Copyright © 2014. Designed by ประกันภัยรถยนต์.
ความสำคัญของประเพณีงานปอย หมายถึงงานฉลอง งานสมโภชรื่นเริง แบ่งได้ ๔ ประเภท คือ ๑. งานปอยหน้อย ๒. งานปอยหลวง ๓. งานปอยข้าวสังข์ ๔. งานปอยล้อ สาระของประเพณีงานปอย งานปอยหน้อย หมายถึงปอยบวชและปอยเป็ก ที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะเป็นงานรื่นเริงส่วนบุคคลระหว่างพ่อแม่ของนาคญาติและ มิตรใกล้เคียงเท่านั้น เป็นการฉลองไม่ใหญ่โต จึงเรียกว่า ปอยหน้อย หมายถึงปอยหรืองานเล็ก ๆ งานปอยหลวง หมายถึงงานสมโภชใหญ่ ได้แก่การฉลองถาวรวัตถุประจำหมู่บ้าน เช่น โบสถ์ วิหาร กุฏิสงฆ์ เจดีย์เป็นต้น เป็นงานมหกรรมที่ใช้เวลาหลายวัน มีประชาชนและหัววัดต่าง ๆ (มาจากวัดอื่น ๆ) มาร่วมเป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่า ปอยหลวง หมายถึงปอยหรืองานใหญ่ งานปอยข้าวสังข์ หมายถึงงานอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ลูกหลาน ญาติ พี่น้อง จะจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้อาหาร เพื่อจะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว จะมีการนิมนต์พระสงฆ์ มารับเครื่องไทยทานในตอนเช้าหรือเพลก็ได้ งานนี้อาจจะมีมหรสพการละเล่น มาในงานทำให้เกิดความสนุกเพลิดเพลินได้ งานปอยล้อ หมายถึง งานศพพระสงฆ์ที่เป็นพระเถระผู้ใหญ่เป็นที่เคารพสักการะ หรือเป็นเจ้าบ้าน เจ้านคร เมื่อตายลงประชาชนญาติมิตรจะจัดงานศพให้ใหญ่โต จัดทำปราสาทใส่ศพเป็นยอดจตุรมุขสวยงามมาก ศพผู้ตายที่ได้ใส่ปราสาทถือว่าเป็นเกียรติยศอย่างยิ่ง ที่มาประเพณีไทย ประเพณีงานปอย : ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/ Read more →
ช่วงเวลาที่จัดงานประเพณีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้า อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (ประเพณีเข้ากรรมเมือง) : จัดทุกๆ ๓ ปี หรือเรียกว่า สามปี๋สี่ฮวงข้าว ความสำคัญของประเพณีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้า อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (ประเพณีเข้ากรรมเมือง) เป็นประเพณีที่มีความสำคัญยิ่งของไทลื้อ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวไทลื้อได้เล่าต่อๆกันมาว่าเจ้าหลวงเมืองล้า คือ เจ้าเมืองที่ปกครองเมืองล้าในดินแดนสิบสองปันนา เป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถ และเป็นทั้งแม่ทัพนายกองของชาวไทลื้อเมืองล้าทั้งมวล และท่านได้สิ้นชีพิตักษัยในดินแดนสิบสองปันนา ในส่วนบริวารหรือผู้ช่วยของเจ้าหลวงเมืองล้าประกอบด้วย หิ่งช้าง หิ่งม้า ล่ามเมือง หาบมาด แจ่งฝ่าย เชียงล้านโอ๊ก่า ช้างเผือก ปูก่าผมเขียวดำแดง ปางแสน ปางสา ปางเม็ด ม่อนเชียง คือ ปากท่อทั้งห้า บ่อต่วน สวนตาลเมืองหลุก อ่างเรียง และม่านตอง พิธีกรรมของประเพณีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้า อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (ประเพณีเข้ากรรมเมือง) เมื่อใกล้ถึงประเพณีเข้ากรรมเมือง ตัวแทนชาวไทลื้อทั้งสามหมู่บ้านได้แก่ บ้านหนองบัว บ้านต้นฮ่างและบ้านดอนมูล จะมาประชุมกันเพื่อกำหนดพิธีการและมอบหมายหน้าที่การงานกัน และที่สำคัญอย่างยิ่งจะมีการคัดเลือกบุคคลที่สืบเชื้อสายทางสายโลหิตของเจ้า หลวงเมืองล้า จำนวน ๑ คน มาเป็นตัวแทนชาวไทลื้อทั้งหมด เรียกว่าเจ้าเมือง ส่วนใหญ่มักจะคัดมาจากชาวไทลื้อบ้านดอนมูลซึ่งจะเป็นประธานในพิธีบวงสรวง และคัดเลือกชาวบ้านหนองบัว ที่สืบเชื้อสายมาจากหมอเมืองอีก ๑ คนหมอเมืองจะมีหน้าที่ป้อนอาหารในพิธีบวงสรวง เรียกว่า เจ้ายั๊ก หลังจากนั้นจะเลือกวันประกอบพิธีบวงสรวงโดยเลือกวันที่ดีที่สุดว่า วันเฒ่า การเข้ากรรมเมืองจะมีด้วยกันทั้งหมด ๓ วัน ซึ่งแต่ละวันจะมีกิจกรรมดังนี้ วันแรกประมาณ ๑๖.