ประเพณีไทย ประเพณีฮีตสิบสอง

ฮีตสิบสอง มาจากคำสองคำ คือ ฮีต และ สิบสอง ฮีต มาจากคำว่า จารีต ซึ่งหมายถึง ความประพฤติ ธรรมเนียม ประเพณี ความประพฤติที่ดี และ สิบสอง มาจาคำว่า สิบสองเดือน ดังนั้นคำว่า ฮีตสิบสอง หมายถึงประเพณีที่ประชาชนในภาคอีสานปฏิบัติกันมาในโอกาสต่าง ๆ ทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี

ฮีตแต่ละอย่างกำหนดให้ปฏิบัติในแต่ละเดือนครบทั้ง 12 เดือน เดือนใดมีจารีตประเพณีอะไรประจำเดือน นักปราชญ์โบราณได้วางฮีต 12 ไว้ ดังนี้

* เดือนอ้าย หรือ เดือน 1 – บุญเข้ากรรม
* เดือนยี่ หรือ เดือน 2 – บุญคูณลาน
* เดือนสาม – บุญข้าวจี่
* เดือนสี่ – บุญผะเหวด
* เดือนห้า – บุญสงกรานต์
* เดือนหก – บุญบั้งไฟ
* เดือนเจ็ด – บุญซำฮะ (ชำระ)
* เดือนแปด – บุญเข้าพรรษา
* เดือนเก้า – บุญข้าวประดับดิน
* เดือนสิบ – บุญข้าวสาก
* เดือนสิบเอ็ด – บุญออกพรรษา
* เดือนสิบสอง – บุญกฐิน

คลองสิบสี่ บางทีเขียนหรือออกเสียงเป็น คองสิบสี่ เป็นคำและข้อปฏิบัติคู่กับฮีตสิบสอง คลองสิบสี่หรือคองสิบสี่ มาจากคำสองคำ คือ คลองหรือคอง มาจาก ครรลอง ซึ่งหมายถึง ธรรมเนียมประเพณี ทางหรือแนวทาง และ สิบสี่ หมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางปฏิบัติ 14 ข้อ ดังนั้นคำว่า คลองสิบสี่ จึงหมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางที่ประชาชนทุกระดับ นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ข้าราชการ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง และคนธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติ 14 ข้อ คลองสิบสี่อาจสรุปได้ 2 ส่วน คือ สำหรับพระมหากษัตริย์และผู้ปกครองบ้านเมืองพึงปฏิบัติ และสำหรับบุคคลธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนอยู่กันด้วยความสงบและเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยยึดข้อปฏิบัติทางศาสนาเป็นหลัก

เดือนอ้าย : บุญเข้ากรรม
งานบุญเดือนอ้ายหรือเดือนเจียง พระสงฆ์จะทำพิธีเข้ากรรมหรือที่เรียกว่าเข้าปริวาสกรรม เพื่อทำการชำระมลทินที่ได้ล่วงละเมิดพระวินัยคือ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส การอยู่กรรมนั้นจะใช้เวลา 6-9 วันในระหว่างนี้เองชาวบ้านจะเตรียมอาหาร หวานคาวนำไปถวายพระภิกษุทั้งเช้าและเพล เพราะการอยู่กรรมจะต้องอยู่ในบริเวณสงบ เช่น ชายป่าหรือที่ห่างไกลชุมชน(หรืออาจเป็นที่สงบในบริเวณวัดก็ได้) ชาวบ้านที่นำอาหารไปถวายพระภิกษุในระหว่างอยู่กรรมนี้เชื่อว่าจะทำให้ได้บุญ กุศลมาก

—> ขอบคุณภาพสวยๆจาก:www.dexmore.com <—

เดือนยี่ บุญคูนลานหรือบุญคูนข้าว
บุญ คูนลานหรือบุญคูนข้าวเป็นพิธีกรรมฉลองภายหลังจากเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านรู้สึกยินดีที่ได้ผลผลิตมาก จึงต้องการทำบุญโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ในลานข้าวและในบางแห่งจะมีการสู่ ขวัญข้าวเพื่อฉลองความอุดมสมบูรณ์ กล่าวขอบคุณแม่โพสพและขอโทษที่ได้เหยียบย่ำ พื้นแผ่นดินในระหว่างการทำนา เพื่อความเป็นสิริมงคลและให้ผลผลิตเป็นทวีคูณในปีต่อไป

