ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drynaria quercifolia (L.) J.Sm.
วงศ์ : POLYPODIACEAE
ชื่ออื่น : กระแตไต่ไม้ (ภาคกลาง), กระปรอก (จันทบุรี), กระปรอกว่าว (ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี), กูดขาฮอก เช้าวะนะ พุดองแคะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เดาน์กาโละ (มลายู-ปัตตานี), ใบหูช้าง สไบนาง (กาญจนบุรี), สะโมง (ส่วย-สุรินทร์), หัวว่าว (ประจวบคีรีขันธ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์นอิงอาศัย เหง้าทอดยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-4 ซม. ยาวได้ถึง 1 ม. หรือมากกว่า มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดแคบ กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 1.8 ซม. ปลายเรียวยาว รากสั้นๆ มีรากขนอ่อนสีน้ำตาล ใบเดี่ยว มีรูปร่างและหน้าที่ต่างกัน 2 แบบ ใบไม่สร้างอับสปอร์เป็นรูปไข่ กว้าง 10-25 ซม. ยาว 15-35 ซม. ปลายแหลม โคนมน ขอบหยักเว้ามนตื้นๆ เข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน ปลายมน ไม่มีก้านใบ ใบชนิดนี้จะมีสีเขียวอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งแต่ยังคงติดอยู่กับต้น ดังนั้นจะเห็นซ้อนกันหลายใบ เป็นที่สะสมของใบไม้แห้งที่ตกลงมา ซึ่งจะกลายเป็นปุ๋ยให้ต้น ใบสร้างอับสปอร์กว้าง 20-35 ซม. ยาว 0.6-1 ม. รูปคล้ายใบประกอบแบบขนนก ขอบหยักเว้าลึกเข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน แต่ละหยักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ใบชนิดนี้มีสีเขียวตลอดอายุ เมื่อใบแก่แผ่นใบจะร่วงไป คงเหลือส่วนก้านใบและเส้นกลางใบติดอยู่กับต้น เส้นใบเป็นร่างแห กลุ่มอับสปอร์รูปกลมหรือรูปไข่ เรียงตัวค่อนข้างมีระเบียบ 2 ข้างของเส้นใบที่แบ่งกลางแต่ละแฉก
ส่วนที่ใช้ : ส่วนหัว
สรรพคุณ :
ส่วนหัวของกระแตไต่ไม้
– ปรุงเป็นยาต้มรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการและกระปริกระปรอย
– ขับระดูขาว
– แก้เบาหวาน
– แก้ไตพิการ
– เป็นยาคุมธาตุ
– เป็นยาเบื่อพยาธิ
ใบ – ตำพอกแผล แก้แผลเรื้อรังและแผลพุพอง
วิธีใช้ : ใช้ส่วนหัวของกระแตไต่ไม้ ต้มรับประทาน
สรรพคุณของกระแตไต่ไม้
- สมุนไพรไทยกระแตไต่ไม้ เหง้ามีรสจืดเบื่อ สรรพคุณเป็นยาช่วยสมานคุมธาตุ (เหง้า)
- ช่วยบำรุงโลหิต ด้วยการใช้เหง้าประมาณ 3-4 เหง้า ผสมกับตำลึงเอื้องเงิน 1 ต้น ใช้ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 2-3 ครั้ง (เหง้า)
- ช่วยให้โลหิตในร่างกายหมุนเวียน ช่วยขยายหลอดเลือด แก้อาการมือเท้าเย็น (เหง้า)
- เหง้าใช้ต้มกับน้ำดื่ม ช่วยรักษามะเร็งในปอด และช่วยรักษาปอดพิการ (เหง้า)
- สรรพคุณกระแตไต่ไม้ เหง้าช่วยแก้เบาหวาน (เหง้า)
- เหง้าใช้ผสมกับหัวยาข้าวเย็น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หอบหืด (เหง้า)
- ขนจากเหง้า นำมาบดให้ละเอียด แล้วใช้สูบแก้อาการหืด (ขนจากเหง้า)
- รากและแก่นนำมาต้มน้ำดื่มและนำมาใช้อาบ มีสรรพคุณช่วยแก้ซาง (ราก,แก่น)
- ใบใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ใช้ต้มกับน้ำอาบ แก้ไข้สูง (เหง้า)
- เหง้านำมาต้มกับน้ำดื่มหรือใช้ฝนกับน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการกระหายน้ำได้ (เหง้า)
- เหง้านำมากินสดๆ โดยใช้เนื้อสีขาว ที่เอาขนออกแล้ว นำมาฝานตากแดดแล้วนำมาบด มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดประดงเลือด (เหง้า)
- ช่วยแก้ริดสีดวงจมูก ด้วยการใช้เหง้านำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือนำมาใช้ฝนกับน้ำดื่ม (เหง้า)
- ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ใช้เป็นยาเบื่อพยาธิ ขับพยาธิ (เหง้า)
- ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ (อาการปัสสาวะปวด หรือกะปริบกะปรอย หรือเป็นขุ่นข้น มีสีเหลืองเข้ม หรือมีเลือด) (เหง้า)
- กระแตไต่ไม้ สรรพคุณของเหง้าช่วยแก้นิ่ว (เหง้า)
- ช่วยแก้ไตพิการ (อาการเกี่ยวกับโรคทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น สีเหลืองเข้มหรือแดง และมักมีอาการแน่นท้อง รับประทานอาหารไม่ได้) (เหง้า)
- สรรพคุณสมุนไพรกระแตไต่ไม้ เหง้าช่วยขับระดูขาวของสตรี (เหง้า)
- รากและแก่นใช้ต้มกับน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการประจำเดือนไหลไม่หยุดของสตรี (ราก,แก่น)
- ใบนำมาต้มน้ำดื่ม ช่วยรักษาอาการไม่สบาย มีอาการอ่อนเพลียของสตรีขณะอยู่ไฟในช่วงหลังคลอดบุตร (ใบ)
- เหง้านำมาพอกช่วยแก้อาการปวดบวม (เหง้า)
- ใบใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ต้มกับน้ำอาบช่วยแก้บวม (ใบ)
- ใบ้ใชตำพอกแผล ช่วยรักษาแผลเรื้อรังและแผลพุพอง (ใบ)
- ช่วยรักษาแผลพุพอง แผลเนื้อร้าย (เหง้า)
- ช่วยแก้แผลฝี หนอง (เหง้า)
- เหง้านำมาฝนใช้ทาแก้งูสวัด (เหง้า)
- ใช้เป็นยาห้ามเลือด (ไม่ระบุแน่ชัดว่าใช้ผสมกับสมุนไพรอื่น หรือใช้เพียงแต่เหง้าอย่างเดียว)
- เหง้าใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น นำมาต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการปวดเส้น (เหง้า)
- ใช้บำบัดอาการป่วยอันเนื่องมาจากกระดูกแตกและเส้นเอ็นฉีกขาด อาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว แก้ไขข้ออักเสบ อาการปวดหลัง ปวดเข่า ปวดข้อ โดยใช้ทั้งแบบเดี่ยวและนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น (ไม่ระบุว่าส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าเป็นเหง้า)