๐๐ น ชาวไทลื้อทั้ง ๓ หมู่บ้านจะปิดกั้นเขตแดน เข้า-ออก ของหมู่บ้านด้วย ตาแหลว (ใช้ไม้ไผ่สานคล้ายพัด) เมื่อปิดตาแหลวแล้วจะประกาศห้ามคนในหมู่บ้านออกนอกเขตตาแหลว และห้ามติดต่อกับภายนอกหมู่บ้านเป็นเวลา ๓ วัน และห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปในหมู่บ้านเช่นเดียวกัน ใครฝ่าฝืนจะถูกปรับไหมเป็นเงินทองแล้วแต่จะตกลงกันเพราะประเพณีนี้จะเป็น ประเพณีที่มีเฉพาะในหมู่ชาวไทลื้อเชื้อสายเมืองล้าเท่านั้นจึงไม่ต้องการให้ คนภายนอกล่วงรู้ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อถึงเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น จะแห่ เจ้าเมือง และหมอเมือง ไปยังสถานประกอบพิธีแห่งที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตบ้านหนองบัว โดยเจ้าเมือง และหมอเมืองจะพักอยู่ในที่พักที่จัดไว้ให้คนละหลัง […] Read more →
การแข่งเรือของจังหวัดน่าน เป็นประเพณีเก่าแก่สืบต่อกันมานาน ลักษณะของเรือแข่ง ลำเรือจะใช้ท่อนซุงทั้งท่อนขุดแบบเรือชะล่า แต่รูปร่างเพรียวเบา หัวเรือแกะเป็นรูปพญานาค หรืองูใหญ่ชูคอเป็นสง่า อ้าปากโง้ง หางเรือทำเป็นหางพญานาคงอนสูง ตลอดลำเรือสลักลวดลาย ลงรักปิดทอง ติดกระจกสี ติดพู่ห้อยตรงหัวเรือและท้ายเรือ ตรงคอต่อหัวเรือปักธงประจำคณะ ช่วงเวลาที่จัดงานประเพณีแข่งเรือเมืองน่าน นิยมแข่งขันกันในงานบุญและงานทอดกฐิน การแข่งเรือนัดสำคัญๆ ของจังหวัดน่าน คือ การแข่งในงาน”กฐินสามัคคี” เดิม ปัจจุบันคืองาน “กฐินพระราชทาน” แบ่งการแข่งขันออกเป็น ๒ ประเภท คือประเภทสวยงาม และประเภทความเร็ว การแข่งเรือในเทศกาลทอดกฐินของจังหวัดน่าน ซึ่งจะจัดช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ถือว่าเป็นการจัดงานที่ยิ่งใหญ่ และเป็นระเบียบเรียบร้อยงดงามยิ่งในจังหวัดภาคเหนืออีกแห่งหนึ่งที่จัดให้มี การแข่งขันเป็นประจำปี คือ การแข่งเรือที่อำเภอเวียงสาซึ่งจะมีการแข่งขันในเทศกาลทานก๋วยสลาก และเป็นการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้การแข่งเรือในตัวจังหวัด ความสำคัญของประเพณีแข่งเรือเมืองน่าน ลักษณะของเรือเมืองน่าน มาจากตำนานการตั้งเมืองน่านว่า ท้าวนุ่น ขุนฟองซึ่งเป็นต้นเค้าของราชวงศ์ภูคา บรรพบุรุษของเมืองน่านเกิดจากไข่พญางูใหญ่ จึงมีความเชื่อว่าบรรพบุรุษของชาวน่านกำเนิดมาจากพญานาค อีกประการหนึ่งมีความเชื่อว่าพญานาคเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีผลต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร ดังนั้นการทำเรือแข่งเป็นรูปพญานาคจึงเป็นการบูชาคุณพญานาคเจ้าแห่งน้ำ และบรรพบุรุษของตนเอง พิธีกรรมของประเพณีแข่งเรือเมืองน่าน พิธีกรรมในการแข่งเรือมีมากมายหลายขั้นตอน ตั้งแต่การหาไม้เพื่อขุดเรือ การทำพิธีก่อนโค่นต้นไม้ก่อนขุดเรือ ก่อนนำเรือลงน้ำ และตอนแข่งขัน ผู้ที่ทำพิธี ได้แก่ พ่ออาจารย์ หรืออาจารย์วัดซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างมนุษย์กับภูต ผี สาระสำคัญของประเพณีแข่งเรือเมืองน่าน การแข่งเรือเป็นประเพณีที่เนื่องด้วยการทำบุญในพุทธศาสนา คือ การทานก๋วยสลาก และการทอดกฐิน แสดงถึงความสามัคคีของชุมชน นอกจากนี้กลวิธีในการเอาชนะคู่ต่อสู้ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกอย่างหนึ่ง ที่ควรสืบทอดให้คงอยู่ต่อไป ที่มาประเพณีไทย ประเพณีแข่งเรือเมืองน่าน : ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/ Read more →
