ในการดำเนินธุรกิจนั้น เรื่องของการดูแลสุขภาพทางการเงินของบริษัทคุณเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้นๆ ที่คุณต้องเอาใจใส่ดูแล เนื่องจากเงินถือเป็นสิ่งจำเป็นในการบริหารบริษัทให้สามารถคงสถานะอยู่รอด ต่อไปได้ ทั้งในเรื่องของการจ่ายค่าสาธารณูปโภค ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ค่าระบบอินเทอร์เน็ตภายในสำนักงานออฟฟิศ จ่ายเป็นค่าเงินเดือนของพนักงาน ใช้ซื้อเครื่องมือและเครื่องจักรที่ทันสมัยมาช่วยในการผลิต ใช้เพื่อเพิ่มการลงทุนต่อยอดให้กับธุรกิจของทางบริษัท เช่น การเพิ่มสาขา การลงทุนขยายกิจการให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นในสาขาอื่นๆ
จากที่กล่าวมาเงินจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่ที่มีความสำคัญยิ่งกว่า คือ วิธีการหาเงินมาให้กับทางบริษัท เพราะนอกจากรายได้ของทางบริษัทที่ได้มาในรูปของกำไรจากผลการดำเนินงานแล้ว บางสถานการณ์ในอนาคตความไม่แน่นอนที่บริษัทอาจจะต้องพบเจอในเรื่องความต้อง การใช้เงิน ผลกำไรอาจจะไม่มีเพียงพอที่จะสนองกับความต้องการในเวลาสถานการณ์ดังกล่าวได้ ทันท่วงที อาทิ การลงทุนขยายกิจการเปิดโรงงานเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแห่งและซื้อเครื่องจักรใหม่ เข้ามาเสริม เกิดมีความจำเป็นขึ้นมาในช่วงเวลานั้นโดยทันที ถ้าไม่ดำเนินการทำอาจจะสูญเสียส่วนแบ่งในการตลาดได้ การมองหาเงินทุนสำรองที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ เหมาะสมที่สุด โดยแหล่งเงินทุนมีอยู่มากมาย แต่ที่เรากำลังจะพูดถึง คือ การกู้เงินจากทางธนาคารและสถาบันการเงิน
การกู้เงินจากธนาคารเป็นสิ่งที่เราสามารถพบเห็นได้อยู่บ่อยครั้งและมาก ที่สุดในวงจรธุรกิจ เพราะสามารถทำได้อย่างทันที เวลาที่ธุรกิจเกิดการขาดสภาพคล่อง หรือต้องการเงินทุนเพื่อนำไปลงทุนขยายกิจการ แต่การได้มาซึ่งคำสั่งอนุมัติให้กู้เงินตามที่เราต้องการจากธนาคารนั้นดูจะ เป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่า เพราะต้องอาศัยปัจจัยในหลายอย่างเข้ามาประกอบในการจะได้รับอนุมัติหรือถูก ปฏิเสธ ดังนั้นเราจึงมีวิธีการที่จะช่วยเตรียมความพร้อมให้กับบริษัทของคุณให้ สามารถได้รับอนุมัติได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้นมานำเสนอดังต่อไปนี้
1. การเขียนแผนหรือเป้าหมายของโครงการที่ชัดเจน
ส่วนนี้ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดอันดับแรก เพราะทางธนาคารจะเริ่มพิจารณาดูจากตรงส่วนนี้ก่อนว่าผู้ประกอบการต้องการ เงินกู้ไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แผนการดำเนินธุรกิจของทางบริษัทเป็นอย่างไร ดำเนินธุรกิจในด้านไหน แนวโน้มทางการตลาดเป็นอย่างไร ที่ได้ผลดีที่สุดต้องมีในส่วนของเรื่องการทำการวิจัยในด้านต่างๆ ใส่ควบคู่ลงไปด้วย เพราะจะสามารถนำมาวิเคราะห์ประกอบได้ อีกทั้งระยะเวลาในการดำเนินโครงการตามแผน รายรับหรือกำไรที่คาดว่าจะได้จากแผนงาน ระยะเวลาที่จะชำระคืนเงิน ซึ่งความชัดเจนของสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยทำให้มีโอกาสได้เงินกู้มากขึ้น
2. กระแสเงินสดของโครงการที่ชัดเจนที่จะนำมาใช้คืนเงินกู้
กระแสเงินสดของโครงการนั้นเป็นหน้าที่ของทางบริษัทที่จะต้องแสดงให้ ธนาคารเห็นว่า โครงการที่นำเสนอไปดังกล่าวนั้น มีประโยชน์และความคุ้มค่าและน่าลงทุน ที่สำคัญควรชี้แจงด้วยว่าทางบริษัทสามารถหากระแสเงินสดที่ได้จากการลงทุนใน โครงการนี้มาชำระหนี้ให้กับธนาคารได้เป็นจำนวนเท่าไหร่ และใช้เวลาในการผ่อนชำระหนี้ที่กู้ยืมมาจากธนาคารเป็นเวลากี่ปี โดยเราขอแนะนำว่าถ้าจะให้ได้ผลมากกว่า 75% ระยะเวลาของการชำระหนี้คืนควรอยู่ที่ 6 – 12 ปี และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ควรเพิ่มเติมในส่วนของโครงสร้างรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ว่าเดินทางหรือกระจายไปอยู่ยังจุดไหนของบริษัทบ้าง โดยควรบอกแหล่งที่มาที่ไปให้ชัดเจนมากที่สุด
3. กระแสเงินสดของบริษัท
กระแสเงินสดของทางบริษัทที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันโดยจะไม่นับรวมในส่วน ของที่ได้มีการเสนอกู้ลงทุนเพิ่มในโครงการอนาคต ว่ากระแสเงินสดในปัจจุบันเป็นอย่างไร ใช้จ่ายไปในส่วนของอะไรบ้าง มีเงินหมุนเวียนเป็นจำนวนเท่าไหร่ สภาพคล่องทางการเงินเป็นอย่างไร เป็นต้น
4. การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่ชัดเจน
ในส่วนของบัญชีรายรับ – รายจ่าย ควรจะมีการจดบันทึกอย่างระเอียดที่สุดว่ามีเป็นจำนวนเท่าไหร่ รายรับที่ได้มานั้นมาจากแหล่งใดบ้าง เข้ามาเป็นจำนวนเท่าไหร่ รายจ่ายที่ต้องจ่ายออกไปนั้นเดินทางไปที่จุดไหน อย่างไร เท่าไหร่ เพราะนอกจากจะมีประโยชน์ต่อทางธนาคารแล้วยังมีประโยชน์กับตัวของบริษัทคุณ เองด้วย
5. ทรัพย์สินที่จะใช้เป็นหลักประกัน
มูลค่าของทรัพย์สินที่จะนำมาใช้เป็นหลักประกันถือได้ว่าเป็นหลักเกณฑ์ที่ สำคัญมากที่สุดหลักเกณฑ์หนึ่งเลยทีเดียว เพราะทรัพย์สินจะสามารถกำหนดวงเงินกู้สูงสุดที่จะอนุมัติให้กับโครงการที่นำ มาเสนอขอกู้ได้ โดยหลักทรัพย์นี้จะมาทำหน้าที่ในการค้ำประกันเงินกู้ที่ทางธนาคารอนุมัติให้ กับบริษัทของคุณ
โดยทรัพย์สินสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
- อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น บ้าน ตึก อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม โรงงาน คลังสินค้า เป็นต้น
- สังหาริมทรัพย์ ได้แก่ รถยนต์ เครื่องจักร วัตถุดิบ สินค้าคงคลัง เป็นต้น
- สินทรัพย์อื่นใด ได้แก่ ตราสารทางการเงิน ใบถือหุ้น สมุดบัญชี เงินสด ทองคำ หรือที่นอกเหนือจาก 2 ประเภทก่อนหน้านี้
6. ประวัติการชำระหนี้
ระบบเครดิตบูโร (Credit Bureau) และ บัญชีดำหรือแบล็กลิสต์ (Blacklist) ถูกนำมาใช้เพื่อจดจำและทำการบันทึกสร้างประวัติของบริษัทหรือบุคคลที่มี ปัญหาในการชำระหนี้ ซึ่งหากบุคคลใดมีรายชื่อปรากฏอยู่ในบัญชีดังกล่าว บุคคลนั้นจะไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ ซึ่งทางที่ดีที่สุดคุณควรจัดระบบโครงสร้างในบริษัทให้ดีเสียก่อนที่จะยื่นขอ กู้ ตรวจสอบดูเสียก่อนว่าหุ้นส่วน ผู้บริหาร หรือกรรมการบริษัทมีใครมีชื่อติดอยู่ในบัญชีดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามาตรวจสอบพบในภายหลังว่ามี ควรรีบทำการตัดชื่อเขาออกโดยทันที มิเช่นนั้นเราขอรับรองไว้ในที่นี้แทนธนาคารเลยว่าการกู้เงินของคุณจะถูก ปฏิเสธกลับมาแน่นอน
7. สัดส่วนการลงทุนร่วมของเจ้าของ
ในข้อนี้จะเป็นการมองในส่วนของการร่วมลงทุนในโครงการของคุณผู้เป็นเจ้า ของบริษัท หรือหุ้นส่วนในรายอื่นๆ เพราะถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการช่วยพิจารณาถึงความเสี่ยงของบริษัทที่ขอ กู้ ว่าจะเกิดมีปัญหาการขาดสภาพคล่องตามมาในอนาคตที่มาจากสาเหตุการบริหารจัดการ เงินทุนจากหนี้สินที่มีมากเกินไป
