ผักคาวทอง สมุนไพรไทย

ผักคาวทอง สมุนไพรไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Houttuynia cordata Thunb.
วงศ์ : Saururaceae
ชื่ออื่น : คาวตอง(ลำปาง,อุดร) คาวทอง(มุกดาหาร,อุตรดิตถ์) ผักก้านตอง(แม่ฮ่องสอน) ผักเข้าตอง,ผักคาวตอง ผักคาวปลา(ภาคเหนือ) พลูคาว(ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 15-30 ซม. ลำต้นกลม สีเขียว รากแตกออกตามข้อ มีกลิ่นคาวทั้งต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 6-10 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบยาวและโคนเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็ฯช่อที่ปลายยอด มีใบประดับสีขาว 4 ใบ ที่โคนช่อดอก ปลายมน ดอกเล็กจำนวนมาก สีขาวยออกเหลือง ผล เป็นผลแห้ง แตกออกได้ เมล็ดรี
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น เก็บในฤดูร้อน และฤดูหนาว ถอนทั้งต้นและราก ล้างให้สะอาด ตากแห้งเก็บไว้ใช้ ช่อดอก ดอกย่อย ช่อดอกแก่ ผล เมล็ด

สรรพคุณผักคาวทอง :

ทั้งต้น – รสฉุน เย็นจัด ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ ฝีบวมอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ บิด โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หูชั้นกลางอักเสบ และริดสีดวงทวาร
พืชนี้ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้หายใจสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้

ต้นสด – ใช้ภายนอก พอกฝี บวมอักเสบ บาดแผล โรคผิวหนัง ดากออก งูพิษกัด และช่วยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น

ใบสด – ผิงไฟพอนิ่ม ใช้พอกเนื้องอกต่างๆ ใบสดใช้ป้องกันปลาเน่าเสีย ต้มน้ำรดต้นฝ้าย ข้าวสาลี และข้าว ป้องกันพืชเป็นโรคเหี่ยวเฉาตาย
พืชนี้ใช้รับประทานเป็นยาระบาย ขับพยาธิ แก้ไข้ อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย ออกหัด

ดอก – ใช้ขับทารกที่ตายในท้อง
– ใช้พืชนี้ต้มรับประทานติดต่อกันเป็นประจำ แก้โรคน้ำกัดเท้า อาจรับประทานน้ำต้มจากพืชอย่างเดียวหรือผสมวิตามินเอและวิตามินรวมด้วย ได้มีการขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์ตำรับยานี้
– นอกจากนี้มีผู้ขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์เครื่องสำอางโดยใช้น้ำมันจากผักคาวทองเป็นครีม ทาแก้ผิวหนังหยาบกร้าน และใช้ป้องกันผิวหนังแตกเป็นร่อง ได้ผล 65% จากผู้ทดลองใช้ 35 ราย เครื่องสำอางนี้ประกอบด้วย แอลกอฮอล์ 8% โปรโพลีนกลัยคอน 5% น้ำมันผักคาวทอง 10% กรดซีตริก 0.02% โซเดียมซีเตรท 0.2% เติมน้ำจนครบ 100%

วิธีและปริมาณที่ใช้ ผักคาวทอง:
ทั้งต้น แห้ง 15-30 กรัม (สด 30-60 กรัม) ต้มน้ำดื่ม ก่อนต้มให้แช่น้ำไว้สัก 1-3 นาที ต้มให้เดือดประมาณ 5 นาที (ถ้าใช้ร่วมกับยาอื่น ให้ต้มยาอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่ยานี้ต้มให้เดือด ดื่ม)
ใช้สด ตำคั้นเอาน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ต้มเอาน้ำชะล้างหรือตำพอก