ขอบคุณภาพสวยๆจาก: www.thaigoodview.com)

เดือนสาม บุญข้าวจี่
บุญข้าวจี่เป็นประเพณีที่เกิดจากความสมัครสมานของชุมชนชาวบ้านจะนัดหมายกัน มาทำบุญร่วมกันโดยช่วยกันปลูกผามหรือปะรำเตรียมไว้ในตอนบ่าย ครั้นเมื่อถึงรุ่งเช้าในวันต่อมาชาวบ้านจะช่วยกันจี่ข้าว หรือปิ้งข้าวและตักบาตรข้าวจี่ร่วมกัน หลังจากนั้นจะให้มีการเทศน์นิทานชาดกเรื่องนางปุณณทาสีเป็นเสร็จพิธี

—> ขอบคุณภาพสวยๆจาก:www.dexmore.com <—

เดือนสี่ บุญผะเหวด
?บุญผะเหวด? เป็นสำเนียงชาวอีสานที่มาจากคำว่า ?บุญพระเวส?หรือพระเวสสันดร เป็นประเพณีตามคติความเชื่อของชาวอีสานที่ว่า หากผู้ใดได้ฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรทั้ง 13 กัณฑ์จบภายในวันเดียว จะได้เกิดร่วมชาติภพกับพระศรีอริยเมตไตย บุญผะเหวดนี้จะทำติดต่อกันสามวันวันแรกจัดเตรียมสถานที่ ตกแต่งศาลาการเปรียญวันที่สองเป็นวันเฉลิมฉลองพระเวสสันดร

—> ขอบคุณภาพสวยๆจาก:www.dexmore.com <—

เดือนห้า บุญสรงน้ำ หรือ บุญฮดสรง
บุญฮดสรง หรือ บุญสงกรานต์ จัดให้มีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนห้า ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของ ไทยมาตั้งแต่โบราณ ในวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณในวันนี้พระสงฆ์นำพระพุทธรูปออกจากโบสถ์มา ไว้ที่หอสรงตอนบ่าย ชาวบ้านจะนำน้ำอบ น้ำหอม มาร่วมกันสรงน้ำพระพุทธรูปที่หอสรงนี้ จากนั้นก็ออกไปเก็บดอกไม้มาจัดประกวดประชันในการบูชาพระ ระหว่างนี้ชาวบ้านจะพากันเล่นแคน ฉิ่งฉาบ เพื่อความสนุกสนานรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่และเล่นสาดน้ำกัน โดยชาวบ้านอาจเล่นสนุกสนานถึง 15 วัน

—> ขอบคุณภาพสวยๆจาก:www.dexmore.com <—


เดือนหก บุญบั้งไฟ
บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับแถน เมื่อถึงเดือนหกเริ่มต้นการทำนาชาวบ้านจะจุดบั้งไฟเป็นการบูชาขอให้พญาแถนบันดาลฝนให้ตกลงมา ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นกิจกรรม ร่วมกันของชุมชนอีสานหลาย ๆ หมู่บ้าน หมู่บ้านเจ้าภาพจะปลูกโรงเรือน
เรียกว่า ผามบุญ ไว้ต้อนรับชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่น และดูแลจัดหาอาหารสำหรับทุก ๆ คน เช้าของวันงานชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญ ประกวดประชัน แห่ และจุดบั้งไฟที่ตกแต่งอย่างงดงาม บั้งไฟของหมู่บ้านใดจุดไม่ขึ้นชาวบ้านหมู่บ้านนั้นจะถูกโยนลงโคลนเป็นการทำ โทษ และจะมีการเซิ้ง ฟ้อน กันอย่างสนุกสนาน และจะมีการเซิ้งปลัดขิกร่วมอยู่ในขบวนด้วยเสมอ โดยมีความเชื่อว่าเป็นการไล่ผีให้พ้นออก ไปจากหมู่บ้านและเร่งให้แถนส่งฝนลงมาเร็ว ๆ

