จังหวัดพิษณุโลก

พิษณุโลก มีประวัติศาสตร์อันยาวนานควบคู่กับประเทศไทย โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในศิลาจารึก ตำนาน นิทาน และพงศาวดาร เช่น สองแคว สระหลวง สองแควทวิสาขะ ไทยวนที

เดิมเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองเก่าสมัยขอม อยู่ห่างจากที่ตั้งเมืองปัจจุบันลงไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร เรียกว่า “เมืองสองแคว” ที่เรียกเช่นนี้ เพราะตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำน่านกับแม่น้ำเหตุ แต่ปัจจุบันแม่น้ำแควน้อยเปลี่ยนทางเดินออกห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 10 กิโลเมตร

ที่ตั้งตัวเมืองเก่าในปัจจุบันคือ บริเวณวัดจุฬามณี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของพิษณุโลก แต่เมื่อประมาณพุทธศักราช 1900 พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้โปรด ให้ย้ายเมืองสองแคว มาตั้งอยู่ ณ บริเวณตัวเมืองในปัจจุบัน และยังคงเรียกกันติดปากว่า เมืองสองแคว เรื่อยมา

หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอนครไทย อำเภอชาติตระการ อำเภอบางระกำ อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอพรหมพิราม อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปราง

คำขวัญประจำจังหวัด
พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตะการตา

ตราประจำจังหวัด

รูปพระพุทธชินราช หมายถึงประพุทธชินราชซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีลัษณะงดงามที่สุดของประเทศไทย

ต้นไม้ประจำจังหวัด
ปีบ

ดอกไม้ประจำจังหวัด
นนทรี

ผลไม้ประจำจังหวัด
กล้วย

สถานที่สำคัญ
แหล่งท่องเที่ยว
* วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช
* พระราชวังจันทร์ เป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
* เขาสมอแครง
* น้ำตกชาติตระการ
* นำตกปอย
* น้ำตกสกุโณทยาน
* อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว
* อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ
* อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
* อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
* วนอุทยานเขาพนมทอง
* อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
* ล่องแก่ง ลำน้ำเข็ก