ประเพณีแห่นางแมวขอฝน เป็นความเชื่อของชาวอีสานว่า ถ้าเมื่อถึงฤดูฝนแล้วต้องทำนาแล้วไม่มีน้ำที่จะมาทำนาหรือทำการเกษตรก็จะทำ พิธีแห่นางแมวเพื่อขอฝนจากเทวดาเพื่อให้ฝนตกลงมาให้ชาวเกษตรกรมีน้ำในการทำ การเกษตร ซึ่งจะจัดทำขึ้นในระหว่างเดือน ๗- ๙ และนิยมทำกันทั่วไปในภาคอีสาน แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นประเพณีไทยประจำปี จะทำเฉพาะในปีใดที่ฟ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะกระทำจนกลายเป็น ประเพณีขอฝน ที่สืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้ พิธีแห่นางแมวขอฝนจะใช้แมวสีดำที่ใช้ในการแห่นางแมว ประเพณีแห่นางแมวขอฝน วันประกอบพิธีไม่ มีวันกำหนดที่แน่นอน โดยมากมักจะเป็นวันพระ เมื่อตกลงกำหนดวันเรียบร้อยแล้วชาวบ้านจะจัดเตรียมสถานที่เกี่ยวกับพิธีที่ วัด วันทีทำพิธีจะนำแมวสีดำมาใส่ไว้ในกระทอซึ่งทำจากไม้เหมือนกรง
สิ่งของที่ใช้ในการทำพิธีแห่นางแมวขอฝน
- กะทอหรือเข่ง หรือกระบุง ที่มีฝาปิดข้างบน 1 อัน
- แมวสีดำตัวเมีย 1-3 ตัว
- เทียน 5 คู่
- ดอกไม้ 5 คู่
- ไม่สำหรับสอดกะทอให้คนหาม 1 อัน
ประเพณีแห่นางแมวขอฝน ชาวบ้านจะรวมตัวกันจะมีผู้นำซึ่งต้องเป็นคนที่กล่าวขอฝนได้มาแล้วทำการนำแมว ไปไว้ในกระทอแล้วให้คนหาม แล้วทำการเดินไปรอบ ๆ หมู่บ้าน พร้อมกับพูดขอฝนจากเทวดาซึ้งเป็นภาษาที่ชาวบ้านใช้กัน ก็จะมีการเคาะไม้ตีกลอง เดินไปรอบ ๆ หมู่บ้านจนครบทุกหลังเพื่อให้เอาน้ำมาสาดแมวให้แมวร้อง ทำไปจนเสร็จพิธีหรือฝนตก การทำพิธีแห่นางแมวขอฝนก็เป็นความเชื่ออีกอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านสืบทอดกันมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ที่มาประเพณีไทย ประเพณีแห่นางแมวขอฝน : play-ville.com, esanindy.com