—-> ขอบคุณภาพสวยๆจาก: www.dexmore.com <—-

เดือนเจ็ด บุญซำฮะ
บุญ ซำฮะหรือชำระ เกิดตามความเชื่อที่ว่าเมื่อถึงเดือนเจ็ดต้องทำบุญชำระจิตใจให้สะอาดและ เพื่อปัดเป่ารังควาญสิ่งไม่เป็นมงคลออกจากหมู่บ้านบางท้องถิ่นเรียกประเพณี นี้ว่าบุญเบิกบ้านซึ่งมีพิธีกรรมทั้งทางศาสนาพุทธและไสยศาสตร์ ในวันงานชาวบ้านจะพากันนำภัตตาหารมาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์และร่วมกันฟังเทศน์ ฟังธรรม รวมทั้งมีการเซ่นไหว้ศาลหลักบ้าน เพื่อขอความคุ้มครองให้พ้นจากภัยพิบัติและช่วยขับไล่สิ่งไม่ดีไม่งามออกไป จากหมู่บ้าน ให้บ้านเกิดความเป็นสิริมงคล

—-> ขอบคุณภาพสวยๆจาก: www.dexmore.com <—-

เดือนแปด บุญเข้าพรรษา
บุญ เข้าพรรษาของภาคอีสานเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาคล้ายคลึงกับทางภาคกลางคือจะมี การทำบุญตักบาตร ถวายผ้าอาบน้ำฝน สงบ จีวรและเทียนพรรษา หากแต่ในภาคอีสานจะจัดขบวนแห่เทียนอย่างยิ่งใหญ่ และมักมีการประกวดความสวยงามของเทียน
จากแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งตกแต่งสลักเสลาเทียนเป็นลวดลาย เรื่องราวทางพุทธศาสนาอย่างสวยงาม เมื่อแห่เทียนมาถึงวัดชาวบ้านจะรับศีล รับพรฟังธรรม ตอนค่ำจะเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ

—-> ขอบคุณภาพสวยๆจาก: www.dexmore.com <—-

เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน
บุญ ข้าวประดับดิน จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนเก้าเป็นการทำบุญให้ญาติผู้ล่วงลับ โดยการนำข้าวปลาอาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่ อย่างละเล็กละน้อย ห่อด้วยใบตองเป็นสองห่อกลัดติดกันเตรียมไว้ตั้งแต่หัวค่ำ ครั้นถึงเวลาตีสาม ตีสี่ของวันรุ่งขึ้นจะนำห่ออาหาร และหมากพลูไปวางไว้ตามโคนต้นไม้รอบ ๆ วัด เพื่อให้ญาติพี่น้อยผู้ล่วงลับ รวมทั้งผีไร้ญาติอื่น ๆ ซึ่งเชื่อว่าจะมาเยี่ยมญาติพี่น้องในเวลานี้มารับไปเพื่อจะได้ไม่อดอยากหิว โหย นอกจากจะเป็นการทำบุญและทำทานแล้วยังแสดงถึงความกตัญญูอีกส่วนด้วย

—-> ขอบคุณภาพสวยๆจาก: www.dexmore.com <—-

เดือนสิบ บุญข้าวสาก
บุญข้าวสากเป็นประเพณีในวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งชาวบ้านจะจัดเตรียมสำรับอาหาร ซึ่งบรรจุข้าวเหนียว อาหารแห้ง เช่น ปลาย่าง เนื้อย่าง แจ่วบองหรือน้ำพริกปลาร้า และห่อข้าวเล็ก ๆ อีกห่อหนึ่งสำหรับอุทิศให้ญาติผู้ล่วงลับและนำไปทำบุญที่วัด โดยจะเขียนชื่อเจ้าของสำรับอาหารและเครื่องไทยทานใส่ไว้ในบาตร เพื่อให้พระในวัดจับสลาก หากภิกษุรูปใดจับสลากได้ชื่อผู้ใด ก็จะได้สำรับอาหารพร้อมเครื่องไทยทานของเจ้าภาพนั้น ๆ

