ประเพณีวิ่งควาย บ้านบึง ชลบุรี ประเพณีไทย
ประเพณีวิ่งควาย เป็นงานประเพณีประจำจังหวัดชลบุรี เป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรีที่มีการจัดมากว่า 100 ปีแล้ว ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 หรือก่อนออกพรรษา 1 วัน เพื่อเป็นการทำขวัญควายและให้ควายได้พักผ่อนหลังจากตรากตรำกับการงานในท้อง นามายาวนาน นอกจากนี้ประเพณีวิ่งควายยังเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อควายที่เป็น สัตว์มีบุญคุณต่อชาวนาและคนไทยอีกทั้งยังเพื่อให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพักผ่อน มาพบปะสังสรรค์กันในงานวิ่งควาย
มีที่มาจากเหตุการณ์ที่ควายของชาวบ้านที่เลี้ยงไว้เพื่อประกอบอาชีพ เกษตรกรรมได้ล้มตายโดยไม่ทราบสาเหตุเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้น มีพระธุดงค์รูปหนึ่งเดินทางผ่านมาได้แนะนำให้ชาวบ้านจัดพิธีบูชาเทพเจ้า ประจำเมืองขึ้น ชาวบ้านจึงร่วมมือกันจัดพิธี ขอให้เทพเจ้าประจำเมืองช่วยให้ควายหายป่วย เมื่อควายหายป่วย ชาวบ้านจึงนำควายมาวิ่งเพื่อเป็นการแก้บน หลังจากสิ้นฤดูการเพาะปลูกเป็นประจำทุกปี
ประเพณีวิ่งควายยุคแรกเริ่มจัดขึ้นที่ วัดใหญ่อินทาราม จ.ชลบุรี ซึ่งเกิดจากการที่ชาวบ้านมาชุมนุมกันที่วัด และนำเครื่องกัณฑ์ใส่ควายเทียมเกวียนมาพักที่วัดเพื่อรอการติดกันเทศน์ ในเทศกาลเทศน์มหาชาติ
ระหว่างที่รอเจ้าของควายจะนำควายของตนไปอาบน้ำที่สระภายในวัด เมื่อต่างคนต่างก็พาควายไปอาบน้ำ จึงเกิดมีการแข่งขันประลองฝีเท้าควายขึ้นมา เพื่อความสนุกสนานและเพื่อทดสอบความแข็งแรงของควาย เกิดเป็นประเพณีวิ่งควายอันขึ้นชื่อของจังหวัดชลบุรีที่โด่งดังไปไกลถึงต่าง ประเทศ
การแข่งขันวิ่งควายในระยะแรกเป็นเพียงการบังคับให้ควายขณะวิ่งในระยะที่ กำหนด โดยคนขี่ห้ามตกจากหลังควาย ก่อนที่จะพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นการวิ่งควายในปัจจุบันที่มีการตกแต่ง ควายอย่างสวยงาม อาทิ การแต่งตัวควายด้วยผ้าหลากสีสัน หรือไม่ก็ตกแต่งด้วยเครื่องประดับมากมาย และมีอยู่ ครั้งหนึ่ง ได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับชาวชลบุรีว่า ในปีหนึ่งชาวชลบุรีไม่ได้จัดงานวิ่งควายบ้านของชาวบ้านได้เกิดไฟไหม้ และชาวบ้านได้ฝันว่า มีเทพ องค์หนึ่ง ได้บอกกับชาวบ้านว่าถ้าไม่จัดอีกจะมีการเกิดไฟไหม้ขึ้นอีก
ทุกๆปีพอ ถึงช่วงใกล้วันออกพรรษา จังหวัดชลบุรีจะจัดงานประเพณีวิ่งควายขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรีที่มีการจัดมากว่า 100 ปีแล้ว
ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 หรือก่อนออกพรรษา 1 วัน เพื่อเป็นการทำขวัญควายและให้ควายได้พักผ่อนหลังจากตรากตรำกับการงานในท้อง นามายาวนาน
ว่ากันว่าถ้าปีใดไม่มีการวิ่งควาย ปีนั้นวัวควายจะเป็นโรคระบาดล้มตายเป็นจำนวนมาก หรือถ้าถ้าควายของใครเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา เจ้าของควายมักจะนำควายของตนไปบนกับเทพารักษ์ โดยเมื่อหายเป็นปกติแล้วจะต้องนำควายมาวิ่งแก้บน
นอกจากนี้ประเพณีวิ่งควายยังเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อควายที่เป็น สัตว์มีบุญคุณต่อชาวนาและคนไทยอีกทั้งยังเพื่อให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพักผ่อน มาพบปะสังสรรค์กันในงานวิ่งควาย
ประเพณีวิ่งควายยุคแรกเริ่มจัดขึ้นที่ วัดใหญ่อินทาราม จ.ชลบุรี ซึ่งเกิดจากการที่ชาวบ้านมาชุมนุมกันที่วัด และนำเครื่องกัณฑ์ใส่ควายเทียมเกวียนมาพักที่วัดเพื่อรอการติดกันเทศน์ ในเทศกาลเทศน์มหาชาติ
ระหว่างที่รอเจ้าของควายจะนำควายของตนไปอาบน้ำที่สระภายในวัด เมื่อต่างคนต่างก็พาควายไปอาบน้ำ จึงเกิดมีการแข่งขันประลองฝีเท้าควายขึ้นมา เพื่อความสนุกสนานและเพื่อทดสอบความแข็งแรงของควาย เกิดเป็นประเพณีวิ่งควายอันขึ้นชื่อของจังหวัดชลบุรีที่โด่งดังไปไกลถึงต่าง ประเทศ
การแข่งขันวิ่งควายในระยะแรกเป็นเพียงการบังคับให้ควายขณะวิ่งในระยะที่ กำหนด โดยคนขี่ห้ามตกจากหลังควาย ก่อนที่จะพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นการวิ่งควายในปัจจุบันที่มีการตกแต่ง ควายอย่างสวยงาม อาทิ การแต่งตัวควายด้วยผ้าหลากสีสัน หรือไม่ก็ตกแต่งด้วยเครื่องประดับมากมาย
จากนั้นเจ้าของควายจะนำควายมาวิ่งแข่งกันโดยเจ้าของเป็นผู้บังคับขี่หลัง ควายไปด้วย ท่ามกลางกองเชียร์ที่คอยส่งเสียงเชียร์และลุ้นอย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะตอนที่คนขี่ตกหลังควายจะได้รับเสียงเฮมากเป็นพิเศษ
วีดีโองานประเพณีวิ่งควาย