วันสำคัญของไทย วันที่ 13 เมษายน วันประมงแห่งชาติ

วันประมง วันประมงแห่งชาติ ตรงกับ 13 เมษายน ซึ่งเป็น วันสงกรานต์ มารู้จัก ประวัติ วันประมงแห่งชาติ ความเป็นมา วันประมงแห่งชาติ ความหมายของ วันประมงแห่งชาติ วัตถุประสงค์วันประมงแห่งชาติ…. ทำไมถึงต้องมี วันประมงแห่งชาติ

วันประมงแห่งชาติ
ทุกวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี

เป็นที่ทราบกันดีว่า ปริมาณสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติในปัจจุบันได้ลดจำนวนลงเป็นย่างมาอัน เนือ่งมาจากหลายสาเหตุ ดังนั้น กรมประมงจึงได้กำหนดให้วันที่ 13 เมษายน อันเป็นวันสงกรานต์เป็นวันขยายพันธุ์ปลา เพื่อเป็นการทดแทนสัตว์น้ำที่ถูกจับขึ้นมาใช้ประโยชน์อย่างมากมายในแต่ละวัน ตลอดจนการรณรงค์เพื่อให้ประชาชนได้ระลึกถึงคุณค่าของการอนุรักษ์สัตว์น้ำ

จากการที่สหกรณ์ประมงสมุทรสาครได้ทำหนังสือ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2525 ถึงนายกรัฐมนตรี พล.เอกเปรม ติณสูลานนท์ เสนอให้รัฐบาลกำหนดวันประมงแห่งชาติขึ้นเพื่อให้เป็นกำลังใจในการประกอบ อาชีพและอาสาปกป้องประเทศทางด้านทะเล นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมอบให้กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์เป็นผู้พิจารณา ซึ่งได้มอบให้กรมประมงเป็นผู้รับเรื่อง เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรง นอกจากนี้สำนักเลขาธิการฯ ได้ขอให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้ราชบัณฑิตยสถานและกรมศิลปากรร่วมกัน พิจารณาความเหมาะสมอีกด้วย

กรมประมงพิจารณาเห็นว่าอาชีพการประมงทะเล เป็นอาชีพที่ต้องเสี่ยงภัยจากอันตรายในน่านน้ำ และทำรายได้ให้แก่ประเทศชาติปีละหลายพันล้านบาท นอกจากนี้ยังช่วยทำหน้าที่แจ้งข่าวความเคลื่อนไหว ที่อาจเป็นภัยอันตรายแก่ประเทศให้ทางราชการทราบทันแก่เหตุการณ์ สมควรที่จะจัดให้มีวันสำคัญ เพื่อเป็นที่ระลึก เป็นขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพ และเป็นการสนับสนุนอาชีพประมง ทั้งยังเป็นการช่วยเตือนใจคนไทยทั้ง ชาติให้ช่วยกันอนุรักษ์รักษาทรัพยากร

สาเหตุที่ทำให้จำนวนสัตว์น้ำลดปริมาณลง

  • กางไทยถูกจำกัด
  • ความก้าวหน้าทางวิทยาการ คือจะมีอุปกรณ์ในการจับสัตว์น้ำ ที่ทันสมัยขึ้น
  • การระบายน้ำเสียจากโรงงานลงสู่แหล่งน้ำลำคลอง
  • การขยายแหล่งชุมชน เช่นการสร้างเขื่อน การถมคลอง การขยายถนน
  • การทำประมงผิดกฎหมาย เช่น การใช้วัตถุระเบิด การใช้อวนตาถี่ การใช้ไฟฟ้าช็อตปลา ในการจับปลา

กรมประมงจึงได้ประสานงานกับกองทัพเรือ และมีความเห็นร่วมกันให้ วันสงกรานต์ ซึ่งประชาชนชาวไทยยึดถือเสมือนเป็นวันขึ้นปีใหม่มาตั้งแต่อดีต เป็นวันที่หยุดปฏิบัติภารกิจประจำวันในวันดังกล่าว เพื่อไปทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา เพื่อความเป็นสิริมงคล รัฐบาลจึงเล็งเห็นโครงการบำรุงพันธุ์ปลา แบบประชาอาสา สามารถสนับสนุนวัตถุประสงค์ของวันประมงแห่งชาติ

และในวันนี้ทางราชการได้ถือว่าเป็น วันขยายพันธุ์ปลาแห่งชาติ โดยสนับสนุนให้ประชาชนนำพันธุ์ปลา ไปปล่อยตามแหล่งน้ำต่างๆ ในโอกาสที่วันนี้เป็นวันสำคัญวันหนึ่งโดยมีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงสมควรกำหนดให้ วันที่ 13 เมษายน ของทุกปีเป็น วันประมงแห่งชาติ เมื่อเดือนมกราคม 2527 เป็นต้นมา และเห็นสมควรให้หยุดทำการประมง มีการปล่อยปลาในแหล่งน้ำต่างๆ รวมทั้งในทะเลด้วย เพื่อเป็นการชดเชยสำหรับการที่ได้ทำการประมงมาตลอดปี

