ช่วงเวลาที่จัดงานประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ
วันที่ ๔ ธันวาคม ของทุกปี ณ หมู่บ้านหนองพังนาค ตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ชาวบ้านจะทำพิธีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธจนเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
ความสำคัญของประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ
ตามประวัติสมัยพุทธกาล เชื่อว่านางสุชาดา ได้นำข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธถวายพระพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ดังนั้นชาวพุทธจึงถือว่าข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธเป็นอาหารทิพย์ และได้ทำถวายแด่พระสงฆ์ในฤดูก่อนเดือนสิบสอง
พิธีกรรมของประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ
เนื่องจากวัสดุที่สำคัญในการทำข้าวทิพย์ คือน้ำข้าวจากต้นข้าวที่กำลังเป็นน้ำนม ใน ประเทศไทยเชื่อกันว่ามีหลายจังหวัดที่ทำสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานานถึง ปัจจุบัน แต่สำหรับจังหวัดชัยนาทมีทำกันตลอดที่ตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ทำกันแทบทุกหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันทำกันตลอดมาทุกปีจนถือเป็นประเพณีที่หมู่บ้านหนองพังนาค
สาระของประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ
ประเพณีกวนข้าวทิพย์ เป็นประเพณีที่สร้างความสามัคคีในกลุ่มชนในอันที่จะร่วมกันนำเอาวัสดุข้าว ของต่าง ๆ มาร่วมทำบุญ เมื่อเสร็จและถวายเป็นพุทธบูชาก็แบ่งปันกันไปรับประทานเพื่อความเป็นสิริ มงคล
จุดเด่นของข้าวมธุปายาส
จากประวัติความเป็นมาและกรรมวิธีในการหุงข้าวมธุปายาส ที่พรรณนามาทั้งหมดจึงสรุปมูลเหตะที่ชาวพุทธทั้งหลายกล่าวยกย่อง “มธุปายาส” ว่าเป็น “ข้าวทิพย์” ได้ 3 ประการคือ
1. เป็นของที่มีรสอันโอชะล้ำเลิศและกระทำได้ยากผู้ที่จะสามารถปรุงขึ้นได้ ต้องอาศัยบารมี
2. เป็นของที่ปรุงขึ้นถวายแด่ผู้มีบุญญาธิการ ผู้ควรสักการะบูชา ปรุงขึ้นเป็นการเฉพาะ
เช่น เพื่อเป็นเครื่องสังเวยต่อเทพยดา เป็นต้น
รวมความก็คือทั้งผู้ปรุงและผู้รับต่างต้องมีบุญบารมีมากจึงจะกระทำได้
3. เป็นอาหารที่พระพุทธเจ้าทรงเสวยแล้วสามารถตรัสรู้บรรลุอนุตตรสัมโพธิญาณได้