เขตห้ามล่าสัตว์ป่า(Non-hunting Area) หมายถึง อาณาบริเวณพื้นที่ที่ทางราชการได้กำหนดไว้ให้เป็นที่ทอยู่อาศัยของสัตว์ป่า หรือเป็นที่ที่สัตว์ป่าต้องการใช้สำหรับกิจกรรมบางอย่างในการดำรงชีวิต เช่น เป็นที่ผสมพันธุ์ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน เป็นแห่งอาหาร เป็นที่ลงพักระหว่างเดินทางย้ายถิ่นฐาน เป็นต้น โดยเฉพาะสัตว์ป่าที่หายากหรือถูกคุกคามให้อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นได้อย่างปลอดภัย สามารถดำรงพันธุ์ต่อไปได้ตามธรรมชาติ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเขตห้ามล่าสัตว์ป่า มีดังนี้
– คุ้มครอง อารักขาสัตว์ป่าในพื้นที่ให้ได้รับความปลอดภัย
– เพื่อรักษาและฟื้นฟูสภาพธรรมชาติให้เหมาะสมเอื้อต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า
– เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างยั่งยืนจากการอนุรักษ์สัตว์ป่าและระบบ นิเวศในพื้นที่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่านั้น มักเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก ไม่ใหญ่เหมือนกับเขตวนอุทยาน หรือ เขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมักมีขนาดใหญ่โต และโดยมากแล้วเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ก็มักจะเป้นส่วนหนึ่งของวนอุทยานหรืออุทยานแห่งชาตินั่นเอง
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าในประเทศไทยกระจายอยู่ทั่วประเทศทั้งหมด 60 แห่งดังนี้
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาเอราวัณ ที่ตั้ง : จังหวัดลพบุรี เนื้อที่ : 1,500 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาแหรง ที่ตั้ง : จังหวัดสงขลา เนื้อที่ : 68,250 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาใหญ่-เขาหน้าผาตั้ง ที่ตั้ง : จังหวัดอุตรดิตถ์ เนื้อที่ : 15,000 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขากระโดง ที่ตั้ง : จังหวัดบุรีรัมย์ เนื้อที่ : 1,450 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขากระปุก-เขาเตาหม้อ ที่ตั้ง : จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ : 4,850 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาค้อ ที่ตั้ง : จังหวัดเพชรบรูณ์ เนื้อที่ : 27,200 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน ที่ตั้ง : จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ : 2,299 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาท่าเพชร ที่ตั้ง : จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื้อที่ : 2,906 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่ ที่ตั้ง : จังหวัดพิษณุโลก เนื้อที่ : 80,900 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้ำพราย ที่ตั้ง : จังหวัดตรัง เนื้อที่ : 13,000 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาประทับช้าง ที่ตั้ง : จังหวัดราชบุรี เนื้อที่ : 1,268 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาประ-บางคราม ที่ตั้ง : จังหวัดกระบี่ ตรัง เนื้อที่ : 116,500 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม ที่ตั้ง : จังหวัดสงขลา เนื้อที่ : 146,875 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพระแทว ที่ตั้ง : จังหวัดภูเก็ต เนื้อที่ : 13,925 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์ ที่ตั้ง : จังหวัดลพบุรี เนื้อที่ : 8,440 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่ตั้ง : จังหวัดสระบุรี เนื้อที่ : 106,611 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ ที่ตั้ง : จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ : 153,125 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแหลมตะลุมพุก ที่ตั้ง : จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื้อที่ : 35,456 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าคลองลำชาน ที่ตั้ง : จังหวัดตรัง เนื้อที่ : 33,750 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าคุ้งกระเบน ที่ตั้ง : จังหวัดจันทบุรี เนื้อที่ : 11,370 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าชะอำ ที่ตั้ง : จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ : 622 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยพระบาท ที่ตั้ง : จังหวัดลำปาง เนื้อที่ : 71,000 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยสุเทพ ที่ตั้ง : จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ : 10,937 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ที่ตั้ง : จังหวัดมหาสารคาม เนื้อที่ : 343 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม ที่ตั้ง : จังหวัดสุโขทัย เนื้อที่ : 15,875 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำค้างคาว-เขาช่องพราน ที่ตั้ง : จังหวัดราชบุรี เนื้อที่ : 77 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน ที่ตั้ง : จังหวัดอุทัยธานี เนื้อที่ : 13,052 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล ที่ตั้ง : จังหวัดพิษณุโลก เนื้อที่ : 1,775 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ที่ตั้ง : จังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มุกดาหาร เนื้อที่ : 151,242 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำละว้า-ถ้ำดาวดึงค์ ที่ตั้ง : จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ : 25,937 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ที่ตั้ง : จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา เนื้อที่ : 