ประเพณีไทย ประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟ งานไหลเรือไฟออกพรรษา
ประเพณีไหลเรือไฟ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการไหลเรือไฟ
ประเพณีไทย ประเพณีไหลเรือไฟ
ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีของชาวอีสาน ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “เฮือไฟ”
ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีของชาวอีสาน ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “เฮือไฟ” จัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที โดยมีประวัติความเป็นมาดังนี้ กล่าวคือพระพุทธเจ้าเสด็จไปฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพญานาค พระพุทธองค์ได้แสดงธรรมเทศนาโปรดพญานาคที่เมืองบาดาล และพญานาคได้ทูลขอพระพุทธองค์ประทับรอบพระบาทไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที ต่อมาบรรดาเทวดา มนุษย์ ตลอดจนสัตว์ทั้งหลายได้มาสักการะบูชา รอยพระพุทธบาท นอกจากนี้ประเพณีไหลเรือไฟยังจัดขึ้นเพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำที่ได้ทิ้งสิ่ง ปฏิกูล และเป็นการเอาไฟเผาความทุกข์ให้ลอยไปกับสายน้ำ
เรือไฟ หรือ เฮือไฟ หมายถึง เรือที่ทำด้วยท่อนกล้วย ไม้ไผ่ หรือ วัสดุ ที่ลอยน้ำ มีโครงสร้างเป็นรูปต่าง ๆ ตามต้องการ เมื่อจุดไฟใส่โครงสร้าง เปลวไฟจะลุกเป็นรูปร่างตามโครงสร้างนั้น
ประเพณีไหลเรือไฟ เรือประกอบไปด้วยไม้ไผ่ กับผ้าชุบน้ำมันยาง
เรือไฟเป็นไม้ไผ่อันเล็กๆ มัดให้เป็นลายตามที่ต้องการ แล้วใช้ผ้าเก่าๆ มาฉีกเป็นริ้ว ชุบน้ำมันยาง
“ไหลเรือไฟ” เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง ที่พุทธศาสนิกชนอีสาน ยึดถือปฏิบัติ สืบทอด กันมาแต่ครั้งโบราณ ประเพณีการไหลเรือไฟ บางทีเรียกว่า “ล่องเรือไฟ” “ลอยเรือไฟ” หรือ “ปล่อยเรือไฟ” ซึ่งเป็นลักษณะที่เรือไฟเคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ
ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของประเพณีไหลเรือไฟ
งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมปฏิบัติกันในเทศกาลออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ประเพณีไหลเรือไฟ มีความเชื่อเกี่ยวโยง สัมพันธ์กับข้อมูลความเป็นมาหลายประการ เช่น เนื่องจากการบูชารอยพระพุทธบาท การสักการะพกาพรหม การบวงสรวงพระธาตุจุฬามณี การระลึกถึงพระคุณ ของพระแม่คงคา เป็นต้น
เรือไฟประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นทุ่นสำหรับลอยน้ำ จะใช้ไม้ที่ลอยน้ำ มาผูกติดกันเป็นแพ และส่วนที่เป็นรูปร่างสำหรับจุดไฟ เป็นส่วนที่อยู่บนทุ่น ใช้ไม้ไผ่ ลำยาวแข็งแรง ตั้งปลายขึ้นทั้ง 3 ลำ เป็นเสารับน้ำหนักของแผลง และแผลงนี้ ก็ทำด้วยไม้ไผ่ขนาดเล็กมาผูกยึดไขว้กัน เป็นตารางสี่เหลี่ยม ระยะห่างกันประมาณ คืบเศษ มัดด้วยลวดให้แน่ วางราบบนพื้น เมื่อวางแผนงานออกแบบบนแผงว่า ควรเป็นภาพอะไร การออกแบบในสมัยก่อน ออกแบบเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ ศาสนาพุทธ เช่น พุทธประวัติ เป็นต้น
ประเพณีไหลเรือไฟ จัดช่วงออกพรรษาทางภาคอีสาน
ประเพณีไหลเรือไฟภาคอีสาน จะเป็นประเพณีที่คาบเกี่ยวระหว่างเดือนสิบเอ็ดและเดือนสิบสอง
ปัจจุบัน นิยมออกแบบให้เข้ากับเหตุการณ์ เมื่อได้ภาพก็เริ่มทำลวดลายของภาพ โดยส่วนที่จะก่อให้เกิดลายนั้น เป็นไม้ไผ่อันเล็ก ๆ และลวดคัดให้เป็นลาย ตามที่ต้องการ แล้วใช้ผ้าจีวรเก่า ๆ มาฉีกเป็นริ้ว ๆ ชุบน้ำมันยาง (ปัจจุบัน เปลี่ยนมาเป็นใช้น้ำมันโซล่า (ดีเซล)) เมื่อชุบแล้วก็นำไปตากนาน 6 – 7 วัน หรือ ไม่ตากก็ได้ แล้วนำมาพันกับเส้นลวดจนทั่วและมีริ้วผ้าเส้นเล็ก ๆ วางแนบ เป็นแนวยาว ทำหน้าที่เป็นสายชนวน เมื่อเวลาจุดไฟ เมื่อเรียบร้อย นำไปปักไว้ กลางแพ โดยผูกติดกับไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ที่เป็นฐาน เมื่อถึงเวลาก็จุดไฟ แล้วปล่อย ไปตามแม่น้ำ
