นิทานอีสป เรื่อง คนเรือแตกกับกวี

ซีโมนิดเป็นกวีผู้มีชื่อเสียงของนครเอเธนส์ ครั้นหนึ่งเขาได้ร่วมคณะกับผู้ที่เดินทางไปยังนครแห่งหนึ่งในทวีเอเซียเพื่อชมความ

รุ่งเรือง ซีโมนิดได้แต่งบกกวีสดุดีวีรชนของนครแห่งนั้นจนเป็นที่โปรดปรานของเจ้านครจึงได้รับรางวัลทรัพย์สินเงินทองเป็นอัน

มากอยู่ต่อมาไม่นานซีโมนิดเกิดคิดถึงบ้านที่เกาะซีออส ซึ่งอยู่ในประเทศกรีก เขาได้รวบรวมทรัพย์สมบัติเท่าที่มีอยู่แล้วโดยสาร

เรือเดินทะเลมุ่งหน้าสู่บ้านเกิด แต่ระหว่างทางขณะเรือแล่นอยู่ใกล้ฝั่งทะเลเมืองคลาซอมมีนา ได้เกิดพายุอย่างรุนแรงจนเรือ ซึ่งมี

สภาพเก่าไม่อาจทนแรงกระแทกของคลื่นขนาดใหญ่ได้ทำท่าจะอับปาง ผู้โดยสารคนอื่นๆต่างเตรียมเก็บทรัพย์สินของตน ยกเว้น

แต่ซีโมนิดเพียงคนเดียวเท่านั้น

“ท่านจะปล่อยให้ทรัพย์สินเงินทองจมน้ำไปพร้อมกับเรืออย่างนั้นหรือ” ผู้โดยสารคนหนึ่งเอ่ยถามด้วยความแปลกใจ

“ใช่…” ซีโมนิดพยักหน้า “เพราะขืนนำไปด้วยก็จะเป็นภาระ ทรัพย์สินอันมีค่าที่สุดของข้าพเจ้ามีอยู่ในตัวแล้ว ตอนนี้ขอเพียงหา

แผ่นไม้ให้ได้สักแผ่นเพื่อพยุงตัวว่ายเข้าฝั่งให้ได้เท่านั้น”

เมื่อเรื่องแตก ผู้โดยสารหลายคนจมน้ำตายเพราะไม่ยอมทิ้งสมบัติ ส่วนผู้ที่เข้าถึงฝั่งได้ก็ถูกพวกโจรแย่งชิงทรัพย์สินไปหมดสิ้น

เมื่อชาวเมืองคลาซอมมีนามาให้ความช่วยเหลือผู้รอดชีวิตและรู้ว่าซีโมนิดคือกวีเอกของกรุงเอเธนส์ ซึ่งพวกเขาเคยอ่านและชื่น

ชมในผลงาน ต่างก็ให้การต้อนรับและจัดหาบ้านพักให้เป็นอย่างดี ในขณะที่ผู้โดยสารคนอื่นๆต้องอดอยากหิวโหย ได้แต่ขออาหาร

ชาวบ้านกินเพื่อประทังชีวิตไปวันๆ เท่านั้น

คติสอนใจจากนิทานอีสปเรื่องนี้:

“สมบัติ ภายในคือวิชาความรู้ความสามารถ ย่อมมีค่ามากกว่าทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งเป็นสมบัติภายนอก เพราะเราสามารถนำติดตัวไปทุกหนทุกแห่งและไม่มีใครแย่งชิง”