วันสำคัญของไทย เสาร์สัปดาห์ที่ 2 เดือนพฤศจิกายน วันคนพิการแห่งชาติ

วันคนพิการแห่งชาติ

วันคนพิการแห่งชาติ (เสาร์สัปดาห์ที่ 2 เดือนพฤศจิกายน)

วันคนพิการแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์สัปดาห์ที่ 2 พฤศจิกายน ของทุกปี ซึ่งสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดจัดขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการได้พบปะ สังสรรค์ แสดงความ สามารถในด้านต่างๆ และเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ เกี่ยวกับการบำบัด รักษา การป้องกันและฟื้นฟู สมรรถภาพ รวมทั้งเพื่อให้คนทั่วไป ได้เห็น ถึงศักยภาพ ศักดิ์ศรีและคุณค่าของคนพิการของคนพิการ

ความหมายของคนพิการ

คนพิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งมีความสามารถถูกจำกัดให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และการมีส่วนร่วมทางสังคมได้โดยวิธีการทั่วไป เนื่องจากมีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้และมีความต้องการจำเป็นพิเศษ ด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป (ความหมายตาม ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546 ไว้ดังนี้)

ประเภทของความความพิการ

1.1 พิการทางการมองเห็น
1.2 พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย
1.3 พิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว
1.4 พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
1.5 พิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้
1.6 พิการซ้ำซ้อน

ประเภทของความความพิการคนพิการแต่ละประเภทมี รายละเอียดความพิการในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 กำหนดลักษณะ ดังนี้

พิการทางการมองเห็น คือ คนที่มีสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดา แล้วมองเห็นน้อยกว่า 6/18 หรือ 20/70 จนมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือมีเลนส์สายตาแคบกว่า 30 องศา

พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย การได้ยิน เด็กอายุน้อยกว่า 7 ปี ลักษณะความพิการ คือ หูตึงปานกลาง หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดังเฉลี่ยเกิน 40 เดซิเบล จนไม่ได้ยิน ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5 เด็กอายุเกิน 7 ปี ถึงผู้ใหญ่ ลักษณะความพิการ คือ ความผิดปกติ หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดัง 55 เดซิเบลขึ้นไป ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5 การสื่อสาร

พิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องของร่างกายเห็นชัดเจน และคนที่สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้ ระดับความผิดปกติ 3 ถึง 5

พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติ ความบกพร่องทางจิตใจ หรือสมองในส่วนรับรู้ อารมณ์ ความคิด จนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมที่จำเป็นในการดูแลตนเอง หรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น ระดับความผิดปกติ ระดับที่ 1 และระดับที่ 2

พิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ ลักษณะพิการ คือ คนที่มีความผิดปกติ หรือความ บกพร่องทางสติปัญญาหรือสมอง จนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการศึกษาปกติได้

พิการซ้ำซ้อน มีความพิการมากกว่า 1 ลักษณะขึ้นไป