ช่วงเวลาที่จัดงานประเพณีไทย ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ : ประมาณปลายเดือนมกราคม ถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี (วันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑ ของจีน) ความสำคัญของประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ มีงานประเพณีที่สำคัญของท้องถิ่นที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาของชาวปากน้ำโพ เพื่อเป็นการเคารพสักการะเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ มีความเป็นมาดังนี้คือ เมื่อประมาณ ๗๐ กว่าปีที่ผ่านมาได้เกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) ขึ้น ชาวบ้านปากน้ำโพได้รับความเดือดร้อน เจ็บป่วยล้มตายกันมาก สมัยนั้นการแพทย์ยังไม่เจริญเหมือนกับปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดจึงได้มีชาวบ้านเข้าไปบนบานกับเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ให้ ช่วยรักษาให้พ้นจากโรคร้าย เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ได้ช่วยเหลือโดยการเข้าร่างผู้ที่เป็นร่างทรงและเขียนยันต์หรือที่ชาวจีน เรียกว่า ฮู้ เผาไฟใส่น้ำ ให้ชาวบ้านดื่มกินเป็นที่อัศจรรย์โรคร้ายหายไป ชาวบ้านอยู่กันอย่างมีความสุข ความเจริญยิ่งขึ้น จึงเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไปถึงความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ดังนั้น ชาวตลาดปากน้ำโพจึงได้มีการร่วมแรงร่วมใจกันจัดประเพณี การแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพขึ้นโดยจัดให้มีขบวนแห่เจ้า เป็นขบวนใหญ่โตมโหฬาร เช่นขบวนของเจ้าแม่กวนอิม โดยการคัดเลือกสาวงามที่มีคุณสมบัติให้เป็นตัวแทนของเจ้าแม่กวนอิม ขบวนเองกอ ล่อโก้ว ขบวนนางฟ้า สาวงามถือธง เด็กหญิงน้อย ๆ หาบกระเช้าดอกไม้ การเชิดสิงโต ของสมาคมต่าง ๆในจังหวัดนครสวรรค์ ขบวนอัญเชิญเจ้าและผู้เข้าทรง บางปีก็มีการลุยไฟ และขบวนที่ขาดเสียไม่ได้และเป็นจุดเด่นของงานทุกปี ก็คือ ขบวนแห่มังกร ซึ่งการเชิดมังกรทองที่จังหวัดนครสวรรค์มีชื่อเสียงมากในด้านความสวยงาม และการแสดงที่ตื่นเต้นเร้าใจ ที่มาประเพณีไทย ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ : ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/ Read more →
ช่วงเวลาที่จัดงานประเพณีไทย ประเพณีกรวยสลาก หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า กินก๋วยสลาก: ได้ปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกปีเกือบทุกวัด เริ่มจะไม่มีกำหนดตายตัว อาจจะทำในช่วงเข้าพรรษาก็เคยมี ความสำคัญของประเพณีกรวยสลาก เป็นงานประเพณีของท้องถิ่นที่ปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกปี ทุกบ้านจะหยุดงานเพื่อมาร่วมกันเตรียมงาน เตรียมกองสลาก เตรียมจัดอาหารเลี้ยงผู้ที่มาร่วมงาน