บุก สมุนไพรไทย

บุก สมุนไพรไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amorphophallus campanulatus Bl.ex Dence.(A.paeoniifolius (Dennst.) Nicolson
ชื่อสามัญ : Elephant yam, Stanley’s water-tub
วงศ์ : ARACEAE
ชื่ออื่น : บุกคุงคก (ชลบุรี) เบีย เบือ (แม่ฮ่องสอน) มันซูรัน (ภาคดลาง) หัวบุก (ปัตตานี) บุกคางคก (ภาคกลาง, เหนือ) บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน ลำต้นอวบ สีเขียวเข้ม ตามต้นมีรอยด่างเป็นดวงๆ เขียวสลับขาว ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว แตกใบที่ยอด กลุ่มใบแผ่เป็นแผงคล้ายร่มกาง ก้านใบต่อเนื่องกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 – 7 ใบ รูปใบยาวปลายใบแหลม ขนาดใบยาว 12 – 15 ซม. สำต้นสูง 1 – 2 เมตร ดอกบุกเป็นสีเหลือง บานในตอนเย็นมีกลิ่นเหม็น คล้ายหน้าวัว ประกอบด้วยปลี และจานรองดอก จานรองดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 – 15 ซม. เกสรตัวผู้และตัวเมียรวมอยู่ในดอกเดียวกัน แต่แยกกันอยู่คนละชั้น เมื่อบานจานรองดอกจะโรย เหลืออยู่แต่ปลีดอก ซึ่งจะกลายเป็นผล ก่อนออกดอกต้นจะตายเหลือแต่หัว ซึ่งเป็นก้อนกลมสีขาว ขนาด 6 – 10 ซม. เจริญเติบโตอยู่ใต้ดิน

ส่วนที่ใช้ : เนื้อจากลำต้นใต้ดิน หัว

สรรพคุณ : หัวบุกมีสารสำคัญ คือกลูโคแมนแนน เป็นสารประเภท คาร์โบไฮเดรท ซึ่งประกอบด้วย กลูโคลส แมนโนส และฟลุคโตส กลูโคแมนแนน สามารถลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ ก็เนื่องจากความเหนี่ยว ซึ่งยับยั้งการดูดซึมของกลูโคลสจากทางเดินอาหาร ยิ่งหนืดมาก็ยิ่งมีผลลดการดูดซึมกลูโคลส ดังนั้น กลูโคแมนแนน ซึ่งเหนียวกว่า gua gum จึงลดน้ำตาลได้ดีกว่า จึงใช้แป้งเป็นวุ้นเป็นอาหารสำหรับผู้ป่ายโรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคมีไขมันในเลือดสูง

วิธีและปริมาณที่ใช้

แยกเป็นแป้งส่วนที่เป็นเนื้อทราย แล้งชงน้ำดื่ม
ใช้แป้ง 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 แก้ว ชงดื่มวันละ 2-3 มื้อ ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง

ใช้หัวหุงเป็นน้ำมัน ใส่บาดแผล กัด ฝ้าหนอง

สรรพคุณของบุก

  1. หัวบุกมีรสเผ็ด เป็นยาร้อน มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด (หัว)
  2. ใช้เป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง ด้วยการแยกแป้งจากส่วนที่เป็นเนื้อทราย แล้วชงกับน้ำดื่ม โดยให้ใช้แป้ง 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 แก้ว นำมาชงกับน้ำดื่มก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงวันละ 2-3 มื้อ
  3. หัวใช้เป็นยารักษาโรคมะเร็ง (หัว)
  4. ใช้เป็นยาแก้ไข้จับสั่น (หัว)
  5. ช่วยแก้อาการไอ (หัว)
  6. หัวใช้เป็นยากัดเสมหะ ละลายเสมหะ ช่วยกระจายเสมหะที่อุดตันบริเวณหลอดลม (หัว)
  7. หัวบุกมีรสเบื่อคัน ใช้เป็นยากัดเสมหะเถาดาน และเลือดจับกันเป็นก้อน (หัว)
  8. หัวนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้โรคท้องมาน (หัว)
  9. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ราก)
  10. ช่วยแก้ประจำเดือนไม่มาของสตรี (หัว)
  11. ช่วยขับระดูของสตรี (ราก)
  12. หัวนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้โรคตับ (หัว)
  13. ใช้แก้พิษงู (หัว)
  14. ใช้เป็นยาแก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (หัว) หัวใช้หุงเป็นน้ำมัน ใช้ใส่บาดแผล กัดฝ้าและกัดหนองได้ดี (หัว) บางข้อมูลระบุว่ารากใช้เป็นยาพอกฝีได้ (ราก)
  15. ใช้แก้ฝีหนองบวมอักเสบ (หัว)
  16. หัวใช้เป็นยาแก้ปวดบวม แก้ฟกช้ำดำเขียว (หัว)
  17. บุกเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณยิ่งกว่าไวอากร้า หรือเป็นยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ โดยคุณนิล ปักษา (บ้านหนองพลวง ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์) แนะนำให้ลองพิสูจน์ ด้วยการเอาไม้พาดปากหม้อแล้วนำสมุนไพรบุกคางคก เอาพวงเมล็ดนำมาย่างไฟให้หอมก่อน แล้วใช้ผูกกับไม้ห้อยจุ่มลงไปในหม้อต้มใส่น้ำพอท่วมเมล็ดบุก ต้มจนเมล็ดบุกร่วงลงหม้อ ตัวยาก็จะไหลลงมาด้วย เมื่อเดือดแล้วก็ให้เติมน้ำตาลทรายแดงพอประมาณลงไปต้มให้พอหวาน หลังจากนั้นลองชิมดู ถ้ายังมีอาการคันคออยู่ก็ให้เติมน้ำตาลเพิ่มแล้วค่อยชิมใหม่ ถ้าไม่มีอาการคันคอก็แสลงว่าใช้ได้ และให้นำสมุนไพรโด่ไม่รู้ล้มใส่เข้าไปด้วยประมาณ 1 กำมือ แล้วต้มให้เดือด ปล่อยให้เย็นและเก็บไว้ในตู้เย็น ใช้ดื่ม 1 เป็ก ประมาณ 30 นาที จะปวดปัสสาวะโดยธรรมชาติ หลังจากอาวุธนั้นจะพร้อมสู้ทันที (ผล)

หมาย เหตุ : สำหรับวิธีการใช้ให้แยกแป้งจากส่วนที่เป็นเนื้อทราย แล้วนำมาชงกับน้ำดื่ม ส่วนขนาดที่ใช้นั้นให้ใช้แป้ง 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 แก้ว ชงกับน้ำดื่มก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงวันละ 2-3 มื้อ[2] ส่วนการใช้ตาม [6] ให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม (เข้าใจว่าคือส่วนของหัว) นำมาต้มกับน้ำนาน 2 ชั่วโมง จึงสามารถนำมารับประทานได้ ถ้าเป็นยาสดให้ใช้ตำพอกหรือนำมาฝนกับน้ำส้มสายชู หรือต้มเอาน้ำใช้ชะล้างบริเวณที่เป็นแผล[6]

ส่วนที่เป็นพิษ เหง้าและก้านใบถ้าปรุงไม่ดี กินเข้าไปทำให้คันปากและลิ้นพอง
ที่มา: http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=87