วันสำคัญของไทย วันที่ 15 กันยายน วันศิลป์ พีระศรี

วันศิลป์ พีระศรี

15 กันยายน

วันที่ 15 กันยายน เป็น วันศิลป พีระศรี ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี (Silpa Bhirasri) บุรุษผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย เป็นบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นทั้งศิลปินและปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้สร้างความเป็นปึกแผ่นแก่วงการศิลปะไทย ให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ชีวิต ผลงาน และแนวคิดของท่านนอกจากจะคงค่าในตัวเองแล้ว ยังสะท้อนภาพหลายประการถึงอุปสรรคของการพัฒนาศิลปะในยุคที่ท่านยังมีชีวิต อยู่

ปกติแล้ว วันที่ 15 กันยายน ในสมัยที่ศาสตราจารย์ศิลป์ ยังมีชีวิตอยู่ จะถือเป็นวันที่ศิษย์โรงเรียน ศิลปศึกษาทุกคนต่างรอคอย เพราะคือโอกาส การได้ร่วมงานวันเกิด ของผู้เป็นครูศิลป์ ที่บ้านพัก ของท่าน ซอยสายลม ถนนพหลโยธิน ศาสตราจารย์ศิลป์ จะอยู่ร่วมงาน เล่านิทาน ร้องเพลง และหยอกล้อกับศิษย์ดังปฏิบัติต่อลูกหลาน

จวบจนปัจจุบัน วิทยาลัยช่างศิลป สำนึกในบุญคุณของท่านผู้ริเริ่มวางรากฐาน และก่อตั้งวิทยาลัย ช่างศิลป จึงได้จัดกิจกรรมรำลึกศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ในวันเกิดของท่านคือ วันที่ 15 กันยายน มาตลอดทุกปี และตั้งเป็นวัน “ศิลป์ พีระศรี” เพียงแต่วันนี้ไร้ ร่างเจ้าของวันเกิด เหลือไว้ก็แต่คำสอน และสถานศึกษาศิลปะ ตลอดจนคุณความดีที่ไม่มีใครลืม ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น

ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี (Silpa Bhirasri)

วันสำคัญของไทย วันที่ 15 กันยายน วันศิลป์ พีระศรี -2

ประวัติศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่า คอร์ราโดเฟโรจี ( Professor Corrado Feroci ) เป็นชาวนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เกิดเมื่อ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ณ. ตำบล San Giovanni บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อนาง Santina Feroci มีอาชีพค้าขาย

เข้าศึกษาในระดับชั้นประถม เมื่อปีพ.ศ.2441ภายหลังจบหลักสูตร 5 ปีจึงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมอีก 5 ปี จากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะ แห่งนครฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปีในขณะที่มีอายุ 23 ปีและได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียนซึ่งต่อมาได้สอบคัดเลือกรับ ปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม

ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระประสงค์จะหาช่างปั้นมาช่วยปฏิบัติราชการเพื่อฝึกฝนให้คนไทยสามารถปั้น รูปได้อย่างแบบตะวันตกและสามารถมีความรู้ถึงเทคนิคต่างๆในงานมาปฏิบัติ ราชการกับรัฐบาลไทย ทางรัฐบาลอิตาลีจึงเสนอนาย คอร์ราโด เฟโรจี มาพร้อมทั้งคุณวุฒิและผลงาน ซึ่งรัฐบาลไทยก็ยินดีรับเข้าเป็นข้าราชการในตำแหน่งช่างปั้น กรมศิลปากรกระทรวงวัง

เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 เมื่ออายุย่างเข้า32 ปีโดยได้รับเงินเดือนๆละ 800 บาทค่าเช่าบ้าน 80 บาท และต่อมาในปี พ.ศ.2469 ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ช่างปั้นหล่อแผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภาได้รับ เงินเดือนๆละ 900 บาทต่อมาได้ย้ายมาเป็นช่างปั้น สังกัดอยู่ในกองประณีตศิลปกรรมกรม ศิลปากรกระทรวงธรรมการ

ท่านได้วางหลัก สูตรอบรมกว้างๆและทำการสอนให้แก่ผู้ที่สนใจในวิชาประติมากรรมทั้งภาค ทฤษฎีและภาคปฏิบัติผู้ได้รับการอบรมรุ่นแรกๆส่วนมากสำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนเพาะ- ช่างได้แก่ สาย ประติมาปกร สุข อยู่มั่น ชิ้น ชื่อประสิทธิ์ สวัสดิ์ ชื่นมะนา และ แช่ม แดงชมพู

