Copyright © 2014. Designed by ประกันภัยรถยนต์.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper sarmentosum Roxb. ชื่อสามัญ : Wildbetal Leafbush วงศ์ : PIPERACEAE ชื่ออื่น : นมวา (ภาคใต้) ผักปูนา ผักพลูนก พลูลิง (ภาคเหนือ) เย่เท้ย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นทอดคลานไปตามพื้นดิน สูง 30-80 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ มีรากงอกออกตามข้อ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบบาง ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบรูปหัวใจ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบรูปทรงกระบอก ดอกเล็กสีขาวอัดแน่นอยู่บนแกนช่อดอก ดอกแยกเพศ ผล เป็นผลสด กลม อัดแน่นอยู่บนแกน Read more →
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drynaria quercifolia (L.) J.Sm. วงศ์ : POLYPODIACEAE ชื่ออื่น : กระแตไต่ไม้ (ภาคกลาง), กระปรอก (จันทบุรี), กระปรอกว่าว (ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี), กูดขาฮอก เช้าวะนะ พุดองแคะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เดาน์กาโละ (มลายู-ปัตตานี), ใบหูช้าง สไบนาง (กาญจนบุรี), สะโมง (ส่วย-สุรินทร์), หัวว่าว (ประจวบคีรีขันธ์) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์นอิงอาศัย เหง้าทอดยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-4 ซม. ยาวได้ถึง 1 ม. หรือมากกว่า มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดแคบ กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 1.8 ซม. ปลายเรียวยาว รากสั้นๆ มีรากขนอ่อนสีน้ำตาล ใบเดี่ยว มีรูปร่างและหน้าที่ต่างกัน 2 แบบ ใบไม่สร้างอับสปอร์เป็นรูปไข่ กว้าง 10-25 ซม. ยาว 15-35 ซม. ปลายแหลม โคนมน ขอบหยักเว้ามนตื้นๆ เข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน ปลายมน ไม่มีก้านใบ ใบชนิดนี้จะมีสีเขียวอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งแต่ยังคงติดอยู่กับต้น ดังนั้นจะเห็นซ้อนกันหลายใบ เป็นที่สะสมของใบไม้แห้งที่ตกลงมา ซึ่งจะกลายเป็นปุ๋ยให้ต้น ใบสร้างอับสปอร์กว้าง 20-35 ซม. ยาว 0.6-1 ม. รูปคล้ายใบประกอบแบบขนนก ขอบหยักเว้าลึกเข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน แต่ละหยักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ใบชนิดนี้มีสีเขียวตลอดอายุ เมื่อใบแก่แผ่นใบจะร่วงไป คงเหลือส่วนก้านใบและเส้นกลางใบติดอยู่กับต้น เส้นใบเป็นร่างแห กลุ่มอับสปอร์รูปกลมหรือรูปไข่ เรียงตัวค่อนข้างมีระเบียบ 2 ข้างของเส้นใบที่แบ่งกลางแต่ละแฉก Read more →
ผักพื้นบ้าน คือ พรรณพืชพื้นบ้านในท้องถิ่น ที่ชาวบ้านนำมาบริโภคเป็นอาหาร เป็นยารักษาโรค หรือนำมาทำเป็นของใช้สอยในครัวเรือน ผักพื้นบ้านนอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ส่วนใหญ่ยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร เนื่องจากมีรสยาที่หลากหลายอยู่ในผักพื้นบ้าน ตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ให้ความสำคัญกับรสอาหารพื้นบ้าน ดังนี้ Read more →
สรรพคุณและประโยชน์ของกระท้อน กระท้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Sandoricum koetjape ( Burm. f.) Merr. และจัดอยู่ในวงศ์ MELIACEAE เช่นเดียวกับกัดลิ้น ตะบูนขาว ตะบูนดำ ลองกอง และสะเดา กระท้อน ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีก เช่น สะตู สตียา (นราธิวาส), สะโต (ปัตตานี), เตียนล่อน สะท้อน (ภาคใต้), มะติ๋น (ภาคเหนือ), มะต้อง (อุดรธานี,ภาคเหนือ) เป็นต้น Read more →
