ประเพณีไทย ประเพณีตักบาตรธูปเทียน

ประเพณีตักบาตรธูปเทียน

ประเพณีไทย ประเพณีตักบาตรธูปเทียนนั้น ถือเป็นหนึ่งในประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองนคร และเป็นประเพณีเก่าแก่ต้นแบบคู่มากับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อย่างน้อยก็มีกล่าวไว้ แต่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ครั้งสุโขทัยแล้วว่ประเพณีตักบาตรธุปเทียนอันมีต้นกำเนินที่เมืองนคร ได้เผยแพร่ไปสู่สุโขทัย ทั้งนี้เป็นเพราะพุทธศาสนาได้แพร่ขยายเข้ามาที่เมืองนครก่อนเป็นแห่งแรก ประเพณีตักบาตรธูปเทียนเป็นส่วนหนึ่งของพิธีถวายสังฆทานเนื่องในโอกาส เข้าพรรษา ณ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เมื่อถึงวันดังกล่าวชาวเมืองนครจะต่างพากันไปที่วัดในชุมชนของตนพร้อมทั้งนำ เทียนพรรษาขนาดใหญ่พอที่จะใช้ได้ตลอดพรรษา กับดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าอาบน้ำฝน ดั่ง เตียง ตะเกียง ยา และอาหารแห้ง ไปถวายพระที่วัดด้วย

ประเพณีตักบาตรธูปเทียน

แต่เดิมนั้นการตักบาตรธูปเทียนจัดกันที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเพียงแห่งเดียว ตั้งแต่เมื่อครั้งที่วัดพระมหาธาตุฯ ยังไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา เมื่อปรากฏว่าเครื่องสังฆทานที่ชาวบ้านนำมาถวายมีมากเกินไป ใช้ทั้งปีก็ไม่หมด จึงมีการอาราธนาพระจากวัดอื่นๆ รอบวัดพระมหาธาตุฯ มารับเครื่องสังฆทานด้วย โดยนิมนต์ให้มายืนเข้าแถวยาวเหยียดที่หน้าวิหารทับเกษตร ชาวบ้านจะได้นำเครื่องสังฆทานพร้อมทั้งกำดอกไม้ธูปเทียนที่เตรียมมาไปใส่ลง ในย่ามพระที่เรียงแถวอยู่นั้น เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะพากันไปจุดเปรียงหรือที่เรียกว่า “จองเปรียง” (เปรียงตามศัพท์แปลว่าไขข้อโค คือไขมันสัตว์นั่นเอง) ตามหน้าพระพุทธรูปและฐานเจดีย์ในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยใช้วิธีการง่ายๆ คือใส่ด้ายดิบลงไปในภาชนะเล็กๆ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ เปลือกหอยแครง หยอดน้ำมันมะพร้าวหรือไขมันสัตว์ลงไปแล้วจุดไฟ
ประเพณีตักบาตรธูปเทียน
ปัจจุบันรายละเอียดของพิธีบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปบ้าง อย่างเช่น สถานที่ที่พระจะมารับบิณฑบาตดอกไม้ธูปเทียนนั้นนอกจากจะเป็นบริเวณหน้าวิหาร ทับเกษตรเช่น ในอดีตแล้ว ยังขยายต่อออกมาที่ลานหน้าวัดในตัวเมืองนคร ด้วยเหตุนี้ในตอนบ่ายวันเข้าพรรษา จะได้เห็นพระสงฆ์จำนวนมากมายออกมารับบิณฑบาตดอกไม้ธูปเทียนกันเป็นทิวแถว ดอกไม้ที่นำมาตักบาตรนั้นก็กลายเป็นดอกไม้สดที่พ่อค้าแม่ค้าจัดเตรียมมา เพื่อการนี้ แทนที่จะเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ที่ชาวบ้านต่างคนต่างทำกันมาสำหรับวันนี้โดย เฉพาะ และการจุดเปรียงนั้นก็เปลี่ยนจากที่เคยจุดในเปลือกหอยมาเป็นการจุดเทียนไข แทน และจำกัดเฉพาะในบริเวณวิหารพระม้าแห่งเดียวต่างจากเดิมที่เคยจุดหรือ จองเปรียงกันทั่วไปทั้งวัด

