สาระน่ารู้เกี่ยวกับดอกเบี้ย

สาระน่ารู้เกี่ยวกับดอกเบี้ย

Photo By Osvaldo_Zoom with Creative Common 2.0

ในการทำธุรกิจไม่ว่าผู้ประกอบการจะเหลียวซ้ายแลขวาหรือจะหันไปมองทางไหน ก็ตามต่างก็ต้องเคยได้พบเจอเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ “ดอกเบี้ย” มาด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งดอกเบี้ยถือเป็นกลไกสำคัญที่ควบคุมระบบการเงินมาตั้งแต่อดีตนับตั้งแต่ ที่ผู้คนเริ่มติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างกันโดยใช้เหรียญและธนบัตร เป็นสื่อกลางทดแทนมูลค่า เพียงแต่ก่อนหน้านั้นอาจจะยังไม่ได้บัญญัติคำว่าดอกเบี้ยขึ้นมาเท่านั้นเอง โดยในปัจจุบันเรื่องของดอกเบี้ยมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจค่อนข้างมาก และถูกจัดเป็นเครื่องมือที่ใช้บริหารในทุกๆ้้เรื่องที่มีส่วนคาบเกี่ยวกับ ธุรกรรมทางการเงิน สาระความรู้ในเรื่องของดอกเบี้ยจึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการทุกๆคนควรรู้เอา ไว้ โดยวันนี้เราจะนำเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับดอกเบี้ยมานำเสนอแก่ผู้ ประกอบการทุกท่านเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการ ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้

อัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นทางการจะถูกกำหนดโดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

ดอกเบี้ย คืออะไร?

ดอกเบี้ย ตามความหมายทางเศรษฐศาสตร์สามารถตีความออกมาได้หลายทางแต่ในคนส่วนใหญ่มักจะ เข้าใจตรงกันว่าดอกเบี้ย คือ เงินที่จะได้เพิ่มขึ้นในลักษณะของค่าตอบแทนที่ผู้ปล่อยกู้ได้จากผู้ขอกู้ ซึ่งในทางกลับกันผู้ขอกู้ก็จำเป็นจะต้องจ่ายเงินในส่วนนี้ (ดอกเบี้ย) กับผู้ให้กู้นอกเหนือจากในส่วนของเงินต้นที่กู้มาด้วย ซึ่งจำนวนค่าตอบแทนในลักษณะของดอกเบี้ยจะมีการคิดในรูปแบบร้อยละเป็นหลัก เช่น ร้อยละ 3, ร้อยละ 5, ร้อยละ 20 ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ทั้ง 2 ฝ่ายยินยอมร่วมกันก่อนจะทำสัญญา แต่จะต้องไม่เกินที่กฎหมายระบุไว้มิเช่นนั้นจะมีความผิด ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นทางการจะถูกกำหนดจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย

หลังจากที่ได้ทราบความหมายโดยสังเขปของดอกเบี้ยไปแล้ว ส่วนต่อมาก็คือเรื่องของคุณประโยชน์ การบริหารธุรกิจภายใต้ข้อจำกัดของดอกเบี้ย และข้อควรระวัง ซึ่ง ทางเราได้สรุปวิธีการสำคัญมาแบบรวบย่อที่สุดเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจและ นำไปปฏิบัติโดยมีข้อที่ควรจะต้องพิจารณา ดังต่อไปนี้

จะออมเงินเอาผลกำไรต้องดูจังหวะ

เมื่อผลการดำเนินธุรกิจออกมาเป็นบวกและมีรายรับเป็นผลกำไรที่น่าพอใจ ผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์พร้อมทั้งวิสัยทัศน์มักจะนำเงินในส่วนดังกล่าว ไปต่อยอดในลักษณะของการลงทุนแบบต่อเงิน ซึ่งวิธีการลงทุนที่นิยมทำมากที่สุดและมีความเสี่ยงน้อยก็คือการนำเงินไป ฝากออมทรัพย์ไว้กับธนาคารเพื่อหวังผลตอบแทนกลับคืนมาในลักษณะของดอกเบี้ย เงินฝาก ซึ่งถ้าอยากได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ผู้ประกอบการจะต้องรอดูจังหวะและอัตราการให้ดอกเบี้ยของสถาบันการเงินแต่ละ แห่งที่มักมีการขยับขึ้นและลงตลอดเวลาตามทิศทางเศรษฐกิจเป็นหลัก เพื่อนำมาเปรียบเทียบการจ่ายผลตอบแทนที่น่าสนใจมากที่สุด หรือหากผู้ประกอบการตรวจสอบดูแล้วพบว่าอัตราดอกเบี้ยการออมทรัพย์ยังไม่น่า สนใจพอก็อาจจะเปลี่ยนไปลงทุนในวิธีอื่นๆไดh เช่น ซื้อพันธบัตรของรัฐบาล ซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไร ลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทเอกชนอื่นๆ หรือแม้แต่การทำประกันภัยทางธุรกิจ ก็อยู่ในวิถีทางที่พอทำได้ และให้ผลตอบแทนที่งดงามเช่นกัน แต่ผลตอบแทนที่ได้รับอาจจะมิใช่อยู่ในรูปของดอกเบี้ยพร้อมทั้งต้องยอมรับ ความเสี่ยงที่สูงขึ้นตามมาด้วย