ผู้ที่มาอบรมฝึกงานกับศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมทั้งสิ้นเพราะทางราชการมีนโยบายส่ง เสริมช่างปั้นช่างหล่อให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน

ซึ่งต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้มาเป็นผู้ ช่วยช่างและบางคนก็เข้ารับราชการช่วยแบ่งเบาภาระงาน และช่วยทำให้กิจการปั้นหล่อของกรมศิลปากรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อทาง ราชการเห็นความสำคัญของการศึกษาศิลปะตามแนวในปัจจุบันจึงได้ขอให้ ศาสตราจารย์ศิลป์ พระศรี เป็นผู้วางหลักสูตรการศึกษาให้มีมาตรฐานเดียวกันกับ โรงเรียนศิลปะในยุโรป

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จึงเริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นในระยะเริ่มแรกชื่อ ” โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง” และในปีพ.ศ.2485กรมศิลปากรได้แยกจากกระทรวง ศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะนั้นโดย ฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขา หนึ่งของชาติ

จึงได้มีคำสั่งให้อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นคือพระยาอนุมานราชธนดำเนิน การ ปรับปรุงหลักสูตร และ ตราพระราชบัญญัติยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมประติมากรรม เป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดสอนเพียง 2 สาขาวิชาคือ สาขาจิตรกรรมและสาขาประติมากรรมและมี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดี คนแรก ดังนั้นการเรียนการสอนศิลปะในสาขาวิชาศิลปะจึงเริ่มดำเนินการในระดับปริญญา ขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในปีพ.ศ.2491 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้นำศิลปะไทยไปแสดง ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปีนี้ท่านได้เดินทางกลับไปประเทศอิตาลีและเดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้ง ในต้นปีพ.ศ.2492โดยกลับมาใช้ชีวิตเป็นครูสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาทางด้านศิลปะ ที่คณะจิตรกรรม และประติมากรรม

ในปีพ.ศ.2496 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้รับหน้าที่อันมีเกียรติ คือ เป็น ประธานกรรมการสมาคมศิลปะแห่งชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับ สมาคมศิลปะนานาชาติ (International Association of Art) ในปีพ.ศ.2497 ได้เป็นผู้แทนศิลปินไทยไปร่วมประชุมศิลปินระหว่างชาติ ครั้งแรกที่ประเทศออสเตรียท่านได้นำเอกสารผลงานศิลปะและบทความชื่อศิลปะร่วม สมัยในประเทศไทย(Contemporary Art inThailand) ไปเผยแพร่ในการประชุมด้วยทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยดีขึ้นและนับเป็นคน แรกที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะระหว่างศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศขึ้น

วันสำคัญของไทย วันที่ 15 กันยายน วันศิลป์ พีระศรี -3

ชีวิตในวัยหนุ่ม

ในวัยหนุ่มของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นวัยที่มีพลัง ดังนั้นท่านจึงไม่พอใจในสภาพชีวิตที่เป็นอยู่ในสังคมที่เจริญแต่เพียงด้าน วัตถุในประเทศอิตาลีสมัยนั้น เมื่อท่านได้ทราบข่าวว่ารัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ต้องการช่างปั้นชาวอิตาเลี่ยน เพื่อเข้ามารับราชการงานอนุสาวรีย์ในประเทศไทย ท่านจึงยื่นความจำนงพร้อมผลงานเข้าแข่งขันกับศิลปินอีกจำนวนมาก ในที่สุดรัฐบาลไทยได้เลือก Prof. C. Feroci เข้ามารับราชการในประเทศไทย

วันสำคัญของไทย วันที่ 15 กันยายน วันศิลป์ พีระศรี -4

เริ่มแรกในเมืองไทย

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ออกเดินทางโดยทางเรือจากประเทศอิตาลีถึงกรุงสยาม ในราวต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2466 อายุได้ 31 ปี เข้ารับราชการในตำแหน่งช่างปั้นของกรมศิลปากร กระทรวงวัง เมื่อวันที่ 14 มกราคม ปีเดียวกัน โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ศิลปินเอกแห่งกรุงสยามเป็นองค์อุปถัมภ์

