เทคนิคเรียนภาษาที่ 3 ด้วยตัวเอง

เรียนเอง เก่งเองเทคนิคเรียนภาษาที่ 3 ด้วยตัวเองใน แบบเด็กลูกครึ่ง ของ 2 หนุ่ม แอนดรูว์ นักร้องวง Evo nine และ นิค นิคโค้ พิธีกรรายการสตรอเบอร์รีครับเค้ก ทั้งคู่มีวิธีการที่น่าสนใจมากๆ เลยอยากนำมาเสนอให้น้องๆ ที่สนใจฝึกภาษาด้วยตัวเอง ได้ลองเป็นอีกหนึ่งแนวทางกันค่ะ งั้นวันนี้เราไปติดตามเทคนิคพวกเขากันเลย…

เทคนิคเรียนภาษาที่ 3 ด้วยตัวเอง

เทคนิคเรียนภาษาที่ 3 ด้วยตัวเอง

NATT6019

ศรันยู ศรุติสุต ชื่อเล่น แอนดรูว์ อายุ 22 ปี

ศรันยู ศรุติสุต ชื่อเล่น แอนดรูว์ อายุ 22 ปี นักร้องวง Evo nine

แอ นดรูว์เด็กไทยสัญชาติอเมริกัน พ่อ-แม่เปิดธุกิจและอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา เขาเกิดและโตที่แอลเอ จนถึงอายุ 18 ปี จึงตัดสินใจย้ายจากโรงเรียน Stamforcl Uni nter เกรด 11 มาเรียนต่อโรงเรียนนานาชาติที่เมืองไทย เพื่อเป็นเด็กเทรนด์ โดยสำหรับแอนดรูว์แล้ว การพูดภาษาไทยให้ชัดเป็นสิ่งที่เขาพยายามมากที่สุด ถ้าอย่างนั้นเรามาฟังกันว่าเด็กไทยที่ไม่เคยอยู่เมืองไทยเลย แต่อยากพูดสำเนียงใช้ชัด เค้ามีเทคนิคการใช้ภาษาไทยอย่างไร

ช่วงแรกผม เครียดมาก เพราะต้องสื่อสารเป็นภาษาไทยกับคนไทยให้เข้าใจ เชื่อไหมว่าตอนนั้นผมไม่มีเพื่อนเลย จนค่อยๆ ปรับตัวได้ หลังจากนั้นเวลาคนไทยพูดภาษาอังกฤษกับผม ผมจะพยายามพูดกลับเป็นภาษาไทยอย่างเดียว ไม่อยากให้คนคิดว่าเป็นเด็กนอก พูดไทยคำอังกฤษคำ ซึ่งสำหรับคนไทยที่อยากเก่งภาษาอังกฤษ อย่างแรกที่ผมอยากแนะนำคือห้ามอาย คนไทยที่ผมสังเกตหลายคนเขาสามารถพูดได้ แต่อายที่จะพูด กลัวว่าพูดผิด พูดแล้วดูตลก ผมแนะนำว่าอย่าอาย ยิ่งถ้ามีเพื่อนอินเตอร์พูดกับเขาเยอะๆ ฝึกพูดเองง่ายกว่าที่จะต้องไปเรียน แล้วภาษาอังกฤษก็ง่ายกว่าภาษาไทยเยอะครับ

NATT8897

นิค นิคโค้ โวกูก้า อายุ 19 ปี ลูกครึ่งไทย-เยอรมัน

นิค นิคโค้ โวกูก้า อายุ 19 ปี ลูกครึ่งไทย-เยอรมัน พิธีกรรายการสตรอเบอร์รีครับเค้ก

นิ คเกิดที่สเปน เรียนอนุบาลที่สเปนก่อนจะย้ายไปอยู่ออสเตรียและใช้ภาษาเยอรมันเป็นหลัก จนเมื่อ 4 ปีก่อนนิคและคุณแม่มาเที่ยวเมืองไทย แล้วตัดสินใจอยู่ที่จังหวัดโคราช ฝรั่งสำเนียงโคราชมีขั้นตอนการฝึกภาษาไทยยังไงจากที่พูดไทยไม่ได้เลย จนกลายมาเป็นพิธีกรรายการวัยรุ่น จนถึงทุกวันนี้ได้

