การเขียนแผนการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆจะต้องมีการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ให้ครอบคลุม KPA ทั้งนี้ผู้สอนจะต้องชัดเจนในเรื่องของความรู้ความเข้าใจ ทักษะทางความคิด และการปฏิบัติงานที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ดังนั้นนอกจาก KPA จะเป็นเครื่องมือประเมินของผู้เรียนแล้ว ยังสามารถใช้ในการตรวจสอบประสิทธิ์ภาพของผู้สอนได้ด้วยเช่นเดียวกัน
KPA ย่อมาจากอะไร
KPA ย่อมาจาก Knowledge Practice Attitude
KPA หมายถึง เกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละแบบแผนการเรียนรู้ จะประกอบไปด้วย 3 ด้านด้วยกันคือ ประกอบด้วยการประเมินด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะและการปฏิบัติ (Practice) และด้านเจตคติหรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude) การประเมินจะแบ่งตามลักษณะของรายวิชาด้วยเครื่องมือที่แตกต่างกันไปเช่น การประเมินด้านความรู้ (K) จะนิยมใช้แบบทดสอบในการประเมิน ในขณะที่การประเมินด้านทักษะ (P) จะใช้ภาระงานหรือชิ้นงานมาประกอบกับเกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics) มาประเมิน ส่วนด้านเจตคติ (A) จะใช้การประเมินตามสภาพจริงซึ่งมีความซับซ้อนกว่า 2 อย่างแรก
- การประเมินด้านความรู้ (K) จะนิยมใช้แบบทดสอบในการประเมิน
- การประเมินด้านทักษะและการปฏิบัติ (P) จะใช้ภาระงานหรือชิ้นงานมาประกอบกับเกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics) มาประเมิน
- การประเมินด้านเจตคติหรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)จะใช้การประเมินตามสภาพจริงซึ่งมีความซับซ้อนกว่า 2 อย่างแรก
KPA ดีอย่างไร
การใช้ KPA ในการเรียนการสอนจะสามารถทำให้กำหนดกรอบของการเรียนการสอนนั้นเพื่อที่จะได้พาผู้เรียนไปให้ได้ถึงเป้าหมายตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ในการออกแบบแผนจัดการเรียนรู้ ก็ควรให้ผู้เรียนได้มีเป้าหมาย และ จุดประสงค์การเรียนทั้งด้าน ความรู้ knowledge มีทักษะความสามารถในการปฏิบัติ Practice และมีเจตคติหรือ attitudeที่ดีนั่นเอง
ข้อมูลจาก https://www.ineedtoknow.org