งาดำถือว่าเป็น ธัญพืชชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณมากายนับไม่ถ้วนและในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการ วิจัยไหนที่หาประโยชน์ในงาดำหมด งาดำมีถิ่นกำเนิดในประเทศโอธิโอเปียถูกนำเข้ามเอเชียในครั้งแรกที่ประเทศจีน จากนั้นก็แพร่หลายมาเรื่อยจนมาถึงประเทศไทย ก็ได้นิยมนำงาดำมาเป็นส่วนประกอบอาหารโดยเฉพาะอาหารหวาน ขนมต่างๆมักจะนิยมนำงาดำมาโรยหน้าขนมและในปัจุบันนี้ ได้มีการนำงาดำมาทำเป็นเครื่องดื่มโดยเฉพาะ น้ำนมถั่วเหลืองผสมงาดำพบว่าเมื่อเทียบกำน้ำมะเขือแล้วน้ำนมถั่วเหลืองผสมงา ดำมี สรรพคุณต้านอนุมูลอิสระมากกว่าน้ำมะเขือเทศถึง20เท่า นอกจากนี้ในวงการสปาก็ได้มีการ สกัดน้ำมันจากงาดำเพราะในงาดำมีสรรพคุณที่ช่วยให้ผ่อนคลายจากการทำงานหนัก ของกล้ามเนื้อและยังช่วยรักษาอาการอักเสบของกล้ามเนื้อได้ดีอีกด้วยและใน ปัจจุบันยังมีการ วิจัยเพื่อหาสรรพคุณอย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่นวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีงาดำเป็นปัจจัย Read more →
มะระขี้นก เป็นพืชชนิดหนึ่งที่คนไทยเรารู้จักดีและ โดยเฉพาะในเรื่องของการนำมารัปประทาน เป็นผักที่ใช้ทานคู่กับน้ำพริก แม้จะมีรสค่อข้างขม (ถ้าลวกดีๆก็ไม่ขมนะ) แต่รสชาติโดยรวมถือว่าใช้ได้ ซ้ำยังมีสรรพคุณทางยาอีกมายมาย Read more →
วันนี้เรามาพูดถึงผลไม้ ที่ใช้เป็นยาสมุนไพรไทยกันบ้าง และผลไม้สมุนไพรชนิดที่เราจะพูดถึงในวันนี้ ทุกคนคงรู้จักและเคยทาน ผลไม้ชนิดนี้มีรสชาติที่หอมหวาน และเนื้อในที่ขาวเนียนซึ่งถูกซ่อนเอาไว้ในเปลือกหนาสีแดงอมม่วง พูดลักษณะมาแบบนี้หลายคนคงนึกออกแล้วใช่ไหมคะ จะเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจาก “มังคุด” นั่นเอง ก่อนเข้าสู่เนื้อหา ขอถามทุกคนก่อนว่าสำหรับมังคุดนั้น เวลาทาน แล้วเปลือกมังคุดที่แกะออกมาล่ะ ทำไงกับมันต่อ หลายคนก็คงจะตอบทันทีว่า ก็ทิ้งสิ จะเก็บไว้ทำไม ทานก็ไม่ได้ !!! ก็ถูกอีก ถูกตรงที่ทานไม่ได้ แต่ถ้าเป็นด้านสมุนไพรไทย แล้วนับว่าน่าเสียดายมากที่จะทิ้งเปลือกมังคุด เพราะส่วนเปลือกเป็นส่วนที่จะใช้เป็นยาสมุนไพรได้มากที่สุด ก่อนที่เราจะพูดถึงต่อไปว่าเปลือกมังคุดเอาไปทำยาสมุนไพรอะไรได้บ้าง เรามารู้จักลักษณะของมังคุดกันก่อนดีกว่าค่ะ Read more →
รางจืด สมุนไพรไทยชนิดนี้มีพูดถึงกันมาก และค่อนข้างแพร่หลาย โดยเฉพาะในเรื่องของการล้างสารพิษในร่างกาย และการล้างสารพิษจากยาฆ่าแมลงต่างๆ นับว่าน่าสนใจทีเดียวกับวิถีชีวิต (life style) ของคนสมัยนี้ ที่ต้องผจญกับมลภาวะมากมาย เรามารู้จักกับสมุนไพรไทยชนิดนี้กันดีกว่าค่ะ Read more →
สมุนไพรไทย ฟ้าทลายโจรข้อมูลทั่วไป ชื่อวิทยาศาสตร์ Andrographis paniculata Wall. ex Ness. สกุล ACANTHACEAE ชื่อเรียกตามท้องถิ่น ฟ้าทะลายโจร น้ำลายพังพอน (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (ชลบุรี) หญ้ากันงู (สงขลา) สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง) เขยตายยายคลุม (อ.โพธาราม) เมฆทะลาย (ยะลา) เรียกได้ว่ามีชื่อเรียกหลากหลายทีเดียว ลักษณะของพืชชนิดนี้ -ต้น เป็นไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ส่วนปลายกิ่งเป็นสี่เหลี่ยม จะแตกกิ่งก้านออก เฉพาะด้านข้างเท่านั้น กิ่งก้านมีสีเขียว และ จะสูงประมาณ 30-60 ซม. – ใบ ออกใบเดี่ยว ลักษณะของใบแคบ ตรงปลายและโคนใบแหลม ผิวใบเป็นมันมีสี เขียว ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ และส่วน ยอดของต้น ลักษณะของดอกเป็นหลอด ปลาย ดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ สีขาว หรืออมม่วง อ่อนๆ ดอกจะแบ่งออกเป็น 2 ปาก ที่ปากบน แยกออกเป็น 3 กลีบ ล่าง 2 กลีบ มีกลีบ เลี้ยง 5 กลีบ ผล คล้ายกับผลของต้นต้อยติ่ง แต่มี ขนาดเล็กและสั้นกว่า ผลนี้จะตั้งมุมก้านดอก เมื่อผลแก่เต็มที่ก็แตกออกเป็นสองซีกทำให้ มองเห็นเมล็ดภายในสีน้ำตาลแบนๆ มีอยู่จำนวนมาก Read more →
อบเชย สมุนไพรไทย หากพูดถึง “อบเชย” ใครหลายคนคงนึกถึงแท่งอบเชยสีน้ำตาลแดง ลักษณะคล้ายแผ่นไม้แห้งที่หดงอหลังจากสัมผัสความชื้น หรือสำหรับสาวคนใดที่ชื่นชอบของหวาน คงคุ้นเคยกับผงอบเชยละเอียดที่โรยหน้าลงบนขนมหวานอย่าง ชินนามอนโรล แต่หากพูดถึงสรรพคุณของเครื่องเทศชนิดนี้ บอกได้เลยว่า “ไม่เชย” เนื่องจากมีนักวิจัยรายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับอบเชยลงในวารสารโภชนาศาสตร์ คลินิกอเมริกันว่า อบเชยมีคุณสมบัติช่วยในการรักษาโรคเบาหวาน ป้องกันไม่ให้เกิดการจับตัวเป็นก้อนของเลือด และยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราด้วย Read more →