ความเชื่อเกี่ยวกับฝัน

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานของไทย ให้ความหมาย “ฝัน” ว่า เป็นการนึกเห็นเป็นเรื่องราวเมื่อเวลาหลับ

พระนันทาจาริย์ ผู้แต่งคัมภีร์สารัตถะสังคหะ และปราชญ์องค์หนึ่งในพระพุทธศาสนา ได้ระบุมูลเหตุของความฝันไว้เป็นข้อคิดทั้งหมด 4 ประการ ดังต่อไปนี้

1. ความฝันเกิดจากธาตุกำเริบ กล่าวคือร่างกายไม่ปกติครั้นหลับหลับลงจึงฝันไปในรูปแบบต่างๆ

2. ความฝันเกิดจากดวงจิตที่ฝังพะวง หรือพัวพันอยู่กับสิ่งหนึ่งก่อนหน้าจะหลับจึงเก็บเอาสิ่งนั้นมาฝัน

3. เกิดจากอิทธิฤทธิ์ของเทวดา เพราะเทวดาต้องการการให้โทษหรือให้คุณ ฝันโดยเป็นบุรพนิมิต คือบอกให้รู้ล่วงหน้าว่าจะมีเหตุดีหรือร้ายอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้น

เซนจูรี่ ดิคชันนารี ของอังกฤษอธิบายว่า ฝัน (Dream) คือความรู้สึกอย่างรางๆ ถึงภาพและความคิดทั้งหลายบางส่วนในเวลานอนหลับ

ลารูสส์ ดิคชันนารี ของฝรั่งเศสอธิบายว่า “ฝัน” คือหมวดหมู่ของความคิดและภาพทั้งหลาย ที่ปรากฏแก่วิญญาณในขณะนอนหลับ ความฝันมีอยู่เสมอตั้งแต่เราตั้งต้นหลับจนกระทั่งตื่น แต่บางคืนที่เรารู้สึกว่าไม่ได้ฝันนั้นแท้จริงแล้วเราฝันเหมือนกัน แต่เราจำไม่ได้

คัมภีร์สารัตถะสังคหะ ของพระนันทาจาริย์ อธิบายว่า “พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าคนที่ฝันร้าย คือฝันเห็นสิ่งน่ากลัว น่าหวาดเสียวนั้น เป็นเพราะเหตุที่ไม่ได้สติสัมปะชัญญะในเวลานอนหลับ แต่ผู้มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลาแม้กระทั้งหลับแล้ว ก็จะฝันเห็นแต่สิ่งที่ดีเสมอ ไม่ฝันถึงสิ่งชั่วร้ายหรือน่าหวาดกลัวเลย”

พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ผู้ประพันธ์เรื่องความฝัน แปลข้อคิดในการทำนายฝันของต่างประเทศซึ่งเขียนโดยท่านผู้หญิงเดอซีเร มีหลักเกณฑ์การทำนายฝันที่น่าคิดและน่าสนใจว่า จะต้องระวัง เรื่องที่จะไม่ให้เอาความฝันอันเกิดจากร่างกายไม่ปกติหรือหัวใจที่พัวพัน อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นมาเป็นความฝันที่เป็นบุรพนิมิต คือบอกเหตุการณ์ล่วงหน้า

โดยความฝันที่ถือว่า บุรพนิมิต คือความฝันที่มีขึ้นตั้งแต่เที่ยงคืนถึงย่ำรุ่งเท่านั้น ความฝันเป็นเรื่องที่นักปราชญ์หลายๆ ชาติได้ให้ข้อคิดเอาไว้มากมาย แต่ก็ไม่มีใครลงความเห็นว่า ความฝันเป็นเรื่องที่ไร้สาระและเชื่อถือไม่ได้เลยก็หาไม่

ในคัมภีร์หรือตำราทางศสนาโดยอ้างอิงถึง “พระมหาสุบินของพระพุทธเจ้า” ก็มีโหรหลวงคอยทำหน้าที่ถวายคำทำนายพระสุบินพระองค์ท่าน รวมทั้งพระมหากษัตริ์ไทยทุกพระองค์ก็มีโหรหลวงคอยทำหน้าที่ถวายคำทำนายพระ สุบินมาตั้งแต่โบราณ (พินิจ จันทร และคณะ, 2552, หน้า 71-73)

นิมิตแห่งความฝัน

วันอาทิตย์ ได้แก่ ญาติผู้ใหญ่ หรือเพื่อนฝูงทั่วไป

วันจันทร์ ได้แก่ ญาติสนิทและเพื่อนที่สนิทสนม

วันอังคาร ได้แก่ บิดามารดา หรือญาติผู้ใหญ่ในบ้าน

วันพุธ ได้แก่ สามีภรรยาหรือบุตรหลานในบ้าน

วันพฤหัสบดี ได้แก่ ครูบาอาจารย์หรือผู้บังคับบัญชา

วันศุกร์ ได้แก่ คนในบ้าน หรือสัตว์เลี้ยง

วันเสาร์ ได้แก่ ตัวผู้ฝัน

ที่มาความเชื่อเกี่ยวกับฝัน : เทศบาลตำบลปากน้ำประแส

Related posts
ประเพณีไทย ประเพณีแห่นางแมวขอฝน
ประเพณีไทย ประเพณีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้า อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (ประเพณีเข้ากรรมเมือง)
ประเพณีไทย ประเพณีบุญข้าวหลาม
ประเพณีไทย ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย
ประเพณีไทย ประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ
ประเพณีไทย ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