่ากลัวให้ปรากฏใกล้พระราชนิเวศน์ รุ่งเช้าได้เสด็จไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทูลเหตุุให้ทราบ พระเจ้าพิมพิสารจึงถวายทานอีกแล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติที่ตายไปจึงได้รับ ส่วน กุศลการทำบุญข้าวประดับดิน ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาติผู้ตายแล้ว ถือเป็นประเพณี ที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี

บางคนสงสัยว่า ทำไมถึงต้องทำบุญห่อข้าวประดับดิน ในเดือนเก้า ที่จำเพาะต้องเป็นเดือนนี้ เนื่องจาก เป็นช่วงกึ่งกลางฤดูฝนพอดี เป็นช่วงเวลา ที่ข้าวปลาอาหาร อุดมสมบูรณ์ที่สุด น้ำในแม่น้ำลำคลอง ก็เต็มตลิ่ง เกาะแก่งกลางน้ำหายไป เพราะน้ำท่วมมิด ช่วงเวลาที่ดูเหมือนจะสมบูรณ์เช่นนี้ ทำให้ลูกหลาน ระลึกถึงพระคุณ ของบรรพบุรุษ และคิดตอบแทนบ้าง ซึ่งในบุญเดือนเก้านี้ถือกันว่า ผีเครือญาติ ที่ยังไม่หมดกรรม จะได้รับการปลดปล่อย ให้กลับมาเยี่ยมโลกมนุษย์อีกครั้ง พร้อมทั้งรับส่วนบุญที่ลูกหลานอุทิศให้

มีผู้ให้ความเห็นว่า บุญห่อข้าวประดับดินนี้นอกจากจะเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษและผีไร้ ญาติตามความเชื่อแล้ว ถือว่าเป็นการให้ทานแก่ผู้ยากไร้รวมทั้งสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ ที่ต้องหิวโซ อดมื้อกินมื้อมาตลอดทั้งปีด้วย เพราะการที่ตั้งอาหารไว้ที่พื้นทำให้สัตว์เหล่านั้นสามารถเข้ามากินอาหารได้ อย่างเต็มที่ ทุกวันนี้คนเราส่วนมากมักนึกถึงแต่เรื่องของตนเองเป็นสำคัญ การมีงานบุญงานประเพณี อย่าง บุญห่อข้าวประดับดิน จะช่วยกระตุ้นเตือนให้เราได้นึกถึงผู้อื่นบ้าง จึงน่าจะถือได้ว่าเป็นวันแห่งการชำระล้างความเห็นแก่ตัวออกไปจากจิตใจด้วย เช่นกัน

ประเพณีบุญข้าวประดับดิน

พิธีกรรม ประกอบด้วย

  • วันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะเตรียมข้าวต้ม ขนม ข้าวปลาอาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู และบุหรี่ ทำเป็นห่อเล็กๆเอาไว้ กะให้ได้ 4 ส่วน ส่วนหนึ่งเลี้ยงดูกันภายในครอบครัว ส่วนที่สองแจกให้ญาติพี่น้อง ส่วนที่สามอุทิศให้ญาติที่ตายไปแล้ว และส่วนที่สี่นำไปถวายพระสงฆ์ ในส่วนที่สาม ญาติโยมจะห่อข้าวน้อย ซึ่งมีวิธีการห่อคือ ใช้ใบตองห่อ ขนาดเท่าฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุดซีกของใบตอง
    ประเพณีบุญข้าวประดับดิน

    อาหารคาวหวาน ที่ใส่ห่อนั้นจะจัดใส่ห่ออย่างละเล็กละน้อย อาทิ

    • ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ 1 ก้อน
    • เนื้อปลา เนื้อไก่ หมู และใส่ลงไปเล็กน้อย ถือว่าเป็นอาหารคาว
    • กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง มะละกอ มันแกว อ้อย มะละกอสุก หรือขนมหวานอื่นๆ ลงไป (ถือเป็นอาหารหวาน)
    • หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ

    หลังจากนั้น นำใบตองมาห่อเข้ากันแล้วใช้ไม้กลัดหัวท้ายและตรงกลางก็จะได้ห่อข้าวน้อย ที่มีลักษณะยาวๆ หมาก พลู หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ สีเสียด แก่นคูน นำมาห่อใบตองเข้าด้วยกันแล้วไม้กลัดหัวท้าย ก็จะได้ห่อหมาก พลู หลังจากนั้นนำทั้ง 2 ห่อมาผูกกันเป็นคู่ แล้วนำไปมัดรวมเป็นพวง 1 พวง จะใส่ ห่อหมากและห่อพลูจำนวน 9 ห่อ ต่อ 1 พวง

 

ประเพณีบุญข้าวประดับดิน
  • การวางห่อข้าวน้อย หมายถึง การนำห่อข้าวน้อยไปวางอุทิศส่วนกุศลตามที่ต่างๆ พอถึงเวลาประมาณ 03.00 – 04.00 น.ของวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจะนำเอาห่อข้าวน้อยที่จัดเตรียมได้แล้วไปวางไว้ตามโคน ต้นไม้ในวัด วางไว้ตามดินริมกำแพงวัด วางไว้ริมโบสก์ ริมเจดีย์ในวัด การนำเอาห่อข้าวน้อยไปวางตามที่ต่างๆ ในวัดเรียกว่า การยาย(วางเป็นระยะๆ)ห่อข้าวน้อย ซึ่งเวลานำไปวางจะพากันไปทำอย่างเงียบๆ ไม่มีการตีฆ้อง ตีกลองแต่อย่างใด

 

ประเพณีบุญข้าวประดับดิน

 

  • หลังจากการยาย (วาง) ห่อข้าวน้อยเสร็จ ชาวบ้านจะกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารใส่บาตรในตอนเช้าของวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 หลังจากนี้น พระสงฆ์จะแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับเรื่องอานิสงฆ์ของบุญข้าวประดับดินให้ ฟัง ต่อจากนั้นชาวบ้านจะนำปัจจัยไทยทานถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ให้พรเสร็จ ชาวบ้านที่มาทำบุญก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติ ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทุกๆ คน