กู้เงินเพื่อลงทุนยิ่งต้องดูอัตราดอกเบี้ย

วิธีการเพิ่มเงินทุนให้กับธุรกิจที่สำคัญมากที่สุดอีกวิธีหนึ่งก็คือการ ไปขอกู้จากสถาบันการเงินต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่านอกเหนือจากผู้ประกอบการจะต้องชดใช้คืนจำนวนเงินต้นเต็มตามที่ ได้ขอกู้ไปแล้วบริการนี้ก็ไม่ได้ให้ฟรีแต่มีการคิดค่าบริการและความเสี่ยงใน รูปแบบของค่าดอกเบี้ยที่ผู้ประกอบการต้องจ่ายเพิ่มเข้าไปด้วย ดังนั้นการลงทุนด้วยวิธีการกู้ยืมเงินจากภายนอกเข้ามาใช้ภายในกิจกรรมของ ทางบริษัทผู้ประกอบการยิ่งจะต้องใส่ใจในเรื่องดอกเบี้ยให้มากเป็นพิเศษ เพราะมันคือต้นทุนที่มาพร้อมกับเงินกู้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบดูให้ดีทุกครั้งก่อนที่จะกู้ แล้วนำมาคำนวณหาจุดคุ้มทุนและโอกาสที่จะประสบความสำเร็จเมื่อเทียบกับเวลาใน การผ่อนชำระ ซึ่งหากผู้ประกอบการวางแผนผิดพลาด ขาดส่งหรือผ่อนชำระช้าไปแม้แต่วันเดียวดอกเบี้ยจะขยายตัวแบบทวีคูณและนั่นก็ จะกลายเป็นฝันร้ายที่น่ากลัวที่สุดของการกู้เงิน

ดอกเบี้ยเป็นได้ทั้งผลประโยชน์และภาระ

ดอกเบี้ยสามารถให้ทั้งคุณและโทษกับธุรกิจของผู้ประกอบการได้ในคราวเดียว กันหากไม่รู้จักการใช้อย่างถูกวิธี ซึ่งหากผู้ประกอบการยืนอยู่ในมุมของผู้ลงทุนที่ต้องการได้ผลตอบแทนกลับคืนมา ในรูปแบบของดอกเบี้ยจงหาวิธีการและข้อตกลงที่จะทำให้ดอกเบี้ยอยู่ในอัตรา ร้อยละที่สูงที่สุดเท่าที่จะเรียกได้ หรืออย่างน้อยก็เป็นไปในรูปแบบของขั้นบันไดที่จะต้องเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆใน แต่ละปี แต่ในทางกลับกันหากผู้ประกอบการยืนอยู่ในมุมของผู้กู้ที่ต้องจ่ายค่า ดอกเบี้ยเป็นการทดแทนทั้งตัวเงินต้นหรือเมื่อเกิดการผิดสัญญา ฯลฯ ผู้ประกอบการจะต้องเสาะหาสถาบันทางการเงินหรือแหล่งเงินทุนที่คิดดอกเบี้ยใน อัตราที่ต่ำที่สุดด้วย เพื่อเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากที่สุดและไม่เป็นการบีบลดสภาพคล่องของบริษัท มากจนเกินไปนัก ซึ่งจะกลายเป็นที่มาของภาระทางการเงินที่อาจจะทำให้ธุรกิจล้มละลายได้หาก ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นที่กู้มา

เป็นเครื่องมือในการควบคุมธุรกิจ

ถ้ามีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากแสดงว่าเศรษฐกิจของประเทศมีัอัตราเงินเฟ้อสูง