285,625 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา ที่ตั้ง : จังหวัดสงขลา พัทลุง เนื้อที่ : 227,916 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง ที่ตั้ง : จังหวัดสงขลา พัทลุง เนื้อที่ : 375,000 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทุ่งทะเล ที่ตั้ง : จังหวัดกระบี่ เนื้อที่ : 30,633 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงเกริงกะเวียนและหนองน้ำซับ ที่ตั้ง : จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ : 320,000 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขลงหลง ที่ตั้ง : จังหวัดหนองคาย เนื้อที่ : 6,840 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก ที่ตั้ง : จังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท เนื้อที่ : 2,000 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ที่ตั้ง : จังหวัดนครสวรรค์ เนื้อที่ : 66,250 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่ากราด ที่ตั้ง : จังหวัดสงขลา เนื้อที่ : 2,575 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่าพรุ ที่ตั้ง : จังหวัดนราธิวาส เนื้อที่ : 100,000 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่ารังไก่ ที่ตั้ง : จังหวัดปัตตานี เนื้อที่ : 157 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าพรุค้างคาว ที่ตั้ง : จังหวัดสงขลา เนื้อที่ : 481 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำปาว ที่ตั้ง : จังหวัดกาฬสินธุ์ เนื้อที่ : 210,938 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าวังโป่ง-ชนแดน ที่ตั้ง : จังหวัดเพชรบรูณ์ เนื้อที่ : 92,500 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าวัดไผ่ล้อมและวัดอัมพุวราราม ที่ตั้ง : จังหวัดปทุมธานี เนื้อที่ : 74 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าวัดตาลเอน ที่ตั้ง : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื้อที่ : 100 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าวัดถ้ำระฆัง-เขาพระนอน ที่ตั้ง : จังหวัดราชบุรี เนื้อที่ : 106 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าวัดราษฎร์ศรัทธากะยาราม ที่ตั้ง : จังหวัดสมุทรสาคร เนื้อที่ : 47 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองแวง ที่ตั้ง : จังหวัดชัยภูมิ เนื้อที่ : 109 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองทุ่งทอง ที่ตั้ง : จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื้อที่ : 38,438 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองน้ำขาว ที่ตั้ง : จังหวัดพิษณุโลก เนื้อที่ : 358 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย ที่ตั้ง : จังหวัดเชียงราย เนื้อที่ : 2,711 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองปลักพระยาและเขาระยาบังสา ที่ตั้ง : จังหวัดสตูล เนื้อที่ : 12,770 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองหัวคู ที่ตั้ง : จังหวัดอุดรธานี เนื้อที่ : 70 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ที่ตั้ง : จังหวัดตรัง เนื้อที่ : 279,687 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำบางพระ ที่ตั้ง : จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ : 11,600 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน ที่ตั้ง : จังหวัดบุรีรัมย์ เนื้อที่ : 3,568 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก ที่ตั้ง : จังหวัดบุรีรัมย์ เนื้อที่ : 3,876 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด ที่ตั้ง : จังหวัดบุรีรัมย์ เนื้อที่ : 4,434 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอุทยานสมเด็จพระศรีนครินทร์ ที่ตั้ง : จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ : 56,250 ไร่
ประโยชน์ที่จะได้รับ
- เป็นการป้องกันมิให้สัตว์ป่าที่หาได้ยากต้องสูญพันธุ์
- สัตว์ป่าที่มีอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าได้รับความคุ้มครองและปลอดภัยทำให้สามารถสืบพันธุ์และเพิ่มจำนวนมากขึ้น สัตว์ป่าที่เพิ่มขึ้นนี้ จะมีโอกาสกระจายไปยังป่าส่วนอื่นๆ ต่อไป
- เนื่องจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นต้นน้ำลำธาร เมื่อได้จัดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าขึ้นแล้ว บรรดาต้นไม้ พรรณไม้ทุกชนิด ตลอดจนสภาพของต้นน้ำลำธาร แหล่งน้ำ ดิน หิน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ จะได้รับการคุ้มครองป้องกันไว้เป็นอย่างดี เป็นการรักษาป่าไม้ไว้ไม่ให้ถูกทำลาย ทำให้ป่าต้นน้ำคงอยู่เพื่อช่วยหล่อเลี้ยงแม่น้ำสายต่าง ๆ ให้มีน้ำไหล ตลอดปี
- บรรดาสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จะเป็นเครื่องดึงดูดให้นักทัศนาจร ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าไปเที่ยว ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และจะนำมาซึ่งรายได้ของประชาชนในท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นเสมือนห้องทดลองค้นคว้าทางวิชาการอันกว้างใหญ่สำหรับศึกษาค้นคว้า ทางวิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะสาขาชีววิทยา
จึงถือได้ว่าการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ป่าไม้ แหล่งต้นน้ำลำธาร ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ภายในเขตฯให้คงอยู่ตลอดไปได้ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมวิทยาการด้านสัตว์ป่าและชีววิทยาให้กว้างขวางก้าวหน้ายิ่งขึ้น
ขณะนี้ได้ประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไปแล้ว 57 แห่ง และเตรียมประกาศอีก 3 แห่ง 1