ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia myriophylla Benth.
วงศ์ : Leguminosae – Mimosoideae
ชื่ออื่น : ชะเอมป่า (กลาง) ตาลอ้อย (ตราด) เพาะซูโพ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ย่านงาย (ตรัง) ส้มป่อยหวาน (ภาคเหนือ) อ้อยช้าง (สงขลา,นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถารอเลื้อย ลำต้น กิ่งก้านมีหนามแหลมสั้น เปลือกต้นมีรอยแตกตามขวางลำต้น ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายใบรูปใบหอก โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด มีดอก 2 แบบ ดอกสีเหลืองอ่อน กลีบดอกเล็ก เกสรเพศผู้ยาว ผล เป็นฝักแบน ผิวเรียบ ฝักอ่อนสีเขียว พอแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกออก
ส่วนที่ใช้ : ราก เนื้อไม้
สรรพคุณ :
ราก – แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ใช้แทนชะเอมเทศ
เนื้อไม้ – บำรุงธาตุ แก้กระหายน้ำ แก้โรคในคอ
วิธีและปริมาณที่ใช้
แก้ไอขับเสมหะ
ใช้รากยาว 2-4 นิ้ว ต้มน้ำรับประทาน เช้า-เย็น ถ้าไม่ทุเทา รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน
สรรพคุณของชะเอมไทย
- สมุนไพรชะเอมไทย เนื้อไม้สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เนื้อไม้)
- ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
- ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อให้เจริญ (เนื้อไม้)
- ช่วยแก้โรคตา (ต้น)
- ช่วยแก้โลหิตอันเน่าในอุทร และช่วยเจริญซึ่งหทัยวาตให้สดชื่น (ราก)
- ชะเอม สรรพคุณของดอกแก้ดีและโลหิต (ดอก)
- ช่วยแก้กำเดาให้เป็นปกติ (ราก)
- เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่ม มีสรรพคุณทางยาช่วยแก้อาการไอ โดยใช้รากชะเอมไทยยาวประมาณ 2-4 นิ้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น หากอาการไม่ดีขึ้น ให้รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน (เปลือกต้น,ราก)
- ช่วยขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว (เนื้อไม้,ผล,ราก) ทำให้เสมหะงวด (ดอก) โดยใช้รากชะเอมไทยยาวประมาณ 2-4 นิ้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น หากอาการไม่ดีขึ้น ให้รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน[3]
- ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ (ต้น,เนื้อไม้)
- เนื้อไม้ มีรสหวาน ช่วยรักษาโรคในลำคอ (เนื้อไม้)
- ช่วยทำให้ชุ่มคอ[1],[3] แก้อาการกระหายน้ำ (ราก, เนื้อไม้)
- ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (เนื้อไม้)
- สรรพคุณของชะเอม เนื้อไม้มีสรรพคุณช่วยแก้ลม (เนื้อไม้)[1],[4] ถ่ายลม (ต้น)
- ดอกมีรสขมร้อน ช่วยในการย่อยอาหาร (ดอก)
- สรรพคุณชะเอม รากใช้เป็นยาระบาย (ราก)
- ใบมีรสร้อนและเฝื่อน มีสรรพคุณช่วยขับโลหิตระดูของสตรี (ใบ)
- ลำต้นชะเอมไทยใช้เข้ากับเครือไส้ไก่ เครือตากวง และเครือหมาว้อ ใช้ต้มกับน้ำดื่ม มีสรรพคุณช่วยแก้โรคตับ (ต้น)
- ช่วยทำให้ผิวหนังสดชื่น (ต้น)
- ชะเอม ไทยจัดเป็นส่วนผสมในตำรับยา “พิกัดทศกุลาผล” ซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อดีและเสมหะ ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงปอด บำรุงกำลัง บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น ช่วยแก้ไข้ แก้รัตตะปิตตะโรค ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ลมอัมพฤกษ์และอัมพาต โดยเป็นตำรับยาที่มีการจำกัดจำนวนตัวยาในตระกูลเดียวกันทั้ง 10 อย่าง อันได้แก่ ชะเอมไทย, ชะเอมเทศ, ผักชีล้อม, ผักชี (ผักชีลา), อบเชยไทย, อบเชยเทศ, ลำพันขาว, ลำพันแดง, เร่วน้อย, เร่วใหญ่
- รากชะเอมไทย มีลักษณะคล้ายกับชะเอมเทศ สามารถนำรากชะเอมไทยมาใช้ปรุงเป็นยาแทนแทนชะเอมเทศได้ (ราก)