—-> ขอบคุณภาพสวยๆจาก: www.dexmore.com <—-

เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา
บุญ ออกพรรษาในเดือนสิบเอ็ดนอกจากจะเป็นโอกาสที่พระภิกษุสงฆ์จะแสดงอาบัติและว่า กล่าวตักเตือนกันแล้ว ชาวบ้านในภาคอีสานยังมีกิจกรรมกันอีกหลายอย่าง ทั้งประเพณีตักบาตรเทโว การจุดประทีปโคมไฟประดับประดาตามต้นไม้ บางแห่งนำต้นอ้อย หรือไม้ไผ่มามัดเป็นเรือจุดโคมแล้วนำไปลอยในแม่น้ำที่เรียกว่า การไหลเรือไฟ เพื่อเป็นพุทธบูชาสำหรับหมู่บ้านที่อยู่ไกลแหล่งน้ำจะนิยมทำปราสาทผึ้งหรือ ผาสาดผึ้งทำจากกาบกล้วยประดับประดาด้วยขี้ผึ้ง ซึ่งทำเป็นดอกไม้ แต่ปัจจุบันมักใช้ขี้ผึ้งมาตกแต่งปราสาททั้งหลัง แล้วจัดขบวนแห่มาถวายที่วัดอย่างสนุกสนาน

—-> ขอบคุณภาพสวยๆจาก: www.dexmore.com <—-

เดือนสิบสอง บุญกฐิน
บุญกฐินคือ บุญที่เรียกว่า ?กาลทาน? นี้มีกำหนดให้ทำได้เฉพาะในช่วงวันแรม 1 ค่ำ เดือน11 ถึง 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ?บุญเดือน 12? ชาวอีสานเชื่อว่าผู้ใดได้ทำบุญกฐินจะไม่ตกนรกและจะได้รับผลบุญที่ทำในชาติ นี้ไว้เก็บกินในชาติ
หน้า งานบุญกฐินจึงจัดเป็นงานสำคัญ ในส่วนพิธีกรรมนั้นคล้ายคลึงกับภาคกลางแต่ที่ชาวอีสานและเครื่องบริวารกฐิน ซึ่งส่วนมากจะเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนมาตั้งวางไว้ในที่เปิดเผยเพื่อให้ ญาติพี่น้องหรือชาวบ้านใกล้เคียงนำสิ่งของ เช่น เสื่อ หมอน อาสนสงฆ์ ฯลฯ มาร่วมสบทบ ตอนเย็นของวันรวมก็จะนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ตอนกลางคืนอาจจัดให้มี มหรสพต่าง ๆ และที่ขาดไม่ได้ในงานบุญกฐินก็คือ ต้องจุด ?บั้งไฟพลุ? อย่างน้อยจำนวน 4 บั้ง เอาไว้จุดเมื่อตอนหัวค่ำหนึ่งลูก ตอนดึกหนึ่งลูก ตอนใกล้สว่างหนึ่งลูก และตอนถวายกฐินอีกหนึ่งลูก นอกจากจุดบั้งไฟพลุแล้วก็จะจุดบั้งไฟตะไลเป็นระยะ ๆ ในขณะที่แห่กฐิน

ขอบคุณข้อมูลดีๆเกี่ยวกับประเพณีไทย ประเพณีฮีตสิบสองจาก :
ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ – วิกิพีเดีย
http://www.dan-isan.tht.in/aticlevtntnnno.html

 

Related posts
ประเพณีไทย ประเพณีแห่นางแมวขอฝน
ประเพณีไทย ประเพณีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้า อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (ประเพณีเข้ากรรมเมือง)
ประเพณีไทย ประเพณีบุญข้าวหลาม
ประเพณีไทย ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย
ประเพณีไทย ประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ
ประเพณีไทย ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