วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
วันที่ 18 สิงหาคม
วันวิทยาศาสตร์ ได้ เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2525 โดย มติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอันเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” เพราะทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 ได้อย่างแม่นยำ
วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ได้มีการจัดงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นทั่วประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา โดยมีกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน เป็นหน่วยงานหลักในการจัดร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทั้งภาครัฐและเอกชน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 งานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติได้รับการขยายให้เป็นงานใหญ่ขึ้น เป็นงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยจะมีการจัดงานในระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม
พระราชกรณียกิจทางด้านดาราศาสตร์ของรัชกาลที่ 8
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้สร้างหอดูดาวบนเขาวัง ในจังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๐๓ พระราชทานนามว่า “หอชัชวาลเวียงชัย” ซึ่งตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ได้เคยทอดพระเนตรดาวหาง 3 ดวงคือ
- ดาวหางฟลูเกอร์กูส (Flaugergues s Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่และมีหาง 2 หาง ปรากฏในรัชสมัย พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.ศ. 2355 ขณะนั้นเจ้าฟ้ามงกฏมีพระชันษาราว 8 ปี เมื่อทรงเห็นแล้ว คงจะทรงติดตามศึกษาเรื่องดาวหางอยู่เสมอ เพราะว่าก่อนดวงที่ 2 จะมาปรากฏ พระองค์สามารถทรงนิพนธ์ประกาศฉบับแรกชื่อว่า ” ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก” แจ้งแก่ประชาชน”
- ดาวหางโดนาติ ( Donati a Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก นักดาราศาสตร์อิตาเลียนค้นพบในคืนวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ 2401 และคืนต่อๆมา จนถึงวันที่ 4มีนาคม พ.ศ. 2402 (รวมเวลา ๙ เดือน) ชาวไทยคงจะเห็นด้วยตาเปล่า ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2401 ดาวหางดังกล่าวมีลักษณะเป็น 2 หาง หางหนึ่งเหยียดตรง อีกหางหนึ่งเป็นพู่โค้งสวยงามอยู่ราว 2 เดือน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่า เมื่อประชาชนเห็นดาวหางโดนาติ แล้วจะตื่นเต้นไปตามคำลือต่างๆ จึงทรงออกประกาศเตือนชื่อว่า “ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก” นับเป็นประกาศทางวิทยาศาสตร์ฉบับแรกของประเทศ มีความว่า “ดาวหางนี้ชาวยุโรปได้เห็นมาแล้วหลายเดือน ดาวหางนี้มีคติแลทางยาวไปในท้องฟ้า แล้วก็กลับมาได้เห็นในประเทศทั้งนี้อีก เพราะเหตุนี้อย่าให้ราษฎรทั้งปวงตื่นกัน และคิดวิตกเล่าลือไปต่างๆ ด้วยว่ามิใช่จะเห็นแต่ในพระนครนี้ และเมืองที่ใกล้เคียงเท่านั้นหามิ ได้ย่อมได้เห็นทุกบ้านทุกเมืองทั่วพิภพอย่างนี้แล”
- ดาวหางเทพบุท (Tebbut s Comet ) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่ หางยาว และสว่างกว่าดาวหางโดนาติ ปรากฏแก่สายตาชาวโลก ระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม พ.ศ. 2404 เป็นดาวที่พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยมากยิ่งขึ้น ถึงกับทรงได้คำนวณไว้ล่วงหน้าว่า จะปรากฏเมื่อใด และได้ทรงออกประกาศไว้ล่วงหน้า มิให้ประชาชนตื่นตระหนก ทั้งนี้เพราะพระองค์ มีพระราชประสงค์มุ่งขจัดความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องโชคลาง และทรงให้ราษฎรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ (ถ้าจะเกิด) อย่างมีเหตุผลตามแบบวิทยาศาสตร์
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
- เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็น“พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
- เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
- เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจและโอกาสแก่นักวิจัย นักประดิษฐ์ ได้แสดงผลงานต่อสาธารณชน
- เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าภาครัฐและเอกชนในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิถีทางหนึ่งของการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ในงานได้มีการจัดกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากมาย เช่น นิทรรศการ ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอภิปรายทางวิชาการ การตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การประกวดการแข่งขันต่าง ๆ เช่น โครงการทางวิทยาศาสตร์และสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
ในการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ได้มีการมอบรางวัลให้แก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ดี เด่นในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยจะทำพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติในวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี
การจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ นับได้ว่ามีส่วนที่จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนคนไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศให้ เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2557 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2556 ทันโลก ทันวิทย์ จุดประกายความคิดสู่อาเซียน
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2555 เหมือนกับช่วงปี 2553
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2554 เหมือนกับช่วงปี 2553
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2553 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2552 วิทยาศาสตร์ก้าวไกล นำไทยก้าวหน้า
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2551 วิทยาศาสตร์สร้างชาติ สร้างอนาคต
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2550 วิทยาศาสตร์สร้างปัญญาในสังคม
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2549 เศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2548 วิทยาศาสตร์คือความรู้สู่ความสำเร็จ
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2547 เศรษฐกิจของชาติมีปัญหา วิทยาศาสตร์มีคำตอบ
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2546 เส้นทางแห่งการค้นพบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณค่าแห่งภูมิปัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2545 เหมือนกับช่วงปี 2544
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2544 วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2543 พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2542 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไทยที่ยั่งยื่น
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2541 พัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ พัฒนาชาติด้วยภูมิปัญญาไทย
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2540 พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2539 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาชาติไทยให้ก้าวหน้า
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2538 เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวไกล เศรษฐกิจไทยมั่นคง
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2537 ขจัดปัญหาน้ำของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2536 วิทยาศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มคุณค่าชีวิต พิทักษ์สิ่งแวดล้อม
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2535 เปลี่ยนขาดทุนให้เป็นกำไร โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2534 ขจัดมลพิษทุกชีวิตจะปลอดภัย
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2533 เพิ่มคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คําขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2532 พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แหล่งอ้างอิง :
หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย ธนากิต
หนังสือ ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก โดย วรนุช อุษณกร
คลังปัญญาไทย