ในระยะแรกเป็นช่วงเวลาที่ท่านต้องปรับตัวเองให้เข้ากับสังคมแวดล้อมและ การเมือง อีกทั้งยังต้องสร้างผลงานให้เป็นที่ยอมรับของผู้มีอำนาจในสมัยนั้น ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างผลงาน รัฐบาลไทยจึงได้ยอมรับท่านเรื่อยมา เช่น มอบหมายให้ปั้นพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 เท่าพระองค์จริง ปัจจุบันประดิษฐานในปราสาทพระเทพบิดร และปั้นพระรูปสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ฯลฯ

งานอนุสาวรีย์ในเมืองไทย

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ประสงค์ที่จะใช้บุคลากรที่เป็นคนไทยในการทำงานศิลปะ เมื่อท่านได้มีโอกาสจัดสร้างอนุสาวรีย์ ท่านได้ฝึกฝนกุลบุตรกุลธิดาของไทยให้ได้ศึกษาเรียนรู้วิชาการปั้น และการหล่อโลหะขนาดใหญ่ การจัดสร้างอนุสาวรีย์ในยุคสมัยของท่านดังกล่าว นับเป็นยุคแรกที่ได้มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญขึ้นในประเทศไทย

ผลงานศิลป์ พีระศรี

วันสำคัญของไทย วันที่ 15 กันยายน วันศิลป์ พีระศรี -5

  • พระบรมราชานุสาวรีย์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีขนาด 3 เท่าคนจริง ประดิษฐานที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ท่านเป็นช่างปั้น และเดินทางไปควบคุมการหล่อที่ประเทศอิตาลี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2472
  • อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2477
  • รูปปั้นหล่อประกอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2485
  • พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2484
  • พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2493
  • พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดสุพรรณบุรี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2497
  • รูปปั้นประดับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน
  • พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล 25 พุทธศตวรรษ ที่จังหวัดนครปฐม พ.ศ .2498 ฯลฯ

นอกจากนั้นยังมีโครงการที่ทำยังไม่แล้วเสร็จอีกคือ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดลพบุรี เป็นต้น

วันสำคัญของไทย วันที่ 15 กันยายน วันศิลป์ พีระศรี -6

ผลงานด้านการศึกษา

ด้วยเหตุที่ท่านได้ฝึกฝนเยาวชนไทยให้เข้าช่วยงานปั้นอนุสาวรีย์ จึงเป็นแรงบันดาลใจท่านจัดตั้งโรงเรียนของทางราชการขึ้นในปี พ.ศ. 2469 โดยสอนเฉพาะวิชาประติมากรรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ทางกระทรวงธรรมการได้เห็นความสำคัญในสิ่งที่ท่านทำ จึงได้จัดตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนศิลปากร จัดทำหลักสูตรศิลปกรรมชั้นสูง 4 ปี ต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. 2486 ปัจจุบันมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาสังกัดทบวง มหาวิทยาลัย

ผลงานด้านเอกสารทางวิชาการ

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีผลงานทางด้านเอกสารทางวิชาการ ตำรา และบทความมากมาย ซึ่งล้วนแต่ให้ความรู้ทางศิลปะ พยายามชี้ให้เห็นคุณค่าของศิลปะ เช่น ทฤษฎีของสี ทฤษฎีแห่งองค์ประกอบศิลป์ คุณค่าของจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะและราคะจริต อะไรคือศิลปะ ภาพจิตรกรรมไทย พรุ่งนี้ก็ช้าเสียแล้ว ฯลฯ ตลอดเวลาที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เดินทางเข้ามารับราชการและใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย ท่านได้ทุ่มเทความรัก ความรับผิดชอบให้แก่งานราชการอย่างมหาศาล แม้ว่าท่านอยู่ในฐานะของชาวต่างชาติก็ตาม ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ท่านได้โอนสัญชาติเป็นไทยและเปลี่ยนชื่อเป็นไทย พ.ศ. 2502 สมรส กับ คุณมาลินี เคนนี และใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยตลอดอายุของท่าน

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมสิริอายุได้ รวมอายุได้ 69 ปี 7 เดือน 29 วัน ท่านได้อุทิศตนให้กับราชการไทยเป็นเวลาทั้งสิ้น 38 ปี 4 เดือน

วันสำคัญของไทย วันที่ 15 กันยายน วันศิลป์ พีระศรี -7

ขอบคุณ สนุกพีเดีย
ที่มา: Kapook