?ผมมาอยู่อำเภอ ประทายที่โคราช เป็นเด็กฝรั่งบ้านนอก นี่ก็ติดสำเนียงโคราชมาด้วยครับ ผมเริ่มฝึกภาษาไทยเอง ฟังเอง คุณแม่ไม่ได้สอน คุณแม่พูดชัดเลยเอามาใช้ ตอนย้ายมาพูดภาษาไทยไม่ได้เลย ก็เลยต้องเริ่มหัดพูดเองจากคำง่ายๆ อย่างคำว่า ไปไหน? ไปทำอะไร? มีคำพื้นเป็นคำว่า ?ไป? ถ้าจำไม่ได้ก็จดแล้วก็ฟังคนอื่นเขาพูดเยอะๆ พอเขาพูด เฮ้ย…ไปไหน? เราก็เข้าใจคำว่า เฮ้ย เพิ่มล่ะ แต่พวกคำว่า แก ฉัน จะไม่ใช้ จะใช้คำว่า ผม กับ คุณ อย่างเดียว เพราะคนไทยมีสรรพนามเยอะ ฝึกพูดกับเพื่อนเยอะๆ ก็จะพูดได้

เทคนิคการเรียนต่างประเทศ อย่างเช่น ภาษาอังกฤษเองง่ายๆ

1. การฟัง

การ ฟังเป็นการเรียนรู้ที่สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะแค่ 1 นาที 5 นาที หรือเป็นชั่วโมง การฝึกที่ดีที่สุดคือ การฟังข่าวภาษาอังกฤษ ช่องทางการฟังมีหลากหลายมาก เช่น ดูข่าวผ่านทีวี CNN, BBC หรือช่องอื่นๆ หรือ ฟังข่าวออนไลน์ผ่านมือถือ ซึ่งหาดาวน์โหลด Application เหล่านี้ได้ง่ายมาก ประเด็นคือฟังไม่รู้เรื่อง มันมืดไปหมด แล้วอย่างนี้จะเรียนรู้ได้อย่างไร อย่าเพิ่งถอดใจเพราะเป็นเรื่องธรรมดาหากฟังไม่เข้าใจ เพราะแม้กระทั่งคนที่ระดับภาษาอังกฤษค่อนข้างดีแล้ว บางทีเขายังฟังข่าวไม่ค่อยรู้เรื่องก็มี สิ่งที่จะแนะนำคือพยายามฟังบ่อยๆ หากมีเวลาพยายามตั้งใจฟังและพยายามจับให้ได้ว่าเขากำลังรายงานข่าวเรื่อง อะไรอยู่ พยายามแยกแยะคำศัพท์แต่ละคำออกจากกันให้ได้ ถึงแม้จะไม่รู้ความหมายของคำนั้นๆ ก็ตาม เพราะถ้าเราฟังเฉยๆ ลอยๆ จะเหมือนกับเวลาฝรั่งอ่านหนังสือภาษาไทยที่ไม่รู้ว่าแต่ละคำจบตรงไหน เพราะเขียนติดกันเป็นพืดไปหมด ดังนั้นช่วงเริ่มฟังใหม่ๆ ไม่จำเป็นต้องรู้ความหมายหรือรู้เรื่องทั้งหมด แค่พยายามจับคำของนักข่าวให้ได้ก็พอ แต่ถ้าไม่ได้จริงๆ อย่าเพิ่งท้อ เพราะการฟังบ่อยก็ช่วยให้เราคุ้นชินกับสำเนียง ท่วงทำนอง ระดับสูงต่ำ ของภาษาได้ไปในตัว ฟังไปนานๆ มันจะฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกเราเอง และไม่ช้าเราจะจับคำพูดที่เราฟัง ได้โดยที่ไม่ต้องพยายามอีกต่อไป ดังนั้นว่างๆ หากมีสมาร์ทโฟนให้เข้าไปดาวโหลด Podcast ข่าวของ CNN หรือ BBC มาไว้ในมือถือ ขึ้นบีทีเอสหรือรอรถเมย์เมื่อไหร่ก็หยิบออกมาฟังเพลินๆ หรือเข้าไปที่ Leaning English ของ Voice of America จาก http://learningenglish.voanews.com ในนี้จะรวบรวมข่าวพร้อมคลิปเสียงการบรรยายข่าวนั้นๆ โดยเขาทำไว้เพื่อให้คนฝึกฟังภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ ดังนั้นการรายงานข่าวจึงไม่เร็วเกินไปและชัดถ้อยชัดคำมาก