 

ความสำคัญ

เป็นการทำบุญด้วยธูปเทียนและดอกไม้ เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาเพื่อให้พระสงฆ์ที่จำพรรษา ได้นำธูปเทียนใช้บูชาพระรัตนตรัยตลอดพรรษา ๓ เดือน

พิธีกรรม

วันประกอบพิธีตักบาตรธูปเทียน เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มพิธีเข้าพรรษา พิธีการตักบาตรธูปเทียน จึงเริ่มในตอนบ่าย โดยพระภิกษุสงฆ์และสามเณร ต่างพากันมายืนเรียงแถวในบริเวณลานวัด โดยมีย่ามคล้องแขนทุกรูป เพื่อเตรียมบิณฑบาต เมื่อถึงเวลาบ่ายประมาณ ๑๖ นาฬิกา พุทธศาสนิกชนจะนำธูปเทียน ไม้ขีดไฟ และดอกไม้ มาใส่ย่ามถวายพระสงฆ์เป็นอันเสร็จพิธี

แนวคิด/คุณค่า

1.สะท้อนให้เห็นถึงความยึดมั่นในการนับถือศาสนา
2.เพื่อความสุขใขจากบุญกุศลที่ได้ทำบุญตักบาตรธูปเทียน
3.เป็นการอบรบให้ลูกหลานที่ไปร่วมพิธีตักบาตรธูปเทียนได้มีความรู้ความเข้าใจในประเพณีท้องถิ่น

แหล่งที่มาประเพณีตักบาตรธูปเทียน : http://student.nu.ac.th/jitrada/South1.html

Related posts
ประเพณีไทย ประเพณีแห่นางแมวขอฝน
ประเพณีไทย ประเพณีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้า อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (ประเพณีเข้ากรรมเมือง)
ประเพณีไทย ประเพณีบุญข้าวหลาม
ประเพณีไทย ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย
ประเพณีไทย ประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ
ประเพณีไทย ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ

ประเพณีไทย ประเพณีตักบาตรดอกไม้

ประเพณีตักบาตรดอกไม้ นับว่าเป็นประเพณีที่สำคัญของอำเภอพระพุทธบาท โดยถือเอาวันเข้าพรรษา ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี กำหนดให้มีงานตักบาตรดอกไม้ ประชาชนต่างพากันไปทำบุญตักบาตรเนื่องในวันเข้าพรรษาที่วัด พร้อมกับถวายเทียนพรรษาแก่วัดพระพุทธบาท ซึ่งตามประเพณีชาวพุทธทั้งหลายเมื่อเสร็จจากการทำบุญตักบาตรในตอนเช้าแล้วใน ช่วงบ่ายของวันเข้าพรรษาจะมีการตักบาตรดอกไม้ที่ บริเวณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท

ประเพณีไทย ประเพณีตักบาตรดอกไม้

ประเพณีไทย ประเพณีตักบาตรดอกไม้

ประชาชนจะพากันไปเก็บดอกไม้ชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายต้นกระชาย หรือต้นขมิ้น มีดอกสีเหลือง หรือดอกสีขาว เรียกว่า “ดอกเข้าพรรษา” ซึ่งดอกไม้ชนิดนี้ชอบขึ้นตามไหล่เขา มีเฉพาะในช่วงเข้าพรรษา ที่จังหวัดสระบุรีเพียงจังหวัดเดียวเท่านั้น และในขณะที่พระภิกษุเดินขึ้นบันไดเพื่อที่จะนำดอกเข้าพรรษาไปนมัสการรอยพระ พุทธบาทนั้นชาวบ้านก็จะนำขันน้ำ หรือภาชนะใส่น้ำลอยด้วยดอกพิกุล นั่งรออยู่ตามขั้นบันไดเพื่อคอยที่จะ ล้างเท้าให้แก่พระภิกษุ ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการชำระบาปที่ได้กระทำมาให้หมดสิ้นไป

