การปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการไอ

การปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการไอ

อาการไอ คือ ร่างกายกำลังพยายามทำให้ปอดและทางเดินหายใจโล่ง โดยอาจไอแบบแห้งๆ (ไม่มีเสมหะ) หรือไอมีเสมหะ การไออาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย บางครั้งอาจเกิดจากภาวะภูมิแพ้ หรือสิ่งระคายเคืองโดยเฉพาะบุหรี่ อาการไออาจเป็นผลจากการระคายเคืองโดยตรงต่อปอด หรือจากน้ำมูกที่ไหลลงในหลอด


เป้าหมายของการประเมินอาการ ก็เพื่อให้ทราบสาเหตุของการไอว่าเกิดจากการติดเชื้อ หรือเป็นภาวะภูมิแพ้ หรือเกิดจากสิ่งระคายเคือง ลักษณะที่บ่งชัดว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียได้แก่ มีไข้หรือเสมหะข้นสีเข้ม ซึ่งชี้ว่าเราควรได้รับการรักษาจากแพทย์
มีไข้หรือไม่
สะบัดปรอทวัดไข้ให้ปรอทลงไปอยู่ต่ำสุด อมใต้ลิ้น 3 นาทีแล้วอ่านผล ถ้ามีไข้ตั้งแต่ 38.9 C ขึ้นไป ควรพบแพทย์ทันที
เสมหะสีอะไร
ถ้าเสมหะมีเลือดสีปนสีน้ำตาล หรือเขียว ควรพบแพทย์
การดูแลรักษาตนเองเพื่อบรรเทาอาการ
เนื่องจากการไอเป็นกลไกปกป้องตัวเองของร่างกายทำให้ทางเดินหายใจที่มี มูกคั่งอยู่โล่งขึ้น เป้าหมายของการดูแลรักษาตนเองเพื่อบรรเทาอาการก็คือทำให้รู้สึกอิ่มสบายขึ้น ในขณะที่ช่วยการขจัดมูกด้ว
ควรปรึกษาแพทย์เมื่อ
• มีไข้ 38.9 C ขึ้นไป
• เสมหะปนเลือดมีสีน้ำตาล หรือเขียว
• มีอาการหอบหืด
• หายใจลำบาก
• เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง
• ไอติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์