ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาเป็นประเพณีไทยเนื่องในพระพุทธศาสนากระทำกัน ในวันเข้าพรรษา ในสมัยแรกยังไม่มีประเพณีแห่เทียนเช่น ปัจจุบัน ชาวบ้านจะฝั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชา จำพรรษา หาน้ำมันไปถวายพระสงฆ์และหาเครื่องไทยทานและผ้าอาบน้ำฝน ไปถวายพระสงฆ์
ต่อมาในสมัยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสุธรรมสิมธิประสงค์ เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ที่เมืองอุบลฯ คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการทะเลาะวิวาททุบตีกันถึงแก่ความตาย ทรงเห็นว่าประเพณีบุญบั้งไฟไม่ เหมาะสมเพราะบางครั้งบั้งไฟแตกถูกประชาชนบาดเจ็บ มีการเล่นคลุกดินคลุกโคลนสกปรกเลอะเทอะ ทั้งไม่ใช้ประเพณีทางศาสนาจึงให้ ยกเลิกประเพณีนี้ เปลี่ยนเป็นประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาแทน
การแห่เทียนเข้าพรรษาแต่เดิมไม่ได้ทำใหญ่โตเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านร่วมกัน บริจาคเทียนแล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ หากกระดาษสีเงินสีทองเป็นลายฟันปลา บิดตามรอยต่อเสร็จแล้วก็แห่ไปถวายวัด ส่วนการทำเทียนในปัจจุบันแบ่งเป็น ๒ ประเภท แบบติดพิมพ์ และแบบแกะสลัก
การทำเทียนแบบติดพิมพ์ ใช้เครื่องมืออุปกรณ์มาก ขั้นตอนสลับซับซ้อนโดยวิธีพิมพ์ดอกจากแบบพิมพ์ แล้วนำมาติดกับลำต้น ลวดลายละเอียดเล็กยาว ไม่นูนหนา ลำต้นเทียนเล็กกว่าแกะสลัก
การทำเทียนแบบแกะสลัก วิธีการจะไม่สลับซับซ้อน ลักษณะลำต้นใหญ่กว่าแบบติดพิมพ์ การแกะดอกหรือการแกะสลักหรือการแกะสลักลวดลายจะแกะจากลำต้น ลวดลายมีขนาดใหญ่ นูนหนา ลึกสลักซับซ้อน
ช่างเทียนคนแรกคือ พ่อโพธิ์ ส่งศรี ส่วนช่างแกะสลักเทียนที่มี ชื่อเสียงในปัจจุบันถ้าเป็นประเภทติดพิมพ์คือ นายประดับ ก้อนแก้ว ช่างเทียนประเภทแกะสลักได้แก่ นายอุตส่าห์ จันทรวิจิตร ทั้งสองท่านได้รับ การยกย่องเป็นบุคคลดีเด่นด้านวัฒนธรรม สาขาวิจิตรศิลป์ของ สำนักงาน วัฒนธรรมแห่งชาติ
ที่มาประเพณีไทย ประเพณีแห่เทียนพรรษา : kanchanapisek.or.th