วันสำคัญของไทย วันที่ 26 มิถุนายน วันสุนทรภู่

วันสุนทรภู่ 26 มิถุนายน

วันสำคัญของไทย วันที่ 26 มิถุนายน วันสุนทรภู่

วันสุนทรภู่ 26 มิถุนายน วันสุนทรภู่ ประวัติ

วันสุนทรภู่

วันสุนทรภู่ ตรงกับวันเกิดคือ วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี

พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (พ.ศ. 2329-2398) กวีไทยที่มีชื่อเสียงใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีผลงานที่มีชื่อเสียงหลายเรื่องได้แก่ พระอภัยมณี นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม เมื่อ พ.ศ. 2529

วันสุนทรภู่

ประวัติสุนทรภู่

สุนทรภู่ เกิดในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง (ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329) ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (ซึ่งเป็นบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบันนี้) ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 69 ปี

บิดา ของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาเป็นชาวเมืองอื่น สุนทรภู่เกิดเมื่อหลังจากได้สร้างกรุงเทพมหานครแล้ว 4 ปี แล้วต่อมาในภายหลังบิดามารดาได้หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำอันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้นสุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง

เมื่อ สุนทรภู่อายุได้ประมาณ 2 ขวบ มารดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระในสำนักวัดชีปะขาว (ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามในรัชกาลที่ 4 ว่า วัดศรีสุดาราม อยู่ริมคลองบางกอกน้อย) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดี ตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม

กุฎิ วัดเทพธิดารามที่สุนทรภู่บวชจำพรรษา เป็นสถานที่ค้นพบวรรณกรรมที่ทรงคุณค่ามากมายเช่น พระอภัยมณี ฯลฯ ที่ท่านเก็บซ่อนไว้ใต้เพดานหลังคากุฎิของท่าน กุฎิวัดเทพธิดารามที่สุนทรภู่บวชจำพรรษา เป็นสถานที่ค้นพบวรรณกรรมที่ทรงคุณค่ามากมายเช่น พระอภัยมณี ฯลฯ ที่ท่านเก็บซ่อนไว้ใต้เพดานหลังคากุฎิของท่าน อนุสาวรอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่ วัดศรีสุดาราม

ใน พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมอาลักษณ์ได้เป็นขุนสุนทรโวหาร ระหว่างรับราชการต้องจำคุกเพราะถูกอุทธรณ์ว่าเมาสุราทำร้ายญาติผู้ใหญ่ ภายหลังพ้นโทษ ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2

ในรัช สมัยรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่ออกจากราชการและออกบวช เมื่อลาสิกขาแล้วถวายตัวอยู่กับพระองค์เจ้าลักขณานุคุณได้ปีหนึ่ง ครั้นเจ้านายพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่ก็ขาดที่พึ่งได้รับความลำบากมาก ต้องลอยเรืออยู่และแต่งหนังสือขายเลี้ยงชีวิต ต่อมาจึงได้รับพระอุปถัมภ์ จากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พ.ศ. 2394 สุนทรภู่ ได้เป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากสุนทรภู่ (ภู่) จะได้รับนามสกุลคือ “ภู่เรือหงส์”

ตำแหน่งทางราชการ สุนทรภู่

  1. หลวงสุนทรโวหาร – พ.ศ. 2359
  2. พระสุนทรโวหาร – พ.ศ. 2394

ผลงาน ของท่านสุนทรภู่

  • นิราศ (วันสุนทรภู่)

    • นิราศเมืองแกลง
    • นิราศพระบาท
    • นิราศภูเขาทอง
    • นิราศวัดเจ้าฟ้า
    • นิราศอิเหนา
    • นิราศสุพรรณ
    • นิราศพระประธม
    • นิราศเมืองเพชร
    • รำพันพิราป
  • นิทาน (วันสุนทรภู่)

    • โคบุตร
    • พระอภัยมณี
    • พระไชยสุริยา
    • ลักษณวงศ์
    • สิงหไตรภพ
  • สุภาษิต (วันสุนทรภู่)

    • สวัสดิรักษา
    • เพลงยาวถวายโอวาท
    • สุภาษิตสอนหญิง (สุนทรภู่)
  • บทละคร (วันสุนทรภู่)

    • อภัยนุราช
  • บทเสภา (วันสุนทรภู่)

    • ขุนช้างขุนแผน (กำเนิดพลายงาม)
    • เสภาพระราชพงศาวดาร
  • บทเห่กล่อม (วันสุนทรภู่)

    • เห่เรื่องพระอภัยมณี
    • เห่เรื่องโคบุตร
    • เห่เรื่องจับระบำ
    • เห่เรื่องกากี

การแปลผลงานของสุนทรภู่เป็นภาษาต่างๆ

มีการแปลผลงานของสุนทรภู่เป็นภาษาต่างๆดังนี้

  • ภาษาไทยถิ่นเหนือ พญาพรหมโวหาร กวีเอกของล้านนาแปลพระอภัยมณีคำกลอนเป็นค่าวซอตามความประสงค์ของเจ้าแแค่ต อนที่ศรีสุวรรณอภิเษกกับนางเกษรา
  • ภาษาเขมร ผลงานของสุนทรภู่ที่แปลเป็นภาษาเขมรมีสามเรื่องคือ

    • พระอภัยมณี ไม่ปรากฏชื่อผู้แปล แปลถึงแค่ตอนที่นางผีเสื้อสมุทรลักพระอภัยมณีไปไว้ในถ้ำเท่านั้น
    • ลักษณวงศ์ แปลโดย ออกญาปัญญาธิบดี (แยม)
    • สุภาษิตสอนหญิงหรือสุภาษิตฉบับสตรี แปลโดย ออกญาสุตตันตปรีชา (อินทร์)

วันสุนทรภู่

วันสุนทรภู่ ตรงกับวันเกิดคือวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี

ประวัติสุนทรภู่แบบย่อ ประวัติสุนทรภู่ย่อ ประวัติสุนทรภู่และผลงาน ผลงานสุนทรภู่ กลอนสุนทรภู่ ผลงานของสุนทรภู่ ประวัติย่อสุนทรภู่