สาระน่ารู้เกี่ยวกับการป้องกันมะเร็งปากมดลูก
1.HPV Virus เกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคมะเร็งปากมดลูก
– HPV Virus พบมากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่มีเพียง 15 ชนิด ซึ่งเป็นสายพันธุ์รุนแรงโดยเฉพาะ
สายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 70 ส่วนมะเร็งอื่นๆ เช่น มะเร็งช่อง คลอดในสตรี มะเร็งอวัยวะเพศภายนอก รวมถึงมะเร็งทวารหนักในบุรุษ เป็นต้น
– การติดเชื้อ HPV นั้นไม่ใช่ทุกรายจะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก เพราะมีโอกาสหายได้เอง ประมาณร้อยละ 90
– การสัมผัสทางผิวหนัง โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์เป็นสาเหตุหลักในการติดเชื่อ HPV เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านเยื่อบุผิว โดยเฉพาะที่ปากมดลูก อวัยวะเพศภายนอกที่มีแผลหรือ รอยฉีกขาด แล้วไวรัสนี้จะฝังตัวในเซลล์เยื่อบุชั้นล่างสุด เนื้อเยื่อบริเวณนั้นจึงค่อยๆเปลี่ยน แปลงอย่างช้าๆแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะฟักตัว ระยะก่อนมะเร็ง และระยะมะเร็ง ซึ่งตั้งแต่ การติดเชื้อจนกลายเป็นมะเร็งใช้เวลาเปลี่ยนแปลงถึง 10 – 20 ปี
2.เรามีวิธีการป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้หรือไม่
– ปัจจุบันมีแนวทางการป้องกันมะเร็งปากมดลูกโดย
* การฉีดวัคซีนซึ่งเป็นปราการด่านแรกที่ป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ HPV เข้าสู่ร่างกาย
* การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ เป็นแนวป้องกันลำดับที่ 2 เพื่อค้นหา และติดตาม การติดเชื้อ HPV ระยะก่อนมะเร็งหรือ ระยะแรกของมะเร็งปากมดลูก แล้วรักษา ก่อนที่จะมีการลุกลามมากขึ้น
– เวลาการดำเนินของโรคแม้จะใช้เวลานาน แต่เราควรป้องกันตนเองไว้ก่อนที่จะสายเกินไป
3.มาทำความรู้จักกับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกกันเถอะ
วัคซีนในปัจจุบันมี 2 ชนิด ได้แก่
– ชนิดที่ป้องกันได้ 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ 16 และ 18 วัคซีนชนิดนี้สามารถกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกายให้ขึ้นสูงกว่าวัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์
– ชนิดที่ป้องกันได้ 4 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ 16 , 18 , 6 และ 11 ซึ่งสายพันธุ์ 6 และ 11 ไม่ทำให้เป็นมะเร็งแต่จะก่อให้เกิดโรคที่สร้างความกังวลใจ เช่น หูดหงอนไก่ หูดข้าวสุก เป็นต้น
*ประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งที่เกิดจากสายพันธุ์ 16 และ 18 ของวัคซีนทั้งสองชนิดใกล้เคีียงกัน
4.ใครบ้างที่สามารถฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
– อายุ 11 -26 ทั้งหญิงและชาย ในกลุ่มนี้จะได้รับประโยชน์สูงสูด โดยเฉพาะที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์
– กลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว และสตรีวัย 45 ถึง 55 ปี สามารถฉีดวัคซีนได้ แม้การป้องกันอาจไม่ดีเท่าในกลุ่มแรก แต่ถ้าไม่เคยติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 หรือ 18 ยังได้รับการป้องกันที่ดี
– กลุ่มชายรักชาย สามารถฉีดวัคซีนได้เช่นกัน แต่จะแนะนำให้ฉีดชนิด 4 สายพันธุ์ ซึ่งมีงานวิจัยรองรับในปัจจุบัน
-สตรีที่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติสามารถฉีดได้ แต่ควรติดตามรักษาไปพร้อมกัน และขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาด้วย
– สตรีที่ผ่าตัดมดลูกออกแล้วสามารถฉีดวัคซีนได้ โดยจะป้องกันมะเร็งช่องคลอดและมะเร็งอวัยวะเพศภายนอก แต่มะเร็งทั้งสองชนิดพบได้น้อย
ข้อมูลจากโรงพยาบาลธนบุรี