พิธีกรรมของประเพณีกรวยสลาก เมื่อได้กำหนดวันกรวยสลากแล้ว ทางวัดจะแจ้งให้ผู้มีจิตศรัทธาทราบเพื่อจัดเตรียมอาหารสิ่งของต่าง ๆ ที่พระภิกษุจำเป็นต้องใช้ อาจทำเป็นบุคคลหรือคณะก็ได้ แต่ละกอง สิ่งของที่เตรียมมานี้จะทำภาชนะบรรจุอย่างสวยงาม ประดับตกแต่งเป็นซุ้มแบบเรือนไทย เรือนยอดหรือดอกบัว ตั้งเรียงรายรอบพระอุโบสถ วันนี้ถือว่าเป็นวันสำคัญทางวัดจะจัดเตรียมอาหารคาวหวาน ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารผู้มาในงานนี้อย่างเต็มที่ บุคคลที่จะได้จับสลากก็คือ พระภิกษุที่ได้นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นเจ้าอาวาสหรือพระภิกษุที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ เมื่อมาพร้อมกันแล้วก็เข้าพระอุโบสถทำพิธีสวดมนต์บทต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลของพุทธศาสนิกชน ต่อจากนั้นก็เริ่มจับสลาก พระภิกษุรูปใดจับได้หมายเลขหรือชื่อที่ตรงกับซุ้มกรวยสลากหมายเลขหรือชื่อ นั้นก็ไปรับถวายพร้อมด้วยอนุโมทนา เจ้าของกรวยสลากก็ช่วยกันหาซุ้มกรวยสลากใส่รถแห่ไปส่งถึงวัดอย่างสนุกสนาน สาระของประเพณีกรวยสลาก เป็นประเพณีของชาวพุทธที่มีการทำบุญให้ทานรับพรจากพระ จะทำให้เกิด สิริมงคลแก่ตน และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นการระลึกถึงบุญคุณของผู้มีพระคุณ และเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีของคนในชุมชน ที่มาประเพณีไทย ประเพณีกรวยสลาก : ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/ Read more →
ช่วงเวลาที่จัดงานประเพณีไทย ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า : ขึ้น ๑๔ และ ๑๕ ค่ำ เดือนเก้า ของภาคเหนือ (หรือเดือนเจ็ด ของภาคกลาง) ประมาณเดือนมิถุนายน (หรือปลายเดือนพฤษภาคม) ความสำคัญของประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พิธีกรรมของประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า วันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ คณะศรัทธาวัดต่างจัดริ้วขบวนต่างๆประกอบด้วยผ้าสบง ต้นเงิน จีวร ธงและบั้งไฟประจำคณะแห่ไปยังวัดพระบรมธาตุ ตำบลกาะตะเภา อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก เมื่อเดินทางถึงวัดจะมีพิธีถวายผ้าสบง จีวร ต้นเงิน และเริ่มพิธีบวงสรวงเทพยดา เข้าทรงเจ้าต่างๆ มีการร้องรำทำเพลง ภาคค่ำมีมหรสพสมโภช วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ มีการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ จากนั้นเริ่มประกวดการจุดบั้งไฟ สาระของประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า เพื่อบวงสรวงและบูชาเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ขอพรให้ปกป้องรักษาคุ้มครองให้บ้านเมืองมีความร่มเย็น บังเกิดความสุขความเจริญแก่ประชาชนทั้งปวง ที่มาประเพณีไทย ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า : ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/ Read more →
