ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่

ดอกทองกวาว

ดอกจานเหลือง

ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่

ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี
ชื่อดอกไม้ดอกทองกวาว
ชื่อสามัญFlame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Butea monosperma
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน)
ลักษณะทั่วไปทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 10–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะกลม หรือเป็นทรงกระบอก ใบประกอบมี 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ใบหนาและมีขน ใต้ใบสีเขียวอมเทา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่ว สีแสดแดงหรือเหลือง มีขน ออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน มีขนนุ่ม เมล็ด 1 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก
การขยายพันธุ์การเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดอินเดีย

ดอกทองกวาว เป็นดอกไม้ประจำจังหวัด จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดลำพูน, จังหวัดอำนาจเจริญ, จังหวัดอุดรธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย

ดอกพวงแสด

ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย

ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย
ชื่อดอกไม้ดอกพวงแสด
ชื่อสามัญOrange Trumpet, Flame Flower.
ชื่อวิทยาศาสตร์Pyrostegia venusta., Miers.
วงศ์BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น
ลักษณะทั่วไปพวงแสดเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยเกาะได้ไกลมากกว่า 40 ฟุต เถาอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบ มี 3 ใบย่อย แต่จะมีบางใบที่เป็นคู่โดยใบย่อยที่สามที่อยู่ตรงกลางจะเปลี่ยนจากใบเป็นมือเกาะ ใบออกสลับกัน สีเขียวเข้ม ก้านใบสั้นเกือบชิดกิ่ง ใบรูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบไม่มีจัก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ และตามปลายกิ่งส่วนยอดดอกดกจนดูแน่นช่อ มีกลีบรองดอก เป็นรูปถ้วย หรือรูปกระดิ่งหงาย ดอกเป็นรูปทรงกรวย เรียวยาว ปลายดอกจะบานออกเป็น 4 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะงอโค้งลงข้างล่าง ดอกยาวประมาณ 5–6 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน สั้นยาวไม่เท่ากัน สั้น 2 อัน และยาว 2 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน อยู่ตรงกลาง สีตองอ่อน และยาวกว่าเกสรตัวผู้ พวงแสดออกดอกช่วง เดือนธันวาคม–มีนาคม ของทุกปี
การขยายพันธุ์ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมดินร่วน ไม่ต้องการน้ำมาก แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดประเทศบราซิลและอาเจนตินา