Copyright © 2014. Designed by ประกันภัยรถยนต์.
ความสำคัญของประเพณีไทย พจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายของคำว่า ประเพณีไทย ไว้ ว่า ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง ธรรมเนียมมีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป ซึ่ง เราอาจสรุปให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า ประเพณีไทย หมาย ถึง กิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ เป็นกฎระเบียบในการประพฤติปฏิบัติตน และมีความสำคัญต่อสังคมจนส่งอิทธิพลต่อสังคมในด้านต่างๆเช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ Read more →
โขน เป็นศิลปะการแสดงอย่างหนึ่งของไทย มีประวัติที่เก่าแก่ยาวนานมาก เชื่อว่ามีความเก่าแก่อย่างน้อยย้อนไปถึงสมัยอยุธยามีการสันนิษฐานว่าเป็น การแสดงที่พัฒนามาจากการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ กระบี่กระบอง และการแสดงหนังใหญ่ ดังนั้นการแสดงโขนจึงเป็นการรวมศิลปะการแสดงหลายชนิดเข้าด้วยกัน เป็นการแสดงที่อาศัยท่าเต้นเป็นการแสดงออกทางอารมณ์เป็นสำคัญ ตัวละครมีทั้งแบบสวมมงกุฎบนศีรษะ และสวมหน้ากาก โดยการแสดงเป็นเรื่องราว มีทั้งบทเจรจา และบทร้อง สำหรับเนื้อเรื่องที่นำมาแสดงโขนนั้นเดิมมีทั้งเรื่องอุณรุท และรามเกียรติ์ แต่ในปัจจุบันนิยมเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น ความหมายของโขน โขนเป็นนาฏกรรมที่มีศิลปะเป็นแบบฉบับ ของตนเอง คำว่า “โขน” ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในลิลิตพระลอเล่าถึงงานมหรสพในงานพระศพของพระลอและพระ เพื่อนพระแพงว่า “ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน” คำว่า “โขน” มีกล่าวไว้ในหนังสือของชาวต่างประเทศ เป็นการกล่าวถึงศิลปะแห่งการเล่นของไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นที่นิยมและยึดถือเป็นแบบแผนกันมานาน มีข้อสันนิษฐานว่าโขนน่าจะมาจากคำในภาษาต่าง ๆ ดังนี้ Read more →
เป็นความเชื่อเฉพาะบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม 1.ห้ามผิวปากเวลากลางคืนเชื่อว่าจะโดนคุณไสยที่ล่องลอยอยู่ 2.ห้ามโพกหัวหรือสวมหมวกในวัดหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เชื่อว่าหัวจะล้าน 3.ห้ามบ้วนน้ำลายลงโถส้วมเชื่อว่าวาจาจะเสื่อม 4.ห้ามนั่งบนขั้นบันไดเพราะผีบ้านผีเรือนไม่ชอบ 5.ห้ามนั่งบนหมอนเชื่อว่าคาถาจะเสื่อม 6.ห้ามเล่าความฝันในขณะทานข้าวเชื่อว่าแม่โพสพท่านไม่ชอบ 7.ห้ามเดินข้ามหนังสือเพราะเชื่อว่าจะเรียนไม่จำ 8.ห้ามนุ่งผ้าเปียกเข้าบ้านเพราะเชื่อว่าผีไม่กลัวและจะทำให้ปวดท้อง 9.ห้ามหญิงมีครรภ์ห้ามไปงานศพ เพราะจะมีวิญญาณติดตามมา 10.ห้ามดมดอกไม้ที่จะนำไปถวายพระเชื่อกันว่าจมูกจะเป็นไซนัสหรือริดสีดวงจมูก 11.ห้ามหลับเวลาฟังพระเทศเชื่อว่าชาติหน้าจะเกิดเป็นงู 12.ห้ามเอาของคืนเมื่อให้ผู้ใดไปแล้วเชื่อว่าจะเป็นเปรต(นอกจากให้ยืม) 13.ห้ามกวาดขยะกลางคืนเชื่อว่าผีไม่คุ้มและกวาดทรัพย์ออกหมด 14.ห้ามตัดเล็บกลางคืนเชื่อว่าอายุจะสั้น 15.ห้ามลอดไม้ค้ำต้นกล้วยและไม้ค้ำบ้านและห้ามลอดราวผ้าและห้ามลอดใต้แขนคนอื่นเพราะจะทำให้ของเสื่อม 16.อย่าให้ใครข้ามหัวเพราะจะทำให้อาคมเสื่อมและของทุกอย่างเสื่อม 17.ห้ามด่าแม่ผู้อื่นเพราะสาริกาลิ้นทองจะเสื่อม 18.คนสักยันต์ห้ามกินฟักแฟงบวบน้ำเต้าและปลาไม่มีเกล็ดเพราะเชื่อว่าหนังจะไม่เหนียว 19.หากไปในที่สถานที่แปลกๆห้ามทักเมื่อได้ยินเสียงแปลกๆเพราะเชื่อกันว่านั่นคือคุณไสย หรือของไม่ดีหากใครทักจะเข้าตัวทันที 20.ห้ามนอนหันหัวไปทางทิศตะวันตกเพราะเชื่อว่าวิญญาณจะออกจากร่าง(อีกอย่างหนึ่งเป็นทิศที่หันหัวของคนตาย) 21.ห้ามขึ้นบ้านวันเสาร์ เผาศพวันศุกร์ โกนจุกวันอังคาร แต่งงานวันพุธ เพราะเป็นอัปมงคล 22.ห้ามเคาะจานข้าวเวลารับประทานอาหาร โบราณท่านถือว่า ห้ามเคาะจานข้าว เพราะจะเป็นการเรียนวิญญาณที่พเนจร เมื่อได้ยินเสียงเราเคาะจาน ก็จะพากันมาแย่งเรากินข้าว กินอาหารคาวหวานท่านต้องเคยเห็นเวลาเราไหว้ศพหรือไหว้วันสำคัญ เราจะจัดชุดสำหรับพวกผีไม่มีญาติ และทำพิธิเรียกมากิน โดยใช้การเคาะถ้วยชาม ดังนั้นผู้ใหญ่จึงถือมาก ห้ามลูกหลานเคาะจานชามเวลากินข้าว ที่มาความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์ ข้อห้ามทางไสยศาสตร์ : mthai.com / http://www.kzimo.com Read more →
ดอกแก้วเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว ต้นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง ๑๐ ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ สีเขียวเข้ม เปลือกต้น สีขาวเทา ช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ประเพณีดอกแก้วบานเบื้องบูรพา บูชาหลวงพ่อทอง และงานกาชาด ประมาณช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ขบวนแห่สืบสานประเพณีไทยของ ดีเมืองสระแก้ว ชมการประกวดร้องเพลง นิทรรศการแสดงผลงานของส่วนราชการ ชมการแสดง มหรสพ ขบวนแห่ศิลปวัฒนธรรม การจัดนิทรรศการ และการออกร้านแสดงสินค้า บริเวณอยู่ที่สามแยกสระแก้ว ที่มาประเพณีไทย ประเพณีดอกแก้วบานเบื้องบูรพา : combatinghate.com Read more →
ประเพณีแห่นางแมวขอฝน เป็นความเชื่อของชาวอีสานว่า ถ้าเมื่อถึงฤดูฝนแล้วต้องทำนาแล้วไม่มีน้ำที่จะมาทำนาหรือทำการเกษตรก็จะทำ พิธีแห่นางแมวเพื่อขอฝนจากเทวดาเพื่อให้ฝนตกลงมาให้ชาวเกษตรกรมีน้ำในการทำ การเกษตร ซึ่งจะจัดทำขึ้นในระหว่างเดือน ๗- ๙ และนิยมทำกันทั่วไปในภาคอีสาน แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นประเพณีไทยประจำปี จะทำเฉพาะในปีใดที่ฟ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะกระทำจนกลายเป็น ประเพณีขอฝน ที่สืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้ พิธีแห่นางแมวขอฝนจะใช้แมวสีดำที่ใช้ในการแห่นางแมว ประเพณีแห่นางแมวขอฝน วันประกอบพิธีไม่ มีวันกำหนดที่แน่นอน โดยมากมักจะเป็นวันพระ เมื่อตกลงกำหนดวันเรียบร้อยแล้วชาวบ้านจะจัดเตรียมสถานที่เกี่ยวกับพิธีที่ วัด วันทีทำพิธีจะนำแมวสีดำมาใส่ไว้ในกระทอซึ่งทำจากไม้เหมือนกรง สิ่งของที่ใช้ในการทำพิธีแห่นางแมวขอฝน กะทอหรือเข่ง หรือกระบุง ที่มีฝาปิดข้างบน 1 อัน แมวสีดำตัวเมีย 1-3 ตัว เทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ ไม่สำหรับสอดกะทอให้คนหาม 1 อัน ประเพณีแห่นางแมวขอฝน ชาวบ้านจะรวมตัวกันจะมีผู้นำซึ่งต้องเป็นคนที่กล่าวขอฝนได้มาแล้วทำการนำแมว ไปไว้ในกระทอแล้วให้คนหาม แล้วทำการเดินไปรอบ ๆ หมู่บ้าน พร้อมกับพูดขอฝนจากเทวดาซึ้งเป็นภาษาที่ชาวบ้านใช้กัน ก็จะมีการเคาะไม้ตีกลอง เดินไปรอบ ๆ หมู่บ้านจนครบทุกหลังเพื่อให้เอาน้ำมาสาดแมวให้แมวร้อง ทำไปจนเสร็จพิธีหรือฝนตก การทำพิธีแห่นางแมวขอฝนก็เป็นความเชื่ออีกอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านสืบทอดกันมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่มาประเพณีไทย ประเพณีแห่นางแมวขอฝน : play-ville.com, esanindy.com Read more →
ช่วงเวลาที่จัดงานประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ วันที่ ๔ ธันวาคม ของทุกปี ณ หมู่บ้านหนองพังนาค ตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ชาวบ้านจะทำพิธีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธจนเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ความสำคัญของประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ ตามประวัติสมัยพุทธกาล เชื่อว่านางสุชาดา ได้นำข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธถวายพระพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ดังนั้นชาวพุทธจึงถือว่าข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธเป็นอาหารทิพย์ และได้ทำถวายแด่พระสงฆ์ในฤดูก่อนเดือนสิบสอง พิธีกรรมของประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ เนื่องจากวัสดุที่สำคัญในการทำข้าวทิพย์ คือน้ำข้าวจากต้นข้าวที่กำลังเป็นน้ำนม ใน ประเทศไทยเชื่อกันว่ามีหลายจังหวัดที่ทำสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานานถึง ปัจจุบัน แต่สำหรับจังหวัดชัยนาทมีทำกันตลอดที่ตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ทำกันแทบทุกหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันทำกันตลอดมาทุกปีจนถือเป็นประเพณีที่หมู่บ้านหนองพังนาค สาระของประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ ประเพณีกวนข้าวทิพย์ เป็นประเพณีที่สร้างความสามัคคีในกลุ่มชนในอันที่จะร่วมกันนำเอาวัสดุข้าว ของต่าง ๆ มาร่วมทำบุญ เมื่อเสร็จและถวายเป็นพุทธบูชาก็แบ่งปันกันไปรับประทานเพื่อความเป็นสิริ มงคล ที่มาประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ : ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/ Read more →
ความสำคัญของประเพณีงานปอย หมายถึงงานฉลอง งานสมโภชรื่นเริง แบ่งได้ ๔ ประเภท คือ ๑. งานปอยหน้อย ๒. งานปอยหลวง ๓. งานปอยข้าวสังข์ ๔. งานปอยล้อ สาระของประเพณีงานปอย งานปอยหน้อย หมายถึงปอยบวชและปอยเป็ก ที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะเป็นงานรื่นเริงส่วนบุคคลระหว่างพ่อแม่ของนาคญาติและ มิตรใกล้เคียงเท่านั้น เป็นการฉลองไม่ใหญ่โต จึงเรียกว่า ปอยหน้อย หมายถึงปอยหรืองานเล็ก ๆ งานปอยหลวง หมายถึงงานสมโภชใหญ่ ได้แก่การฉลองถาวรวัตถุประจำหมู่บ้าน เช่น โบสถ์ วิหาร กุฏิสงฆ์ เจดีย์เป็นต้น เป็นงานมหกรรมที่ใช้เวลาหลายวัน มีประชาชนและหัววัดต่าง ๆ (มาจากวัดอื่น ๆ) มาร่วมเป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่า ปอยหลวง หมายถึงปอยหรืองานใหญ่ งานปอยข้าวสังข์ หมายถึงงานอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ลูกหลาน ญาติ พี่น้อง จะจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้อาหาร เพื่อจะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว จะมีการนิมนต์พระสงฆ์ มารับเครื่องไทยทานในตอนเช้าหรือเพลก็ได้ งานนี้อาจจะมีมหรสพการละเล่น มาในงานทำให้เกิดความสนุกเพลิดเพลินได้ งานปอยล้อ หมายถึง งานศพพระสงฆ์ที่เป็นพระเถระผู้ใหญ่เป็นที่เคารพสักการะ หรือเป็นเจ้าบ้าน เจ้านคร เมื่อตายลงประชาชนญาติมิตรจะจัดงานศพให้ใหญ่โต จัดทำปราสาทใส่ศพเป็นยอดจตุรมุขสวยงามมาก ศพผู้ตายที่ได้ใส่ปราสาทถือว่าเป็นเกียรติยศอย่างยิ่ง ที่มาประเพณีไทย ประเพณีงานปอย : ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com/ Read more →
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานของไทย ให้ความหมาย “ฝัน” ว่า เป็นการนึกเห็นเป็นเรื่องราวเมื่อเวลาหลับ พระนันทาจาริย์ ผู้แต่งคัมภีร์สารัตถะสังคหะ และปราชญ์องค์หนึ่งในพระพุทธศาสนา ได้ระบุมูลเหตุของความฝันไว้เป็นข้อคิดทั้งหมด 4 ประการ ดังต่อไปนี้ 1. ความฝันเกิดจากธาตุกำเริบ กล่าวคือร่างกายไม่ปกติครั้นหลับหลับลงจึงฝันไปในรูปแบบต่างๆ 2. ความฝันเกิดจากดวงจิตที่ฝังพะวง หรือพัวพันอยู่กับสิ่งหนึ่งก่อนหน้าจะหลับจึงเก็บเอาสิ่งนั้นมาฝัน 3. เกิดจากอิทธิฤทธิ์ของเทวดา เพราะเทวดาต้องการการให้โทษหรือให้คุณ ฝันโดยเป็นบุรพนิมิต คือบอกให้รู้ล่วงหน้าว่าจะมีเหตุดีหรือร้ายอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้น เซนจูรี่ ดิคชันนารี ของอังกฤษอธิบายว่า ฝัน (Dream) คือความรู้สึกอย่างรางๆ ถึงภาพและความคิดทั้งหลายบางส่วนในเวลานอนหลับ ลารูสส์ ดิคชันนารี ของฝรั่งเศสอธิบายว่า “ฝัน” คือหมวดหมู่ของความคิดและภาพทั้งหลาย ที่ปรากฏแก่วิญญาณในขณะนอนหลับ ความฝันมีอยู่เสมอตั้งแต่เราตั้งต้นหลับจนกระทั่งตื่น แต่บางคืนที่เรารู้สึกว่าไม่ได้ฝันนั้นแท้จริงแล้วเราฝันเหมือนกัน แต่เราจำไม่ได้ คัมภีร์สารัตถะสังคหะ ของพระนันทาจาริย์ อธิบายว่า “พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าคนที่ฝันร้าย คือฝันเห็นสิ่งน่ากลัว น่าหวาดเสียวนั้น เป็นเพราะเหตุที่ไม่ได้สติสัมปะชัญญะในเวลานอนหลับ แต่ผู้มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลาแม้กระทั้งหลับแล้ว ก็จะฝันเห็นแต่สิ่งที่ดีเสมอ ไม่ฝันถึงสิ่งชั่วร้ายหรือน่าหวาดกลัวเลย” พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ผู้ประพันธ์เรื่องความฝัน แปลข้อคิดในการทำนายฝันของต่างประเทศซึ่งเขียนโดยท่านผู้หญิงเดอซีเร มีหลักเกณฑ์การทำนายฝันที่น่าคิดและน่าสนใจว่า จะต้องระวัง เรื่องที่จะไม่ให้เอาความฝันอันเกิดจากร่างกายไม่ปกติหรือหัวใจที่พัวพัน อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นมาเป็นความฝันที่เป็นบุรพนิมิต คือบอกเหตุการณ์ล่วงหน้า โดยความฝันที่ถือว่า บุรพนิมิต คือความฝันที่มีขึ้นตั้งแต่เที่ยงคืนถึงย่ำรุ่งเท่านั้น ความฝันเป็นเรื่องที่นักปราชญ์หลายๆ ชาติได้ให้ข้อคิดเอาไว้มากมาย แต่ก็ไม่มีใครลงความเห็นว่า ความฝันเป็นเรื่องที่ไร้สาระและเชื่อถือไม่ได้เลยก็หาไม่ ในคัมภีร์หรือตำราทางศสนาโดยอ้างอิงถึง “พระมหาสุบินของพระพุทธเจ้า” ก็มีโหรหลวงคอยทำหน้าที่ถวายคำทำนายพระสุบินพระองค์ท่าน รวมทั้งพระมหากษัตริ์ไทยทุกพระองค์ก็มีโหรหลวงคอยทำหน้าที่ถวายคำทำนายพระ สุบินมาตั้งแต่โบราณ (พินิจ จันทร และคณะ, 2552, หน้า 71-73) นิมิตแห่งความฝัน วันอาทิตย์ ได้แก่ ญาติผู้ใหญ่ หรือเพื่อนฝูงทั่วไป วันจันทร์ ได้แก่ ญาติสนิทและเพื่อนที่สนิทสนม วันอังคาร ได้แก่ บิดามารดา หรือญาติผู้ใหญ่ในบ้าน วันพุธ ได้แก่ สามีภรรยาหรือบุตรหลานในบ้าน วันพฤหัสบดี ได้แก่ ครูบาอาจารย์หรือผู้บังคับบัญชา วันศุกร์ ได้แก่ คนในบ้าน หรือสัตว์เลี้ยง วันเสาร์ […] Read more →
ปากน้ำประแส เป็นเมืองที่ติดชายทะเลแห่งหนึ่งของจังหวัดระยอง ที่มีประเพณีการทอดผ้าป่าที่แปลกกว่าที่อื่น ๆ คือ ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำ สืบเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพประมง ต้องใช้ชีวิตอยู่ในเรือตลอด เรือจึงเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองของพวกเขา ชาวประมงเวลาอยากทำบุญบ้าน (เรือ) ให้เป็นสิริมงคล จึงได้มีการจัดทำบุญทอดผ้าป่าขึ้นในเรือ ซึ่งเป็นประเพณีที่มีมานานกว่า ๑๐๐ ปี จากการสอบถามบุคคลเก่าของชุมชนปากน้ำประแส เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔ คือ คุณแม่มณี หวานเสนาะ เกิดปี พ.ศ.๒๔๓๗ และคุณแม่พวง บุญช่วยรอด เกิดปี พ.ศ.๒๔๔๔ เดิมชาวประแสที่ปลูกบ้านเรือนอยู่ชายหาด ชายคลองแม่น้ำประแส ตั้งอยู่ห่าง ๆ กัน ไม่หนาแน่นนัก มีอาชีพหาปลาโดยวิธีตกเบ็ด ยกยอ ทอดแห ดักรอก ฯลฯ ใช้พาหนะเรือแจวบ้าง เรือพายบ้าง ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธมาแต่บรรพบุรุษ เมื่อมีเงินมีทองก็คิดจะทำบุญ ซึ่งชาวประแสจะมีประเพณีอยู่อย่างหนึ่ง เวลาบ้านใดทำบุญบ้าน งานแต่งงาน ต้องมีการทอดผ้าป่าด้วย ผู้ที่ปลูกบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำลำคลองถ้าจะทำบุญทอดผ้าป่าส่วนมากต้อง อาศัยเรือตัดไม้มาทำพุ่มผ้าป่า ใช้ไม้ไผ่ปักไว้ด้านหัวเรือ-ท้ายเรือ แล้วนิมนต์พระไปสวดมนต์ที่บ้าน เวลาขากลับนิมนต์ชักผ้าป่าในเรือ แต่บางแห่งชักผ้าป่าก่อนสวดมนต์ก็มี แต่บางแห่งถึงบ้านชักผ้าป่าก่อนก็มี แต่การจัดทำบุญทุกครั้งคราว เข้าใจว่า ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่เกิดของ ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำ ของชาวประแส ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำ ถือเป็น ประเพณีไทย ที่ ได้สืบทอดมาระยะยาวนานแต่ได้มีการหยุดการจัดไประยะหนึ่งเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔ เนื่องจากเกิดสงครามอินโดจีน แล้วนำมาเริ่มจัดใหม่ในปี พ.ศ.๒๔๘๗ ในช่วงแรก ๆ จะทำพุ่มผ้าป่าไว้บนเรือแล้วนิมนต์พระภิกษุไปชักพุ่มผ้าป่าบนเรือ ต่อมาคณะกรรมการฯ เห็นว่าเป็นการสร้างความลำบากให้กับพระภิกษุ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงการทำพิธีชักผ้าป่า โดยให้ชาวประมงมาจัดพุ่มผ้าป่าไว้ตามบ้านแล้วพระภิกษุจับสลากหมายเลขพุ่ม ผ้าป่า และในปัจจุบันได้มีการวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการทำแพผ้าป่าไว้กลางแม่น้ำประแส พร้อมนิมนต์พระทำพิธีทอดผ้าป่าบนแพ ส่วนพุ่มผ้าป่าตามบ้านเรือนประชาชนก็คงไว้เหมือนเดิม พระภิกษุจะจับสลากหมายเลขพุ่ม แล้วเดินชักพุ่มผ้าป่าตามหมายเลขที่จับได้ และมีการจัดงานมหรสพประมาณ ๓-๔ วัน จัดขึ้นทุกปี วันทอดผ้าป่ากลางน้ำ จะตรงกับวันเพ็ญ เดือนสิบสอง ส่วนวันอื่น ๆ แล้วแต่คณะกรรมการจัดงานจะกำหนดกันในแต่ละปี นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการแข่งเรือพาย การดำน้ำ ว่ายน้ำ มวยทะเล ประกวดเรือ ประกวดร้องเพลง จัดดนตรีชมงาน […] Read more →
ประเพณีบุญข้าวจี่ ปิดทองบวงสรวงหลวงพ่อพระไชยเชษฐา นับว่าเป็นประเพณีไทยเก่า แก่อีกอย่างหนึ่งของชาวบ้านในพื้นที่ของอำเภอสุวรรณ คูหา ซึ่งได้จัดขึ้นที่บริเวณ วัดถ้ำสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู ถือเป็นงานประเพณีที่สำคัญของชาวอำเภอสุวรรณคูหา จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เพื่อเป็นการสักการะบวงสรวง สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างในอดีต ซึ่งเล่าขานสืบต่อกันมาว่า เป็นผู้บุกเบิกก่อตั้ง วัดถ้ำสุวรรณคูหาแห่งนี้ และสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นประจำวัด ปางมุจรินทร์ หรือปางนาคปรก หรือรู้จักกันโดยทั่วไปในนาม “หลวงพ่อพระไชยเชษฐา” ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ที่ชาวอำเภอสุวรรณคูหาให้ความเคารพนับถือมาตั้งแต่สมัยโบราณ การจัดงานในปีนี้ นอกจากเพื่อเป็นการสืบสานประเพณีไทยและ วัฒนธรรมอันดีงานของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไปแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และยกระดับสถานที่ท่องเที่ยว วัดถ้ำสุวรรณคูหา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงพุทธ เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอื่นๆของอำเภอสุวรรณคูหา สำหรับข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุขแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนโตประมาณเท่าไข่เป็ดขนาดใหญ่หรือ ผลมะตูมขนาดกลาง ปั้นให้แน่นแล้วทาเกลือให้ทั่วเสียบใส่ไม้ย่างไฟหรือจะย่างบนตะแกรงเหล็กก็ ได้ด้วยถ่านไฟพลิกไปมาให้สุกเหลืองพอดีจนทั่วจึงเอาออกมาทาด้วยไข่ ซึ่งไข่นั้นจะต้องตีให้ไข่ขาวและไข่แดงเข้ากันดีแล้วทาจนทั่วปั่นข้าวเอาไป ย่างไฟให้สุกอีกทีหนึ่ง บางแห่งนิยมใส่น้ำอ้อยด้วย ดังคำโบราณที่ว่า “ เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั่นข้าวจี่ ข้าวจี่บ่มีน้ำอ้อยจัวน้อยเช็ดน้ำตา ” ที่มาประเพณีไทย ประเพณีบุญข้าวจี่ : baanjomyut.com Read more →