ช่วงเวลาที่จัดงานประเพณีไทย ประเพณีแล้อุ๊ป๊ะดะก่า : ทุกวันโกนของช่วงเข้าพรรษา ความสำคัญของประเพณีแล้อุ๊ป๊ะดะก่า เป็นการเตรียมอาหารเพื่อนำไปถวาย(ทำบุญ)ข้าวพระพุทธในวันพระ พิธีกรรมของประเพณีแล้อุ๊ป๊ะดะก่า ทางวัดได้จัดให้คณะอุบาสกที่จะหาบหาม ต้องไปวัดในวันโกนก่อนที่จะนุ่งขาวห่มขาวแล้วรับศีล ๕ ก่อนออกเดินแห่ขบวน โดยจัดรูปขบวนเดินมีฆ้อง ระฆัง นำหน้า ตามด้วยพระพุทธรูปที่อัญเชิญใส่พานมา ขบวนหาบจะมีทั้งโตกไม้ จานสำหรับใส่อาหาร ขนม ตะกร้าสำหรับใส่ผลไม้ ออกเดินทางตามเส้นทางที่กำหนด สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคเงินก็จะใส่ลงในขันหรือพานพระพุทธรูป จากนั้นจะพักรับประทานอาหารว่างและถ่ายข้าวของ โดยแยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ จตุปัจจัยที่เป็นเงิน และจตุปัจจัยที่เป็นอาหารแล้วแยกย้ายกันกลับบ้าน สาระของประเพณีแล้อุ๊ป๊ะดะก่า ชาวไทยใหญ่ถือว่าประเพณีถวายข้าวพระพุทธในวันพระจะได้รับอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ ที่มาประเพณีไทย ประเพณีแล้อุ๊ป๊ะดะก่า : ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/ Read more →
ช่วงเวลาที่จัดประเพณีไทย ประเพณีลอยกระทงสาย : วันเพ็ญเดือนสิบสอง ความสำคัญในประเพณีลอยกระทงสาย เพื่อบูชาแม่คงคา ขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำและอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาท พิธีกรรมของประเพณีลอยกระทงสาย ก่อนถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองชาวบ้านจะเตรียมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ ๑. แพผ้าป่าน้ำ ทำจากต้นกล้วยมาตกแต่งให้สวยงามด้วยดอกไม้ธูปเทียน ธงหลากสี ใส่หมากพลู บุหรี่ ขนม ผลไม้ เศษสตางค์ เพื่อเป็นทานสำหรับคนยากจนที่เก็บแพผ้าป่าน้ำได้ ๒. กระทงสาย แต่เดิมตัวกระทงสายจะทำจากใบพลับพลึงอ่อนสีขาว เย็บเป็นรูปกระทง ไส้กระทงจะทำด้วยเชือกฝั้น และใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นเชื้อไฟ ปัจจุบันจะใช้กะลามะพร้าว ซึ่งต้องใช้เป็นจำนวนมากนับหมื่นใบ มีไส้กระทงเป็นเทียนหล่อในกะลา มีเชือกฝั้นเป็นไส้หรือจะใช้ขี้ไต้ก็ได้ เมื่อถึงเวลา ชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านจะจัดขบวนแห่ แต่งตัวกันสวยงามร่ายรำกันเป็นขบวนนำกระทงสายมายังท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำปิง เมื่อมาถึงพร้อมกันก็จะทำพิธีจุดธูปเทียนบูชาแม่คงคาขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่ง ปฏิกูลลงในแม่น้ำ รำลึกจิตอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้า และสุดท้ายอธิษฐานเพื่อลอยทุกข์โศก โรคบาปให้ตัวเองและครอบครัวแล้วทำการปล่อยแพผ้าป่าน้ำ หลังจากนั้นชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านก็จะจับสลากว่า ใครจะเป็นผู้ปล่อยกระทงสายก่อน หมู่บ้านใดได้ลอยก่อน ก็จะพากันแบกอุปกรณ์ไปบริเวณที่จะปล่อยกระทง สมาชิกจะต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือและจะต้องทำงานประสานกัน คือ คนหนึ่งเตรียมกะลามะพร้าวนำขี้ไต้วางในกะลาส่งให้ผู้จุดไฟ ส่งให้ผู้ปล่อยกะลาลงในน้ำ ซึ่งจะต้องใช้ความชำนาญในการปล่อยกะลามะพร้าวลงแม่น้ำให้เป็นระยะ ๆ ให้ห่างเท่ากันโดยสม่ำเสมอ กะลามะพร้าวก็จะลอยเป็นสายไปในแม่น้ำปิง ส่องแสงระยิบระยับสวยงาม และหากหมู่บ้านใดลอยได้ระยะสม่ำเสมอสวยงาม แสงไฟไม่ดับตลอดไป ซึ่งมีระยะห่างจนสุดสายตา ก็จะเป็นผู้ชนะสำหรับปีนั้น และขณะที่สมาชิกส่วนหนึ่งปล่อยกระทง ที่เหลือก็จะเป็นกองเชียร์ ส่งเสียงเชียร์ตีกลองร่ายรำกันอย่างสนุกสนาน สาระของประเพณีลอยกระทงสาย การลอยกระทงสายเป็นประเพณีที่เป็นแบบเฉพาะของชาวตาก ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน แสดงถึงความสามัคคีและความเป็นมิตรไมตรีของชาวบ้านในชุมชนนั้น ที่มาประเพณีไทย ประเพณีลอยกระทงสาย : ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/ Read more →