วัตถุประสงค์ของวันประมงแห่งชาติ

1. เพื่อระลึกถึงความสำคัญของการประมงไทย และให้กำลังใจแก่ชาวประมงผู้ประกอบอาชีพสุจริตที่ต้องเสี่ยงภัยในทะเล เพื่อนำทรัพยากรขึ้นมาเป็นอาหารของปวงชนและพัฒนาประเทศ

2. เพื่อสนับสนุนการปล่อยปลาในวันสงกรานต์อันเป็นประเพณีนิยมของชาวไทยมาแต่โบราณ

4. เพื่อเสริมสร้างทัศนคติในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำแก่ประชาชนทั่วไป เพราะสัตว์น้ำมีคุณค่า เป็นอาหารของประชาชน

5. เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีทางจิตใจ คือ ก่อให้เกิดความสามัคคีของคนในชาติ เพราะได้ทำกิจกรรมร่วมกัน และมีอานิสงส์ร่วมกันในอันนี้ที่จะต้องช่วยกันรักษาทรัพยากรของชาติ และมีความสุขที่ได้บุญกุศลในวันสงกรานต์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
– ชมรมอนุรักษ์สภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
– การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย – เขื่อนสิริกิติ์

วันสำคัญของไทย วันที่ 13 เมษายน วันผู้สูงอายุ

วันผู้สูงอายุ ตรงกับ 13 เมษายน ซึ่งเป็น วันสงกรานต์ มารู้จัก ประวัติ วันผู้สูงอายุแห่งชาติ ความเป็นมา วันผู้สูงอายุ ความหมายของ วันผู้สูงอายุ สัญลักษณ์ วันผู้สูงอายุ และกิจกรรมต่างๆ ใน วันผู้สูงอายุ… ทำไมถึงมี วันผู้สูงอายุ

วันผู้สูงอายุ
ทุกวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี

รัฐบาลในสมัย พล.เอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ และปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 14 ธันวาคม 2525 อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุ และได้เลือก “ดอกลำดวน” เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ

ความหมายคำว่า ผู้สูงอายุ

จากการที่องค์การสหประชาชาติได้จัดประชุม สมัชชาโลกเกี่ยวกับผู้สูงอายุ เมื่อปี พ.ศ. 2525 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย ได้ให้ความหมาย ของ คำว่า ผู้สูงอายุ ไว้ดังนี้

ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง ซึ่งในการศึกษารวบรวมข้อมูลประชากรผู้สูงอายุได้แบ่ง ผู้สูงอายุเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้สูงอายุตอนต้น และผู้สูงอายุตอนปลาย

ผู้สูงอายุตอนต้น หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 60-69 ปี ทั้งชายและหญิง

ผู้สูงอายุตอนปลาย หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 70 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง

เฉลี่ยเมื่อแรกเกิด หมายถึงจำนวนปีทีบุคคลหนึ่งเมื่อเกิดมาแล้วมีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปจนกระทั่งตาย

อายุขัยเฉลี่ยเมื่ออายุ 60 ปี หมายถึง จำนวนปีที่บุคคลหนึ่งเมื่ออายุครบ 60 ปี แล้วมีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป จนกระทั่งตาย

ความเป็นมาของผู้สูงอายุ

ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายที่สำคัญประการหนึ่งในอันที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมี สภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพ และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข จึงได้มอบให้กรมประชาสงเคราะห์จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชราขึ้น เพื่อให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุที่เดือดร้อนมีความทุกข์ยากประสบปัญหาและไม่ สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง กรมประชาสงเคราะห์จึงได้จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค เป็นแห่งแรกในปี พ.ศ. 2496 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เพื่อให้การสงเคราะห์คนชราที่ไม่สามารถช่วย เหลือตนเองได้ หรือประสบปัญหาความทุกข์ยาก เดือดร้อน ยากจน ไม่มีที่อยู่อาศัย หรือไม่สามารถอยู่กับครอบครัวได้
  2. เพื่อให้บริการแก่คนชราที่อยู่กับครอบครัว ของตน แต่มีความต้องการบริการสงเคราะห์คนชราบางอย่าง เช่น การรักษาพยาบาล กายภาพบำบัด นันทนาการ
  3. เพื่อแบ่งเบาภาระของครอบครัวผู้มีรายได้น้อย หรือยากจน ที่ไม่สามารถจะอุปการะเลี้ยงดูคนชราไว้ในครอบครัวได้
  4. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมอันเกี่ยว กับคนชรา ไม่ให้เร่ร่อน ทำความเดือดร้อนรำคาญแก่สังคมและให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างผาสุกตามสมควร แก่อัตภาพ
  5. เพื่อเป็นการตอบแทนคุณความดีที่คนชราได้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ
  6. เพื่อผู้สูงอายุจะได้คลายวิตกกังวล เมื่อชราภาพ ไม่สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้แล้วทางรัฐบาลมีหน้าที่จะเป็นผู้อุปการะเลี้ยง ดูต่อไป