ตำรับยาผักคาวทอง

  • วัณโรคปอด อาเจียนเป็นเลือดหรือมีหนองปน
    ใช้ต้นแห้ง รากเทียนฮวยฮุ่ง (Trichosanthes kirilowii Maxim) เจ็กแปะเฮี๊ยะ (Biota orientalis Endl.) แห้ง อย่างะ 15 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือ ใช้ต้นสด 30 กรัม คั้นเอาน้ำดื่มกับผักกาดดอง วันละ 2 ครั้ง
  • ปอดอักเสบ มีหนองในช่องปอด
    ใช้ต้นแห้ง 30 กรัม กิ๊กแก้ (Platycodon grandiflorum A.DC.) รากแห้ง 15 กรัม ต้มน้ำหรือบดเป็นผงผสมน้ำดื่ม
  • มะเร็งที่ปอด
    ใช้ต้นแห้ง 18 กรัม ตังขุ่ยจี้ (Malva verticillata L.) แห้ง 30 กรัม เหง้ายาหัว (Smilax glabra Roxb.) แห้ง 30 กรัม กะเม็งตัวเมีย (Eclipta prostrata L.) และ ปวงเทียงขิ่มเล้า (Cyathea spinulosa Wall.) ทั้งต้นแห้งอย่างละ 18 กรัม และชะเอม 5 กรัม ต้มน้ำดื่ม
  • เป็นหวัด หลอดลมอักเสบ
    ใช้ต้นแห้ง เปลือกต้นเถ่าป๊ก (Magnolia officinalis Rehd. et Wils.) แห้ง ผสมเหลี่ยงเคี้ยว (Forsythia suspensa Vahl.) แห้ง อย่างละ 10 กรัม บดเป็นผง และยอดต้นหม่อน (Morus alba L.) สด 30 กรัม ต้มเอาน้ำ ชงยาผงนี้ ดื่ม
  • เป็นโรคปอด ไอ มีเหงื่อออกมาก
    ใช้ต้นสด 60 กรัม ใส่ในกระเพาะอาหารหมู ตุ๋นรับประทาน วันละชุดติดต่อกัน 3 วัน
  • บิด
    ใช้ต้นสด 20 กรัม เถ้าจากผลซัวจา (Crataegus pinnatifida Bge. var. Major N.E.Br) 6 กรัม ต้มเอาน้ำ ผสมน้ำผึ้งดื่ม
  • หนองใน ตกขาวมากผิดปกติ
    ใช้ต้นสด 25-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม
  • ริดสีดวงทวาร
    ใช้ต้นสด ต้มน้ำดื่ม จิบตามด้วยเหล้าเล็กน้อย แล้วเอากากพอก ให้รับประทานยานี้ติดต่อกัน 3 วัน หัวริดสีดวงจะค่อยๆ ยุบไป
  • โพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง
    ใช้ต้นสด คั้นเอาน้ำหยอดจมูกวันละหลายๆ ครั้ง และใช้ต้นสด 21 กรัมต้มน้ำดื่มด้วย
  • ฝีบวมอักเสบ
    ใช้ต้นแห้ง บดเป็นผง ผสมน้ำผึ้งพอกฝีที่ยังไม่มีหนอง จะยุบหายไป ฝีที่มี่หนองก็จะเร่งให้หนองออกเร็วขึ้น
  • ฝีเนื้อร้าย (Furancle)
    ใช้ต้นสดตำพอก จะปวดอยู่ 1-2 ชั่วโมง อย่าเอายาออก พอกยา 1-2 วัน อาการอักเสบลดลงและค่อยๆ หายไป
  • ผื่นคันที่อวัยวะเพศ ฝีที่บริเวณก้น
    ใช้ต้นสดต้มเอาน้ำชะล้าง
  • งูพิษกัด
    ใช้ต้นสด ใบชุ่ยฉิ่วเฮี๊ยะ (Sophora japonica L.) สด เมล็ดชุมเห็ดไทย อย่างละเท่าๆ กัน ตำพอก
  • ผื่นคัน ใช้ต้นสด ตำพอก

สารเคมี :
ที่พบทั้งต้นที่ปลูกในญี่ปุ่นมีน้ำมันระเหย 0.0049% ประกอบด้วยสารมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อคือ Decanoylacetaldehyde และยังมี methyl – n – nonylketone, myrcene, lauric alldehyde, capric aldehyde, capric acid
ที่ปลูกในจีนมีน้ำมันระเหย ประกอบด้วย Decanoylacetaldehyde dodecanaldehlyde, 2-undecanone, caryophyllene α -pinene, camphene, myrcene, d-limonene, linalool และ bornyl acetate
นอกจากนี้ยังมี โปแตสเซียมคลอไรด์ โปแตสเซียมซัลเฟต และ cordarine
ดอกและใบ มีสารพวก flavone ประกอบด้วย Quercirin, Isoquercitrin, quercetin, reynoutrin และ hyperin
รากมีน้ำมันหอมระเหย ที่ประกอบด้วย decanoyl acetaldehyde.