โดยหลักเกณฑ์ทั่วไปจะพิจารณาจากอัตราส่วนหนี้สินรวมของบริษัท(D) ต่อส่วนของผู้ถือหุ้น(E) หรือที่เรียกว่าอัตราส่วน D/E (D/E Ratio) ซึ่งไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนว่าควรจะมีอัตราส่วนอยู่ที่เท่าไหร่ ถึงจะได้รับการอนุมัติเงินกู้ ทำให้สามารถผ่อนผันและยืดหยุ่นได้มาก แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดเราขอแนะนำเป็นการเฉพาะว่า พยายามทำให้มีการลงทุนในส่วนของผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นให้มากที่สุด เอาไว้ก่อน เพื่อที่จะได้เป็นการรักษาระดับของ D/E ไม่ให้ต่ำไปกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม
โดยการคำนวณจะเป็นการคำนวณรวมของทั้งกิจการในบริษัทและต้องรวมจำนวนเงิน กู้ที่ได้ยื่นขอกู้ไปกับทางธนาคารด้วย ซึ่งเราจะขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้น เช่น บริษัทมีหนี้สินรวมทั้งหมด 10 ล้านบาท โดยมีส่วนของเจ้าของและผู้ถือหุ้นจำนวน 5 ล้านบาท มีความคิดที่จะลงทุนเพิ่มเติมในโครงการหนึ่งเพื่อต่อยอดทางธุรกิจโดยมี มูลค่าโครงการ 8 ล้านบาท โดยที่เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นจะออกเอง 2 ล้านบาท และจะยื่นขอกู้จากธนาคาร 6 ล้านบาท และเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นไปอีกเราจึงจะนำเสนอในรูปแบบของตารางดังต่อไปนี้
บริษัท(สัดส่วนเดิม) | การลงทุนที่เพิ่มเข้ามา | บริษัท(หลังกู้เงิน) | |
หนี้สิน (D) | 10 | 6 | 16 |
ส่วนของเจ้าของ/ผู้ถือหุ้น(E) | 5 | 2 | 7 |
อัตราส่วน D/E | 2/1 | 3/1 | 2.85/1 |
จากตัวอย่างในตาราง ตัวเลข D/E ที่จะนำมาใช้ในการพิจารณาคือ 2.85/1 เป็นตัวเลขที่บ่งบอกและสะท้อนในภาพรวมของบริษัทหลังจากได้รับอนุมัติเงินกู้ มาจากทางธนาคารแล้ว ส่วนตัวเลข 3/1 จะบอกในอัตราส่วนของการลงทุนส่วนที่เพิ่ม ซึ่งนอกจากนี้ในทางจิตวิทยา D/E ยังเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบของเจ้าของบริษัทและผู้ถือหุ้นที่มีต่อตัว บริษัทและโครงการ และยิ่งตัวเลขอัตราส่วนลดน้อยลงมากเท่าไหร่ธนาคารผู้ให้เงินกู้ก็จะมีความ มั่นใจมากขึ้นเท่านั้นว่า เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นมีความสามารถบวกกับความต้องการที่จะบริหารบริษัทและ โครงการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จและสามารถไปรอดได้ในที่สุด การให้เงินกู้ก็จะง่ายตามไปด้วย
จากที่ได้กล่าวมาถึงขั้นตอนและวิธีการทั้งหมดแล้วนั้น คงจะพอมองภาพออกว่าถ้าบริษัทของคุณมีการจัดการและการเตรียมการที่ดีมา ตั้งแต่ต้น การได้รับอนุมัติเงินกู้มาจากธนาคารก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องยากที่เกินความ สามารถแต่อย่างใด แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คือ การปฏิบัติตามแผนของโครงการที่ได้เขียนเอาไว้ รวมถึงการรักษาสัญญาที่ได้ให้ไว้กับทางธนาคาร เพราะถ้าบริษัทคุณไม่สามารถทำได้อย่างที่กล่าวเอาไว้จะมีผลกระทบที่รุนแรง มากกว่าเรื่องเงินที่ต้องชำระคืน สิ่งนั้นคือความเชื่อใจและเครดิตของทางบริษัทคุณที่จะหมดลงในทันที และไม่สามารถหาซื้อได้ที่ไหน หรือมีให้กู้กันโดยทั่วไปด้วย
http://incquity.com/articles/money-talk/get-your-loan-approved