ทุกๆรัฐบาลทั่วโลกมักจะนิยมนำดอกเบี้ยมาใช้เป็นเครื่องมือในการบังคับควบ คุมให้ระบบเศรษฐกิจมวลรวมของประเทศเป็นไปตามที่ตนเองต้องการเสมอ หรืออย่างน้อยก็เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น โดยการปรับขึ้นและลดอัตราดอกเบี้ยในแต่ละครั้งมักจะมีนัยยะสะท้อนสภาพ เศรษฐิจ ณ ขณะเวลานั้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องสนใจและอ่านกระแสของดอกเบี้ยให้ได้เพื่อเป็นการ ประเมินเศรษฐกิจในขณะนั้น อาทิเช่น หากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากแสดงว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศมีอัตรา เงินเฟ้อที่สูงมาก สินค้าเครื่องใช้มีขนาดและรูปแบบเหมือนเดิมแต่กลับมีราคาเพิ่มสูงขึ้นในขณะ ที่ค่าเงินลดลงต่ำลงจึงทำให้มีเงินอยู่ในระบบตลาดมากเกินไป รัฐจึงมีนโยบายขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อเอาเงินในตลาดเก็บเข้ามาอยู่ใน ธนาคารนั่นเอง แต่ในทางกลับกันหากธนาคารลดดอกเบี้ยเงินกู้ตามนโยบายของรัฐบาลแสดงว่าในช่วง เวลานั้นภาครัฐต้องการส่งเสริมการลงทุนอันจะทำให้ธุรกิจที่กู้เงินในช่วง เวลานี้ได้ประโยชน์พร้อมการสนับสนุนเป็นอย่างมาก ซึ่งหากผู้ประกอบการมีความรู้และอ่านออกในกลยุทธ์นี้ผู้ประกอบการจะทราบได้ เองว่าควรที่จะต้องดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจอย่างไร เพื่อเป็นการตอบรับกับอัตราดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น

ดอกเบี้ยสามารถบริหารจัดการได้

ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยจะถูกกำหนดอย่างตายตัวและเน้นเป็นหัวข้อใหญ่ตั้งแต่ ก่อนที่จะเริ่มเซ็นสัญญาแล้ว แต่ก็ใช่ว่ามันจะไม่สามารถจัดการบริหารด้วยตัวผู้ประกอบการเองได้ เพราะหากผู้ประกอบการลองอ่านในสัญญาอย่างละเอียดส่วนมากมักจะเปิดช่องให้ผู้ ประกอบการสามารถจัดการเองได้ในบางส่วน เช่น หากเพิ่มเงินฝากมากขึ้นจะได้ดอกเบี้ยมากขึ้น การฝากประจำจะได้ดอกเบี้ยแบบก้าวกระโดด หรือการส่งเงินต้นเข้ามาเติมในยอดรวมการผ่อนชำระให้มากขึ้นเพื่อลดค่า ดอกเบี้ยในกรณีของการกู้เงิน เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันการแข่งขันระหว่างสถาบันการเงินที่มีสูงขึ้นจึงมีผลดีที่มาตก อยู่กับผู้ประกอบการที่สามารถเลือกสิทธิพิเศษที่ดีที่สุดให้กับธุรกิจได้

ศึกษาข้อมูลให้มากที่สุดหากมีเรื่องของดอกเบี้ยเกี่ยวข้อง

ถึงแม้จะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยมาจาก กนง. แต่นั่นก็เป็นเพียงกรอบคร่าวๆเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงของธุรกิจสถาบันการเงินปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมากใน ธนาคารพาณิชย์หลายๆแห่งรวมถึงพวก Nonbank ด้วย จึงมักมีอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันรวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยของโปรโมชั่น ที่ไม่เหมือนกันด้วย ซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจของผู้ประกอบการมากขึ้นเรื่อยๆใน อนาคต ทั้งในส่วนของดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ ดังนั้นก่อนที่ผู้ประกอบการจะทำธุรกรรมทางการเงินอะไรที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องดอกเบี้ย คุณจะต้องตรวจสอบข้อมูลจากหลายๆผู้ให้บริการเสียก่อน เพื่อคัดเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุดสำหรับใช้บริหารดอกเบี้ยทางธุรกิจของผู้ ประกอบการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ดอกเบี้ยไม่ใช่เรื่องที่ซับซ้อนแต่ประการใดเลยหากผู้ประกอบการเรียนรู้ ที่จะเข้าใจและบริหารมันอย่างถูกวิธี เพราะการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยแต่ละครั้งมีสาเหตุที่มาที่ไปที่พอจะ คาดคะเนได้ การวางแผนไว้เสียตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นแนวทางการจัดการบริหารดอกเบี้ยที่ดีที่สุด เพราะอย่างไรเสียคำพูดที่มีผู้กล่าวเอาไว้ว่า “ดอกเบี้ย ก็คือ นายที่เคร่งครัด กับ เป็นบ่าวที่ซื่อสัตย์” ก็ยังสามารถสะท้อนและบ่งบอกความเป็นตัวตนของดอกเบี้ยได้เป็นอย่างดี

 

http://incquity.com/articles/money-talk/interest-tips