ชะเอมไทย สมุนไพรไทย

ชะเอมไทย สมุนไพรไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia myriophylla Benth.
วงศ์ : Leguminosae – Mimosoideae
ชื่ออื่น : ชะเอมป่า (กลาง) ตาลอ้อย (ตราด) เพาะซูโพ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ย่านงาย (ตรัง) ส้มป่อยหวาน (ภาคเหนือ) อ้อยช้าง (สงขลา,นราธิวาส)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถารอเลื้อย ลำต้น กิ่งก้านมีหนามแหลมสั้น เปลือกต้นมีรอยแตกตามขวางลำต้น ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายใบรูปใบหอก โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด มีดอก 2 แบบ ดอกสีเหลืองอ่อน กลีบดอกเล็ก เกสรเพศผู้ยาว ผล เป็นฝักแบน ผิวเรียบ ฝักอ่อนสีเขียว พอแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกออก
ส่วนที่ใช้ : ราก เนื้อไม้

สรรพคุณ :
ราก – แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ใช้แทนชะเอมเทศ
เนื้อไม้ – บำรุงธาตุ แก้กระหายน้ำ แก้โรคในคอ
วิธีและปริมาณที่ใช้

แก้ไอขับเสมหะ

ใช้รากยาว 2-4 นิ้ว ต้มน้ำรับประทาน เช้า-เย็น ถ้าไม่ทุเทา รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน

สรรพคุณของชะเอมไทย

  1. สมุนไพรชะเอมไทย เนื้อไม้สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เนื้อไม้)
  2. ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
  3. ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อให้เจริญ (เนื้อไม้)
  4. ช่วยแก้โรคตา (ต้น)
  5. ช่วยแก้โลหิตอันเน่าในอุทร และช่วยเจริญซึ่งหทัยวาตให้สดชื่น (ราก)
  6. ชะเอม สรรพคุณของดอกแก้ดีและโลหิต (ดอก)
  7. ช่วยแก้กำเดาให้เป็นปกติ (ราก)
  8. เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่ม มีสรรพคุณทางยาช่วยแก้อาการไอ โดยใช้รากชะเอมไทยยาวประมาณ 2-4 นิ้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น หากอาการไม่ดีขึ้น ให้รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน (เปลือกต้น,ราก)
  9. ช่วยขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว (เนื้อไม้,ผล,ราก) ทำให้เสมหะงวด (ดอก) โดยใช้รากชะเอมไทยยาวประมาณ 2-4 นิ้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น หากอาการไม่ดีขึ้น ให้รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน[3]
  10. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ (ต้น,เนื้อไม้)
  11. เนื้อไม้ มีรสหวาน ช่วยรักษาโรคในลำคอ (เนื้อไม้)
  12. ช่วยทำให้ชุ่มคอ[1],[3] แก้อาการกระหายน้ำ (ราก, เนื้อไม้)
  13. ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (เนื้อไม้)
  14. สรรพคุณของชะเอม เนื้อไม้มีสรรพคุณช่วยแก้ลม (เนื้อไม้)[1],[4] ถ่ายลม (ต้น)
  15. ดอกมีรสขมร้อน ช่วยในการย่อยอาหาร (ดอก)
  16. สรรพคุณชะเอม รากใช้เป็นยาระบาย (ราก)
  17. ใบมีรสร้อนและเฝื่อน มีสรรพคุณช่วยขับโลหิตระดูของสตรี (ใบ)
  18. ลำต้นชะเอมไทยใช้เข้ากับเครือไส้ไก่ เครือตากวง และเครือหมาว้อ ใช้ต้มกับน้ำดื่ม มีสรรพคุณช่วยแก้โรคตับ (ต้น)
  19. ช่วยทำให้ผิวหนังสดชื่น (ต้น)
  20. ชะเอม ไทยจัดเป็นส่วนผสมในตำรับยา “พิกัดทศกุลาผล” ซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อดีและเสมหะ ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงปอด บำรุงกำลัง บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น ช่วยแก้ไข้ แก้รัตตะปิตตะโรค ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ลมอัมพฤกษ์และอัมพาต โดยเป็นตำรับยาที่มีการจำกัดจำนวนตัวยาในตระกูลเดียวกันทั้ง 10 อย่าง อันได้แก่ ชะเอมไทย, ชะเอมเทศ, ผักชีล้อม, ผักชี (ผักชีลา), อบเชยไทย, อบเชยเทศ, ลำพันขาว, ลำพันแดง, เร่วน้อย, เร่วใหญ่
  21. รากชะเอมไทย มีลักษณะคล้ายกับชะเอมเทศ สามารถนำรากชะเอมไทยมาใช้ปรุงเป็นยาแทนแทนชะเอมเทศได้ (ราก)