ช่วงเวลาที่จัดงานประเพณีไทย ประเพณีเข้าอินทขิล (ใส่ขันดอก) ระหว่างแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ (เดือน ๙ จันทรคติภาคกลาง) ถึง ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน๙ เหนือ ณ วิหารจตุรมุข วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ความสำคัญของประเพณีเข้าอินทขิล (ใส่ขันดอก) เป็นประเพณีบูชาเสาหลักเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีชื่อว่าเสาอินทขิล เสาหลักเมืองเดิมมีมาตั้งแต่เมื่อครั้งสร้างเมืองเชียงใหม่ และประดิษฐานที่วัดสะดือเมือง ต่อมาได้เสื่อมสภาพไป พระยากาวิละซึ่งได้ฟื้นฟูประเพณีอินทขิลขึ้นใหม่ จึงได้สร้างและย้ายมาประดิษฐานไว้ ณ วัดสวนดอกจนถึงปัจจุบันนี้ ชาวเชียงใหม่ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอย่างหนึ่ง พิธีกรรมของประเพณีเข้าอินทขิล (ใส่ขันดอก) เริ่มด้วยพ่อหมอพฤฒาจารย์กระทำพิธีบูชาครู สักการะวิญญาณบรรพบุรุษ อารักษ์ และผีเจ้านายทั้งหลาย เทศบาลนครเชียงใหม่จัดขบวนแห่พระพุทธรูปฝนแสนห่าไปรอบเมืองให้ประชาชนสรงน้ำ ที่บริเวณวัดมีขันบูชาเสาอินทขิลสำหรับให้ประชาชนนำดอกไม้ไปบูชา (เรียกว่า ใส่ขันดอก) สาระของประเพณีเข้าอินทขิล (ใส่ขันดอก) ทำให้ประชาชนทราบความเป็นไปของบ้านเมือง ทำให้มีความหวังว่าในปีที่กำลังจะมาถึงจะมีความอุดมสมบูรณ์ และประชาชนจะอยู่ดีกินดี ที่มาประเพณีไทย ประเพณีเข้าอินทขิล (ใส่ขันดอก) : ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/ Read more →
ช่วงเวลาของประเพณีไทย ประเพณีไหว้พระธาตุดอยตุง วันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ (เดือน ๔ ไทยกลาง) หลังวันมาฆบูชา ๑ เดือน ความสำคัญของประเพณีไหว้พระธาตุดอยตุง พระธาตุดอยตุง เป็นปูชนียสถานเก่าแก่ของชาวพุทธในเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้ง ชาวพุทธในรัฐเชียงตุง ประเทศพม่า และในประเทศลาว การไหว้พระธาตุดอยตุงเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตดีขึ้น พิธีกรรมในประเพณีไหว้พระธาตุดอยตุง ในวันเพ็ญเดือน ๖ พุทธมามะกะจากทุกทิศ จะเดินทางขึ้นไปบนยอดดอยตุง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย กิจกรรมในวันนั้น ภาคกลางวันมีการบูชาพระรัตนตรัย รับศีล และฟังเทศน์ กลางคืนมีการเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุ ในอดีต ผู้ที่เดินทางมักเดินจากเชิงเขาที่บ้านห้วยไคร้ อำเภอแม่สายขึ้นไปเป็นระยะทางประมาณ ๙ กิโลเมตร ปัจจุบันนี้ นิยมเดินทางด้วยรถยนต์ตามถนนลาดยางที่แยกจากถนนพหลโยธินที่บ้านสันกอง อำเภอแม่จัน ส่วนผู้ที่นิยมเดินขึ้นเหลือน้อยลง เพราะถนนสำหรับรถยนต์ได้ทับเส้นทางเดินเท้าหลายแห่ง สาระของประเพณีไหว้พระธาตุดอยตุง ประเพณีของชาวพุทธมีการสมาทานศีลและการฟังเทศน์เป็นหลัก ซึ่งเป็นไปเพื่อชำระจิตใจให้ปราศจากกิเลส และฝักใฝ่ทางกุศล การเดินทางขึ้นไปบนยอดดอยตุงแสดงให้เห็นศรัทธา ความเพียร และความอดทน ที่มาประเพณีไทย ประเพณีไหว้พระธาตุดอยตุง : ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/ Read more →