กรมประชาสงเคราะห์ได้ดำเนินการให้การ สงเคราะห์ผู้สูงอายุ ตามนโยบายดังกล่าวข้างต้นตลชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งได้พิจารณาประเด็นสำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุไว้ 3 ประการ คือ ด้านมนุษยธรรม ด้านการพัฒนา และด้านการศึกษา นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก ยังได้กำหนดให้ปี 2525 เป็นปีรณรงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกำหนดคำขวัญว่า Add life to Years เพื่อให้ประเทศต่างๆช่วยกันส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุซึ่งคณะกรรมการอำนวยการ วันอนามัยโลกของกระทรวงสาธารณสุข ได้มีมติให้ใช้คำขวัญเป็นภาษาไทยว่า ให้ความรัก พิทักษ์อนามัย ผู้สูงวัยอายุยืน

ในส่วนของรัฐบาลไทย ก็ได้เห็นความสำคัญโดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2525 แต่งตั้งคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติขึ้น โดยมี ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้แทนจากหน่วยราชการองค์การเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายวางแผนและดำเนินกิจกรรมระดับชาติที่เกี่ยวกับผู้สูง อายุซึ่งคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นรวม 7 สาขา เพื่อดำเนินกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ได้แก่

  1. คณะอนุกรรมการ การศึกษาวิจัยและวางแผนระยะยาวเกี่ยวกับผู้สูงอายุ
  2. คณะอนุกรรมการ ประสานงานบริการสุขภาพผู้สูงอายุ
  3. คณะอนุกรรมการ สวัสดิการผู้สูงอายุ
  4. คณะอนุกรรมการ การศึกษาวัฒนธรรมและกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุ
  5. คณะอนุกรรมการ วิเทศสัมพันธ์เรื่องผู้สูงอายุ
  6. คณะอนุกรรมการ ประชาสัมพันธ์กิจการผู้สูงอายุ
  7. คณะอนุกรรมการ จัดหาทุนส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุ

ในปี พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2525 อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็น ประธานและจัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับผู้สูงอายุของทุกปีตามแผน (พ.ศ. 2525 – 2544) แผนระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุแห่งชาติ (พ.ศ. 2525 – 2544)

คณะอนุกรรมการการศึกษาวิจัยและวางแผนระยะยาว สำหรับผู้สูง อายุ ซึ่งมีอธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธาน ได้จัดทำแผนระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุแห่งชาติ (พ.ศ. 2525 – 2544) ขึ้น โดยได้คำนึงถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุด้านมนุษยธรรม ด้านการพัฒนา และด้านการศึกษาเป็นหลัก แผนนี้ประกอบด้วยนโยบายและมาตรการ 5 ด้าน คือ

  1. ด้านสุขภาพอนามัย
  2. ด้านการศึกษา
  3. ด้านการสังคมวัฒนธรรม
  4. ด้านความมั่นคงทางรายได้และการทำงานอา
  5. ด้านสวัสดิการสังคม

สัญลักษณ์ดอกไม้ของผู้สูงอายุ

รัฐบาลในสมัย พล.เอกเปรม ติณสูลานนท์ นอกจากจะอนุมัติให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุ แล้วยังได้เลือก “ดอกลำดวน” เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุด้วย สาเหตุที่เลือกดอกไม้นี้ เนื่องจากต้นลำดวนเป็นพืชยืน ต้นที่มีอยู่มากในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นต้นไม้่ให้ความร่มเย็น ลำต้นมีอายุยืน มีใบเขียวตลอดปี ให้ร่มเงาดีและดอกมีสีนวล กลิ่นหอม กลีบแข็งไม่ร่วงง่าย เหมือนกับผู้ทรงวัยวุฒิ ที่คงคุณธรรมความดีงามไว้ให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลานตลอดไป นอกจากนั้นทางด้านพฤกษศาสตร์ ต้นไม้นี้ยังใช้เป็นยาบำรุงหัวใจได้อีกด้วย ประการสำคัญ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงดำริให้จัดสวนนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้สูงอายุ

กิจกรรมวันผู้สูงอายุแห่งชาติ

  • กราบขอพรผู้สูงอายุ
  • มอบของขวัญให้กับผู้สูงอายุ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
– คลังปัญญาไทย
– ห้องสมุด สถาบันมูลนิธิเด็ก
– อักษรดอทคอม
– เว็บไซต์จังหวัดชัยนาท
– การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย – เขื่อนสิริกิติ์

ที่มาจาก : tlcthai