ในปัจจุบันวิธีทำเรือไฟมีการนำเอาเทคโนโลยีแนวใหม่ๆ เข้ามาช่วย เช่น การใช้เรือจริงๆ แทนต้นกล้วยหรือไม้ไผ่ ใช้ริ้วผ้าชุบน้ำมันดีเซล แทนน้ำมันยาง หรือการใช้ไฟฟ้าประดับเรือแทนการใช้ริ้วผ้าชุบน้ำมันยาง เป็นต้น
ประเพณีการไหลเรือไฟภาคอีสาน จะเป็นประเพณีที่คาบเกี่ยว ระหว่างเดือน สิบเอ็ด และเดือนสิบสอง ส่วนมากนิยมทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ หรือวันแรม 1 คำ เดือนสิบเอ็ด พอถึงวันงาน ชาวบ้าน พระภิกษุสงฆ์และสามเณร จะช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อไปลอยที่แม่น้ำ ในช่วงเช้าจะมีการประกอบการกุศล โดยการไปทำบุญตักบาตร
ประเพณีไหลเรือไฟเป็นประเพณีของชาวอีสานริมฝั่งแม่น้ำโขง
ไหลเรือไฟเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง ที่พุทธศาสนิกชนอีสาน ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ครั้งโบราณ
มีการถวายภัตตาหารเพล แล้ว เลี้ยงญาติโยมที่มาในช่วงบ่าย มีการละเล่นต่าง ๆ เพื่อความสนุกสนาน รวมทั้งมีการรำวงเป็นการฉลองเรือไฟ พอประมาณ 5 – 6 โมง เย็น หรือตอนพลบค่ำ มีการสวดมนต์รับศีลและฟังเทศน์ ถึงเวลาประมาณ 19 – 20 นาฬิกา ชาวบ้าน จะนำของกิน ผ้า เครื่องใช้ ขนม ข้าวต้มมัด กล้วย อ้อย หมากพลู บุหรี่ ฯลฯ ใส่ลงในกระจาดบรรจุไว้ในเรือไฟ ครั้งถึงเวลา จะจุดไฟให้เรือสว่าง แล้วปล่อยเรือให้ลอยไปตามแม่น้ำ
ในช่วงใกล้ออกพรรษา ชาวบ้านจะเตรียมจัดเรือไฟ โดยเอาต้นกล้วยมาเสียบไม้ต่อกันให้ยาว วางสองแถว นำไม้ไผ่มาผูกไขว้เป็นตารางสี่เหสี่ยมและมัดด้วยลวดให้แน่นอน หลังจากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของผู้ออกแบบภาพบนแผงว่าจะสร้างสรรค์อย่างไร ต่อจากนั้นก็จะนำจีวรเก่าของพระมาฉีกแล้วชโลม ด้วยน้ำมันให้ชุ่มพอประมาณ นำไปผึ่งแดดประมาณ 6-7 วัน จนมีสีน้ำตาลเข้ม นำไปมัดและผูกด้วยลวด ภายในเรือจะนำกล้วย อ้อย เผือก มัน ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ใส่ไว้เพื่อเป็นทานให้แก่ผู้สัญจรไปมา
เมื่อถึงเวลาตอนเย็นชาวบ้านต่างพากันลงเรือและร้องเพลงกันอย่างสนุกสนานพอ ตอนค่ำก็จุดไฟในเรือ ลากไปกลางน้ำแล้วปล่อยให้เรือลอยไปเรื่อยๆ โดยยังมีการควบคุมเรืออยู่แต่พอพ้นเขตหมู่บ้าน ก็จะมีคนมาเอาสิ่งของในเรือไปจนหมด
งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมปฏิบัติกันในเทศกาลออกพรรษา
งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมปฏิบัติกันในเทศกาลออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
ระยะหลังได้มีการดัดแปลงการทำเรือไฟให้แปลกตา ใช้น้ำมันก๊าดหรือน้ำมันโซล่า แทนขี้ไต้ แพหยวกก็เปลี่ยนมาเป็นถังเหล็ก ใช้โครงเหล็กเพื่อความทนทานและดัดแปลงรูปร่างได้หลากหลาย จึงได้มีการจัดประกวดเรือไฟขึ้น ในงานประเพณีได้รับพระราชทานไฟพระฤกษ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย
จังหวัดที่เคยทำพิธีกรรมการไหลเรือไฟอย่างเป็นทางการ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ สกลนคร นครพนม หนอง เลย มหาสารคาม และ อุบลราชธานี
ในงานประเพณีไหลเรือไฟ จะมีความยิ่งใหญ่สวยงามตระการตา แต่ก็มีข้อคิดและ สาระที่แฝงอยู่นั้นก็คือ ชีวิตมนุษย์เป็นอนิจจังเนื่องจากเมื่อมนุษย์เกิดมาก็ต้องดำเนินชีวิตไปด้วย ความสุขและความทุกข์ แต่สุดท้ายมนุษย์ทุกคนก็จะต้องตาย ชีวิตดับสูญไปในที่สุด
ประเพณีไทย ประเพณีไหลเรือไฟ ที่มา
http://www.dmc.tv/pages/top_of_week/ประเพณีไหลเรือไฟ-ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการไหลเรือไฟ.html
Related posts
ประเพณีไทย ประเพณีแห่นางแมวขอฝน
ประเพณีไทย ประเพณีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้า อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (ประเพณีเข้ากรรมเมือง)
ประเพณีไทย ประเพณีบุญข้าวหลาม
ประเพณีไทย ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย
ประเพณีไทย ประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ
ประเพณีไทย ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