ความเป็นมาของประเพณี ตักบาตรดอกไม้

ประเพณีตักบาตรดอกไม้ เป็นประเพณีเดิมของชาวพระพุทธบาทที่ปฏิบัติกันมาเนิ่นนานแล้วมีการเชื่อมโยงอ้างอิงไปถึงสมัยพุทธกาลตามพุทธตำนานว่านายสุมนมาลาการมีหน้าที่เก็บดอกมะลิ ณ อุทยานหลวงวันละ ๘ กำมือ นำไปถวายพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองกรุงราชคฤห์ วันหนึ่งขณะที่นายสุมนมาลาการเก็บดอกมะลิอยู่นั้น ได้พบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่ง นายสุมนมาลาการเกิดการเลื่อมใสจึงนำดอกมะลิทั้ง ๘ กำมือ ถวายบูชาพระพุทธองค์โดยมิได้เกรงพระราชอาญาจากพระเจ้าพิมพิสารที่ตนไม่มีดอกมะลิไปถวายในวันนั้นจิตของนายมาลาการมีแต่ความผ่องใส เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก ได้บำเหน็จรางวัลความดีความชอบแก่นายสุมนมาลาการเป็นสิ่งของทั้งปวงนายสุมนมาลาการจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม

นี่คือ อานิสงส์ที่ถวายดอกไม้แด่พระพุทธเจ้าในครั้งนั้นชาวพระพุทธบาทจึงนำพุทธตำนานดังกล่าว ยึดถือประเพณีตักบาตรดอกไม้เป็นประเพณีสำคัญ ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นประจำทุกปี และกำหนดเอาวันเข้าพรรษาคือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปีเป็นประเพณีตักบาตรดอกไม้

ดอกเข้าพรรษา

ดอกเข้าพรรษาดอกเข้าพรรษา เป็นชื่อที่ชาวบ้านใช้เรียกดอกไม้ชนิดหนึ่ง ต้นคล้ายต้นกระชายและขมิ้นสูงประมาณ ๑ คืบเศษ บางต้นก็ผลิดอกสีเหลือง บางต้นก็มีดอกสีขาว สีม่วง ต้นดอกเข้าพรรษานี้จะขึ้นตามไหล่เขาสุวรรณบรรพต เขาโพธิ์ลังกา เทือกเขาวงและเขาพุใกล้กับพระมณฑปที่ครอบรอยพระพุทธบาท

ดอกเข้าพรรษาที่พระพุทธบาท มี ๒ สกุล

– สกุลกระเจียว มีลักษณะดอกสีขาว หรือขาวอมชมพูมีทั้งช่อดอกใหญ่และช่อดอกเล็ก
– สกุลหงษ์เหิร ลักษณะดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกบอบบาง มีก้านเกษรยาว ดอกมีหลายสีเช่น สีเหลือง เหลืองทองอมส้ม สีขาว

ในอดีต ดอกเข้าพรรษาจะงอกงาม และมีเป็นจำนวนมาก คงเนื่องมาจากธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีฝนตกตามฤดูกาล ทำให้ ไม้นานาพันธุ์ ตามภูเขา และเชิงเขา เขียวขจีไปทั่ว หรืออาจประกอบกับ ไม่มี ผู้บุกรุกทำลายป่า หาของป่ามาขาย ความ อุดมสมบูรณ์ จึงยังคงมีอยู่ครบ ดอกเข้าพรรษาจึงมี ให้ ชาวบ้าน ได้หาเก็บมาไว้ สำหรับใส่บาตร ขณะหาดอกไม้กันนั้น ก็จะพูดคุยกันด้วย ความสนุกสนาน สดชื่น เบิกบานเมื่อได้จำนวนพอเพียง ก็นำกลับมาบ้าน แล้วเริ่มด้วยการตัดแต่งใบออกเหลือแต่ช่อดอก นำมารวมกับธูปและเทียนดอกเล็กๆ มัดเป็นกำด้วยความวิจิตรบรรจง กิจกรรมของประเพณีนี้แสดงให้เห็นถึงความสามัคคีและความเอื้อเฟื้อ

