ปฏิทินวันพระ ปี 2567 เดือนมกราคม-ธันวาคม แต่ละเดือนมี 4 วัน ตรงกับวันไหนบ้าง
ประเทศไทยเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนา เนื่องด้วยประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาสังคมไทยจึงมีหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ วิถีชีวิตของชาวพุทธไทยแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้เข้าวัด ทำบุญ ตักบาตร ถวายภัตตาหาร รับศีล และฟังพระธรรมเทศนาใน วันธรรมสวนะ หรือ วันพระ ซึ่งเป็นวันกำหนดประชุมฟังธรรมอันเป็นประเพณีนิยมของพุทธบริษัทมาแต่ครั้งพุทธกาลและถือว่าการฟังธรรมตามเวลาที่กำหนด ย่อมก่อให้เกิดสติปัญญาและเป็นสิริมงคลแก่ผู้ฟัง
พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่าในแต่ละเดือนมีวันกำหนดประชุมฟังธรรม 4 วัน คือ วันขึ้น 8 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ)
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้
ปฏิทินวันพระเดือนมกราคม – ธันวาคม ปี พ.ศ. 2567 (ปีเถาะ – ปีมะโรง)
ปฏิทินวันพระ เดือนมกราคม 2567
• วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีเถาะ
• วันพุธที่ 10 มกราคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีเถาะ
• วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีเถาะ
• วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีเถาะ
ปฏิทินวันพระ เดือนกุมภาพันธ์ 2567
• วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีเถาะ
• วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีเถาะ
• วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ
• วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ (วันมาฆบูชา)
ปฏิทินวันพระ เดือนมีนาคม 2567
• วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ
• วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ
• วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
• วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
ปฏิทินวันพระ เดือนเมษายน 2567
• วันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
• วันจันทร์ที่ 8 เมษายน 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
• วันอังคารที่ 16 เมษายน 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะโรง
• วันอังคารที่ 23 เมษายน 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ เดือนพฤษภาคม 2567
• วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะโรง (วันแรงงาน)
• วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะโรง
• วันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง
• วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง (วันวิสาขบูชา)
• วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง (วันอัฏฐมีบูชา)
ปฏิทินวันพระ เดือนมิถุนายน 2567
• วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง
• วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง
• วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง
• วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ เดือนกรกฎาคม 2567
• วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง
• วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง
• วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง (วันอาสาฬหบูชา)
• วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2567 แรม ๑ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง (วันเข้าพรรษา)
• วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง (วันเฉลิมฯ ร.10)
ปฏิทินวันพระ เดือนสิงหาคม 2567
• วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง
• วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีมะโรง (วันเฉลิมฯ วันแม่)
• วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีมะโรง
• วันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ เดือนกันยายน 2567
• วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีมะโรง
• วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง
• วันอังคารที่ 17 กันยายน 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง
• วันพุธที่ 25 กันยายน 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ เดือนตุลาคม 2567
• วันพุธที่ 2 ตุลาคม 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง
• วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง
• วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง (วันออกพรรษา)
• วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง
• วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ เดือนพฤศจิกายน 2567
• วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะโรง
• วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะโรง (วันลอยกระทง)
• วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะโรง
• วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ เดือนธันวาคม 2567
• วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะโรง
• วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะโรง
• วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะโรง
• วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะโรง
วันพระ 2567
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า “วันธรรมสวนะ” อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น ๘ ค่ำ, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม ๘ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม ๑๔ ค่ำ)
วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน ๘ ค่ำ และ วัน ๑๕ ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน ๘ ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ) แล้วแต่กรณี
การเตรียมตัวไปวัดเพื่อทำบุญ
1. การเตรียมกาย
ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวเรียบ หรือสีที่ ไม่ฉูดฉาด ไม่หลวมไม่คับเกินไป เนื่องจากจะไม่คล่องตัว ไม่ประดับร่างกายด้วยเครื่องประดับ ไม่ใช้เครื่องประทินผิว เช่น น้ำหอม เป็นต้น รับประทานอาหารแต่พอดี ไม่อิ่มจน อึดอัด เพื่อประทังความหิว เนื่องจากหากมีอาการหิว กระหายจะทำให้จิตใจไม่สบายไปด้วย ควรงดเว้นอาหาร ที่อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย เป็นต้น
2. การเตรียมใจ
ให้ตัดความวิตกกังวลที่จะเกิดขึ้น เช่น เรื่อง ครอบครัวเรื่องการงานเป็นต้น
3. การเตรียมสิ่งของ
ให้จัดเตรียมดอกไม้ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ อาหาร หวานคาว รวมถึงสิ่งของอื่น ๆ (ปัจจัยไทยธรรม) เพื่อไป ถวายพระสงฆ์ตามกำลังและความศรัทธา
ขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม
การปฏิบัติกิจกรรมในการทำบุญของแต่ละวัด อาจจะแตกต่างกันในรายละเอียด แต่หลักปฏิบัติโดยส่วนใหญ่แล้วทุกวัดจะปฏิบัติเหมือนกันคือ
1. การทำวัตรสวดมนต์ (พระสงฆ์จะทำวัตร สวดมนต์ก่อน เมื่อพระสงฆ์ทำวัตรสวดมนต์จบแล้ว อุบาสกอุบาสิกาจึงทำวัตรสวดมนต์ต่อจากพระสงฆ์ บางวัดอาจจะสวดมนต์แปล แต่บางวัดอาจจะสวดมนต์เป็นล้วน ๆไม่สวดแปลให้ทำตามธรรมเนียมของวัดนั้น ๆ )
2. การรับศีล ในวันธรรมดาโดยทั่วไปจะสมาทานศีล 5 ในวันธรรมสวนะ (วันพระ) จะสมาทานอุโบสถศีลหรือศีลอุโบสถมี 8 ข้อ
3. การฟังธรรม
4. การบำเพ็ญจิตภาวนา
5. การถวายสังฆทาน