สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ง-ฒ

สุภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย ง-ฒ

เงาตามตัว

ผู้ที่ไปไหนไปด้วยกันแทบไม่คลาดกันเละสิ่งที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงไปตามกันเงาคือสิ่งที่เกิดจากวัตถุทึบ ไปบังแสงทำให้มีรูปร่างตามวัตถุนั้นเงาจึงติดตามวัตถุนั้นไปตลอดหากมีแสงเกิดขึ้น เช่น “พอน้ำมันขึ้นราคา สินค้าอื่นๆก็ขึ้นราคาเป็นเงาตามตัว”

จับปลาสองมือ

หมายจะเอาให้ได้ทั้งสองอยาก, เสี่ยงการทำสองอย่าพร้อมๆกัน ซึ่งอาจไม่สำเร็จสักอย่าง ลำตัวปลาลื่นและปลามีความไว การจับปลาไม่ให้หลุดมือจึงต้องใช้ทั้งสองมือจับพร้อมๆกัน ถ้าใช้มือจับปลาข้างละตัวปลาจะหลุดจากมือจนไม่ได้ปลาสักตัว

จับปูใส่กระด้ง

ยากที่จะทำให้อยู่นิ่งๆได้เด็กโดยทั่วไปจะซุกซนไม่อยู่นิ่ง ไม่อยู่กับที่ การบังคับให้อยู่ในระเบียบวินัย จึงสิ่งที่ฝืนธรรมชาติของเด็กเหมือนกับปู ซึ่งจะเดินไต่ไปมา ถึงจะจับปูใส่ไว้ในกระด้ง ปูก็จะไต่ออกนอกกระด้ง

ช้าๆได้พร้าสองเล่มงาม

ค่อยๆคิดค่อยๆทำ จะได้ทำรอบคอบและผลงานสำเร็จด้วยดี หมายความถึงการนำเหล็กมาตีเป็นมีดพร้า หากไม่รีบร้อน ค่อยๆตี ก็จะได้มีดหรือพร้าที่งามได้รูปและคม สำนวนนี้บางครั้งใช้ว่า “ช้าๆได้พร้าเล่มงาม

ชี้โพรงให้กระรอก

แนะนำหรือบอกเป็นนัยให้ผู้อื่นต้องช่องทางผิด หรือเอาประโยชน์ไป เช่น “เธอจะไม่อยู่บ้าน 2-3 วัน ก็ไม่ต้องเที่ยวไปบอกใครเขาหรอกเดี๋ยวพวกมิจฉาชีพรู้เข้าเท่ากับเป็นการชี้โพงให้กระรอกที่เดียวนะ

ซื่อเป็นแมวนอนหวด

แกล้งทำเป็นซื่อ หวดคือพาชะนะอย่างหนึ่งสำหรับนึ่งของทำด้วยไม้ไผ่สาน แมวนอน หวด คือแมวที่นอนในหวดและทำตัวนิ่ง ๆ

ซื้อควายหน้านาซื้อผ้าหน้าตรุษ

ซื้อของไม่ถูกเวลาย่อมได้ของแพงทำอะไรไม่เหมาะสมกับเวลาย่อมเดือดร้อน บางสำนวนใช้ว่า ซื้อวัวหน้านาซื้อผ้าหน้าหนาว

เฒ่าหัวงู

คนแก่หรือคนที่มีอายุมากมีเล่ห์เหลี่ยมหรือกลอุบายหลอกเด็กผู้หญิงในทางกามารมณ์,คนแก่เจ้าเล่ห์ เฒ่าหมายถึงคนแก่,หัวงูคือส่วนที่มีพิษ เฒ่าหัวงูจึงหมายถึงคนแก่ที่สอนพิษร้ายไว้

 

สุภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย

สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ก-ฆ
สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ง-ฒ
สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ด-น
สำนวน สุภาษิต คำพังเพย บ-พ
สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ม-ล
สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ว-อ