เพราะส่วนใหญ่เมื่อหาดอกเข้าพรรษามาได้ก็จะนำมาจัดเป็นช่อเป็นกำ ณ บ้านใดบ้านหนึ่ง เมื่อจัดเสร็จก็แบ่งปันกันไปจัดใส่ขันเงินและนำกลับไปบ้านของตน อาบน้ำแต่งตัวสวยงามด้วยผ้าไทยชุดไทยและนัดแนะมาพบกันอีกครั้งในเวลาบ่ายยืนเรียงเป็นแถวอยู่สองฟากทางบริเวณขึ้นสู่พระมณฑป

ประเพณีตักบาตรดอกไม้

งานประเพณีตักบาตรดอกไม้ได้มีการฟื้นฟูส่งเสริม และพัฒนาตามลำดับนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งเป็นปีที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย งานประเพณีตักบาตรดอกไม้ จึงเพิ่มสีสันให้ดูดีขึ้นตามยุคสมัย

ส่วนการเก็บดอกเข้าพรรษาเอง เช่น ครั้งอดีต ก็ดูจะเลือนไปเพราะปัจจุบัน มีผู้ประกอบการไปจัดหา และจัดนำมาจำหน่ายเป็นความสะดวกประการหนึ่ง ดังนั้นในส่วนของคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์บางประการ ดูจะลดน้อย และขาดหายไป เช่น ความร่วมมือร่วมแรงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การแบ่งปัน ถ้าพิจารณาดูให้ดี จะเห็นว่า กุศโลบาย ของบรรพบุรุษ เรา ได้กำหนดวิธีการ ไว้แยบคายนักที่จะให้กุลบุตรกุลธิดามีจิตใจอ่อนโยนเข้าวัดตามผู้ใหญ่ ดังที่พบเห็น จากหลายๆ ประเพณีในอดีต เช่น การก่อพระเจดีย์ทราย เป็นการขนทรายเข้าวัด ประเพณีแข่งเรือ เป็นการสร้างความสามัคคี ความเข้มแข็งและความอดทน เป็นต้น

ก่อนที่พระสงฆ์จะออกรับบาตรดอกไม้นั้น ประชาชนจะได้ดูริ้วขบวนที่สวยงามตื่นตาตื่นใจริ้วขบวนประกอบไปด้วยรถบุปผาชาติซึ่งแต่ละหน่วยงานจะจัดตกแต่งอย่างวิจิตร อลังการ มีทั้งประเภทความคิด ประเภทสวยงามและการอนุรักษ์ต่างๆ นอกจากรถบุปผาชาติแล้วแต่ละหน่วยงาน ยังจัดริ้วขบวนที่สื่อความหมายบอกให้ทราบถึง เอกลักษณ์ในท้องถิ่นของตน เมื่อขบวนเคลื่อนมาจะมีการตัดสินรถบุปผาชาติที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล และถ้วยเกียรติยศ

ข้อมูลจากประเพณีไทย ประเพณีตักบาตรดอกไม้ www.watphrabuddhabat.com

Related posts
ประเพณีไทย ประเพณีแห่นางแมวขอฝน
ประเพณีไทย ประเพณีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้า อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (ประเพณีเข้ากรรมเมือง)
ประเพณีไทย ประเพณีบุญข้าวหลาม
ประเพณีไทย ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย
ประเพณีไทย ประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธ
ประเพณีไทย ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