การฝึกฟังจากการดูหนัง หรือซีรีส์ฝรั่ง คำแนะนำคือห้ามมี Subtitle หรือถ้าต้องมีจริงๆ ต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ห้ามเป็นภาษาไทยโดยเด็ดขาด เพราะคุณจะไม่ได้อะไรเลยจากการดูหนังในครั้งนั้น การดูหนังหรือซีรีส์ภาษาอังกฤษจะดีตรงที่ภาษาจะเป็นภาษาพูดที่ใช้ในชีวิต ประจำวันทั่วไป แนะนำอย่าเลือกหนังที่เป็นหนังประวัติศาสตร์ย้อนยุค เพราะเราจะไม่เข้าใจภาษา ถ้าเลือกได้แนะนำหนังการ์ตูนของ Walt Disney ดูน่ารักเพลินๆ และภาษาเข้าใจง่าย ส่วนซีรีส์ก็เลือกดูที่เราถนัด

การฟังจากการฟังเพลง เชื่อว่าทุกคนฟังเพลงสากล แต่มีกี่คนที่รู้ว่าเพลงที่ฟังอยู่สื่อถึงอะไร หรือเนื้อเพลงแปลว่าอะไร หากฟังแบบนั้นจะเป็นแค่การฟังเพื่อความเพลิดเพลิน การฟังที่ได้เรียนรู้ไปด้วยแนะนำให้เปิดหาความหมายของเนื้อร้องประกอบไปด้วย อาจจะฝึกแปลเองหรือเข้าไปหาดูบทแปลจากอินเทอร์เน็ต แต่ระวังนิดนึงเพราะบางเว็บที่แปลเพลงสากลอาจแปลได้ไม่ค่อยตรงความหมายของ เพลง หรือความหมายไม่ได้ตามอารมณ์ที่ควรจะเป็นของเพลงนั้นๆ ข้อดีของการฟังเพลงคือเพลงหนึ่งเพลง ปกติเราไม่ฟังแค่รอบเดียวแล้วเลิกฟัง เรามักจะฟังซ้ำๆ ทุกวัน จึงทำให้เกิดการคุ้นหูและเคยชินกับประโยคในเพลง หากเรารู้ความหมายจะเป็นการดีที่เราได้เรียนรู้ทั้งคำศัพท์และตัวอย่างการ ใช้ไปในตัว เวลาจำไปใช้ก็เอาไปทั้งประโยคได้เลย

2. การอ่าน

อ่าน น้อยได้น้อย อ่านมากได้มาก อันนี้ขึ้นอยู่กับความขยันของตัวบุคคลจริงๆ ทุกครั้งที่เราอ่านเราจะได้อะไรเสมอ สำหรับการอ่านภาษาอังกฤษไหนๆ ก็จะเริ่มอ่านแล้ว ควรอ่านให้ได้ประโยชน์มากที่สุด แนะนำให้อ่านข่าวภาษาอังกฤษ บทความ หรือนิตยสารภาษาอังกฤษ การอ่านจะต่างจากการฟังตรงที่เวลาอ่านพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่เรากำลัง อ่าน หากเจอคำศัพท์แปลกที่เราไม่รู้ความหมายให้เปิดพจนานุกรมและเขียนกำกับไว้เลย (แนะนำให้เขียนลงในเนื้อหาที่เราอ่านเลย) หากเป็นไปได้ควรอ่านทุกวัน อย่างน้อยวันละหนึ่งหัวข้อข่าว หรือหนึ่งบทความ เจอคำที่ไม่รู้ให้เปิดพจนานุกรมและเขียนไว้ ถึงแม้จะเป็นคำเดิมที่เราเคยเจอ และเคยเปิดมาแล้ว เพราะถ้าเปิดอีกรอบนั่นหมายความว่าเรายังจำไม่ได้ หากอ่านทุกวันเราจะเห็นว่าเราจะเจอคำศัพท์เดิมๆ บ่อยครั้ง ในที่สุดเราจะจำคำนั้นๆ ได้โดยอัตโนมัติ แต่การอ่านไม่จำเป็นต้องเปิดแบบละเอียดทุกคำ เพราะมันจะทำให้เราเกิดอาการหงุดหงิด ท้อและเลิกอ่านไปในที่สุด บางทีเราสามารถเดาความหมายจากบริบทได้ อันนี้อาจต้องฝึกบ่อยๆ นะคะ

การเรียนรู้ภาษาที่สามจะต้องมาควบคู่กับความขยันและอดทน หากขาดสิ่งนี้การเรียนรู้แทบจะไม่ได้ผลเลย ยังไงก็พยายามกันนะคะ โดยเฉพาะสากลอย่างภาษาอังกฤษ ไม่ใช่สิ่งที่ยากหรือน่ากลัว แต่หากเราไม่รู้แล้วเกิดจำเป็นต้องใช้ในวันข้างหน้าความน่ากลัวจะมาเยือน

 

ที่มา นิตยสารแคนดี้, เรียบเรียงโดย http://teen.mthai.com/education/75632.html