พิธีกรรม ความเชื่อเรื่องพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก

ช่วงเวลาในพิธีกรรม ความเชื่อเรื่องพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก พิธีบวงสรวงจะกระทำก่อนการลงมือจับปลาบึกที่อำเภอเชียงของ จะเริ่มจับปลาบึกตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ของทุกปีซึ่งเป็นช่วงที่ปลาบึกกำลังผสมพันธุ์ และว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ที่ทางต้นน้ำในประเทศจีน

ความสำคัญในพิธีกรรม ความเชื่อเรื่องพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก

พิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึกเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเชื่อว่าปลาบึกเป็นปลาที่มีเทพคอยคุ้มครองอยู่ ถ้าไม่มีการบวงสรวงไหว้วอนขอจากเจ้าพ่อของเขา และไม่ปลุกขวัญแม่ย่านางเรือให้มีอานุภาพแกร่งกล้าผู้นั้นก็ยากที่จะจับปลา บึกได้สำเร็จ ดังนั้นบรรดาชาวประมงหรือพรานล่าปลาบึกบ้านหาดไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จึงได้มีพิธีบวงสรวงกันทุกปี จนกลายเป็นประเพณีพื้นบ้านของท้องถิ่น

พิธีกรรม ความเชื่อเรื่องพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก

พิธีบวงสรวงจะกระทำบริเวณชายหาดริมแม่น้ำโขง โดยมีศาลเพียงตาและมีรั้วรอบทั้งสี่ด้าน ที่มุมรั้วทั้ง๔ จะผูกต้นกล้วย ต้นอ้อยไว้ ส่วนบนศาลเพียงตาจะมีเครื่องเซ่นบวงสรวงประกอบด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน สุราอาหารและผลไม้ สมัยก่อนเครื่องเซ่นสังเวยบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึกและแม่ย่านางเรือมีเพียง ดอกไม้ ธูปเทียนและไก่เป็นๆ โดยจับขาไก่สองข้างให้แน่นและฟาดลำตัวลงบนหัวเรือให้ตายทั้งเป็น เพื่อให้เลือดกระเซ็นรอบๆเรือและเครื่องมือที่ใช้ดักจับปลาบึก จากนั้นก็ขออาหารที่เหลือมาแบ่งกันกิน เป็นอันเสร็จพิธี

สาระของพิธีกรรม ความเชื่อเรื่องพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก

การทำพิธีบวงสรวงก่อนการจับปลาบึกเป็นการสร้างกำลังใจ ความเป็นสิริมงคล และโชคลาภแก่ชาวประมง ตลอดจนเป็นการรักษาไว้ซึ่งประเพณีที่เคยปฏิบัติสืบกันมาทุกปี

ที่มาของพิธีกรรม ความเชื่อเรื่องพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก : ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

Related posts
ประเพณีไทย ประเพณีแห่นางแมวขอฝน
ประเพณีไทย ประเพณีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้า อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (ประเพณีเข้ากรรมเมือง)
ประเพณีไทย ประเพณีบุญข้าวหลาม
ประเพณีไทย ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย
ประเพณีไทย ประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ
ประเพณีไทย ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ

พิธีกรรม ความเชื่อเรื่องศาลพระภูมิ

พิธีกรรม ความเชื่อเรื่องศาลพระภูมิ มีลักษณะความเชื่อเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวิญญาณ

ความสำคัญในพิธีกรรม ความเชื่อเรื่องศาลพระภูมิ

เจ้าของบ้านเชื่อว่าในบริเวณบ้านของตนมีวิญญาณของเทพซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า พระภูมิอาศัยอยู่ หากได้จัดหาที่อยู่ที่เหมาะสมให้ และให้ความเคารพนับถือ บวงสรวงบูชาเป็นประจำแล้ว จะทำให้เจ้าของบ้านและคนในครอบครัวมีความสุข ปลอดภัยและมีความเจริญรุ่งเรือง

พิธีกรรม ความเชื่อเรื่องศาลพระภูมิ

ในเบื้องต้น เจ้าของบ้านต้องจัดหาที่อยู่อาศัยของพระภูมิ ที่เรียกกันทั่วไปว่า ศาลพระภูมิ มีลักษณะเป็นเรือนหรือปราสาทเล็กๆ วางอยู่บนเสาต้นเดียวและส่วนประกอบ คือ เจว็ด ตุ๊กตาชายหญิง ช้าง ม้ากระถางธูป เชิงเทียน แจกันดอกไม้ เป็นต้น ส่วนการกำหนดวัน เวลาฤกษ์ยาม ตำแหน่งที่ตั้งศาลพระภูมิซึ่งจะต้องอยู่ภายในรั้วหรือบริเวณบ้าน การทำพิธีตั้งศาลและเชิญพระภูมิขึ้นประทับบนศาลต้องให้หมอเจ้าพิธีเป็นผู้ ดำเนินการ

ในวันทำพิธีเจ้าของบ้านต้องจัดหาเครื่องสังเวย มี อาหารคาวเช่น หัวหมู ไก่ เป็ด เป็นต้น อาหารหวานเช่น ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว เป็นต้น ผลไม้ เช่น กล้วยน้ำว้าสุก และ มะพร้าวอ่อน นอกจากนี้ยังมีเครื่องบูชาเช่น บายศรีปากชาม พวงมาลัย ดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าแพร ๓ สี ด้ายสายสิญจน์ ขันน้ำมนต์ พานครูของหมอเจ้าพิธี เป็นต้น

เมื่อทุกอย่างพร้อม หมอเจ้าพิธีจะทำพิธีตามลำดับ เริ่มจากหมอเจ้าพิธีซึ่งนุ่งห่มชุดขาวอย่างพราหมณ์ทำพิธีบูชาครู ทำน้ำมนต์พรมที่หลุมสำหรับวางฐานเสาศาล วางสิ่งของมงคลที่ก้นหลุม เช่น เหรียญเงินใบเงิน ใบทอง ใบมะยม ดอกพุทธรักษา เป็นต้น ยกเสาตั้งในหลุม ตั้งเครื่องสังเวยตรงหน้าศาลพระภูมิ พรมน้ำมนต์เครื่องสังเวย เชิญเทพ เจิมแป้งที่ศาล เจิมเจว็ดและบริวาร ปิดทองคำเปลวที่เจว็ดและตัวศาลผูกสายสิญจน์โยงตัวศาลกับเครื่องสังเวย จุดธูปปักที่เครื่องสังเวยทุกอย่าง หมอเจ้าพิธีกล่าวนำถวายและเซ่นเครื่องสังเวยลาเครื่องสังเวย เชิญพระภูมิขึ้นศาล ลาเครื่องสังเวยอีกครั้ง ตักเครื่องสังเวยทุกชนิดใส่ในกระทงใบตองเล็ก ๆ๔ ใบ วางไว้ที่มุมศาลทั้ง ๔ มุม ปลดสายสิญจน์ ยกเครื่องสังเวยออก เป็นเสร็จพิธี

ที่มา พิธีกรรม ความเชื่อเรื่องศาลพระภูมิ: ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/

 

Related posts
ประเพณีไทย ประเพณีแห่นางแมวขอฝน
ประเพณีไทย ประเพณีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้า อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (ประเพณีเข้ากรรมเมือง)
ประเพณีไทย ประเพณีบุญข้าวหลาม
ประเพณีไทย ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย
ประเพณีไทย ประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ
ประเพณีไทย ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