ขับกระบะ จำเป็นต้องติดกันโคลงหรือไม่ ?

ขับกระบะ จำเป็นต้องติดกันโคลงหรือไม่ ?

 คนขับกระบะหลายๆคนน่าจะมีคำถามนี้ในใจ ว่าจริงๆแล้ว กันโคลงเหล็กที่ขายๆ กันอยู่นั้นมีประโยชน์กับรถจริงๆ หรือไม่ ช่วยยังไงบ้าง ถ้าไม่มีจะอันตรายไหม แล้วการติดตั้งกันโคลงเหล็กนี้ ถูกกฎหมายหรือเปล่า พี่หมีมีคำตอบแบบเข้าใจง่ายๆ มาฝากคุณเช่นเคยคร้าบบ
ขับกระบะ จำเป็นต้องติดกันโคลงหรือไม่
   หน้าที่ของกันโคลงคืออะไร
   ปกติแล้วเวลารถเข้าโค้ง จะเกิดกระบวนการที่เรียกว่า ” ยก ” หรือ ” ยุบ ” ขึ้นอยู่กับทิศทางการเลี้ยว ถ้ารถเข้า “โค้งขวา” ตัวถังข้างซ้ายจะยุบ  ถังขวาจะยก ถ้ารถเข้า “โค้งซ้าย” ตัวถังข้างขวาจะยุบ  ถังซ้ายจะยก  ส่วนจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับรัศมีความโค้งของถนน มุมเอียงขึ้นรับกับโค้งของถนน องศาการหักเลี้ยวของพวงมาลัย และความเร็วในการเข้าโค้งครับ ซึ่งส่วนประกอบในช่วงล่างของรถ อย่าง “สปริง” และ”โช้คอัพ”  อาจจะไม่มีส่วนช่วยในเรื่องนี้มากนักเพราะไม่ใช่หน้าที่หลักของมัน วิศวกรจึงได้เพิ่ม “เหล็กกันโคลง” หรือ Stabilizer Bar เข้ามาเป็นส่วนประกอบหลักชิ้นสำคัญในระบบกันสะเทือน รับหน้าที่ต่อต้านการเอียงของรถนั่นเอง
ขับกระบะ จำเป็นต้องติดกันโคลงหรือไม่       
   กันโคลงเหล็กทำงานยังไง 
   เหล็กกันโคลง ทำด้วย “เหล็กกล้าสปริง” รูปทรงคล้ายๆ ตัว “U” ติดตั้งตามขวางกับตัวรถ  ถ ส่วนกลางยึดติดกับโครงรถ 2 จุด โดยผ่านบู๊ชยาง สำหรับช่วงล่างแบบปีกนก ปลายทั้งสองของเหล็กกันโคลงจะยึดติดกับปีกนกล่างของล้อหน้า (หรือหลัง) ทำหน้าที่ลดการโอนเอียงของตัวถังในขณะเลี้ยว  ขณะรถเคลื่อนที่ถ้าตัวถังต่ำลงหรือยกขึ้นในลักษณะที่อยู่ในระดับเดียวกัน อย่างเช่น ล้อหน้า(หรือล้อหลัง) ยกพร้อมๆ กัน หรือยุบตัวพร้อมๆ กัน ยกตัวอย่าง การขับรถข้ามตัวหนอนตามตรอกซอกซอยต่างๆ เหล็กกันโคลงจะไม่ทำงาน เพราะไม่มีการบิดตัวเกิดขึ้น
    ผิดกฎหมายหรือไม่ 
 ปกติแล้วการดัดแปลงรถแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบที่ต้องแจ้งขนส่งก่อน กับแบบที่ทำได้เลย ซึ่งการติดกันโคลงเหล็ก ถือเป็นการดัดแปลงแบบเสริมเหน็บ เปลี่ยนแปลงช่วงล่าง จึงต้องแจ้งกับทางขนส่งก่อน ไม่อย่างนั้นจะถือเป็นการดัดแปลงผิดกฎหมายโดนจับได้นะครับ
     สรุปได้ว่าจะติดตั้งกันโครงเหล็กหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ใช้รถกระบะในการบรรทุกเป็นหลักครับ ถ้าจะติดตั้งก็ควรเลือกซื้อจากร้านที่วางใจได้ และแจ้งทางขนส่งให้ถูกกฎหมายด้วยนะครับ