วันสำคัญของไทย วันที่ 23 ตุลาคม วันปิยะมหาราช

ปิยมหาราช วันปิยมหาราช 23 ตุลาคมของทุกปี

วันปิยมหาราช ปีนี้ ตรงกับวันพุธที่ 23 ตุลาคม ๒๕๕๖

ประวัติวันปิยมหาราช

ปิยมหาราช วัน ปิยมหาราชตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่าง ประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น “วันปิยมหาราช”

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันสำคัญของไทย วันที่ 23 ตุลาคม วันปิยะมหาราช-2

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 เป็นโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี)เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ

พระราชกรณียกิจของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ในวันปิยมหาราช

  • เลิกทาส
  • ด้านการปกครอง
  • การสาธารณูปโภค
  • การศึกษา
  • การปกป้องประเทศ
  • การเสด็จประพาส

เลิกทาส

โปรดเกล้าฯให้ประกาศเลิกทาสในเมืองไทย
เลิกทาสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติทรงมี พระทัยแน่วแน่ว่าจะต้องเลิกทาสให้สำเร็จให้จงได้ แต่การที่พระองค์จะทรงทำการเลิกทาสถือว่าเป็นเรื่องยากลำบากด้วยทาสนั้นมีมา ตั้งแต่สมัยโบราณ อีกทั้งเจ้านายที่เป็นใหญ่ในสมัยนั้นมักมีข้ารับใช้เมื่อไม่มีทาสบุคคลเหล่า นี้อาจจะไม่พอใจ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นเหมือนกับที่เกิดขึ้นในต่างประเทศมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตราพระราชบัญญัติทาส เรียกว่า พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดเรื่องทาสในเรือนเบี้ยให้เป็นไปอย่างเด็ด ขาด โดยกำหนดให้เด็กที่เกิดจากพ่อหรือแม่ที่เป็นทาส ไม่จำเป็นต้องเป็นทาสอีกต่อไป กฎหมายโบราณแบ่งทาสออกเป็น 7 ชนิด

  1. ทาสสินไถ่
  2. ทาสในเรือนเบี้ย
  3. ทาสได้มาแต่บิดามารดา
  4. ทาสท่านให้
  5. ทาสช่วยมาแต่ทัณฑ์โทษ
  6. ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย
  7. ทาสเชลยศึก

ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน และได้ใช้เวลาเพียง 30 ปีเศษ ทาสในเมืองไทยก็หมดไปโดยมิเกิดการนองเลือด เหมือนกับประเทศอื่น ๆ เลย

ด้านการปกครอง

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่าง ๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะไม่ก้าวก่ายกัน ได้แก่

  1. กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาวซึ่งเป็นประเทศราช
  2. กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายตะวันออกและตะวันตก และเมืองมลายู
  3. กระทรวงวัง มีหน้าที่ดูแลรักษาการต่าง ๆ ในพระบรมมหาราชวัง
  4. กระทรวงการคลัง มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการเก็บภาษีรายได้จากประชาชน
  5. กระทรวงเกษตราธิการ มีหน้าที่ในการดูแลควบคุมการเพาะปลูก ค้าขาย ป่าไม้
  6. กระทรวงนครบาล มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร
  7. กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์ และการศึกษา
  8. กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินต่าง ๆ
  9. กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง และงานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง
  10. กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ

การสาธารณูปโภค

  • การประปา ทรงให้กักเก็บน้ำจากแม่น้ำเชียงรากน้อย จ.ปทุมธานี และขุดคลองเพื่อส่งน้ำเข้ามายังสามเสน พร้อมทั้งฝังท่อเอกติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการทำน้ำประปาขึ้นในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2452
  • การคมนาคม วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไป นครราชสีมา แต่ทรงเปิดทางรถไฟกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาก่อน จึงนับว่าเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นทางรถไฟแห่งแรกของไทย
  • การสาธารณสุข เนื่องจากการรักษาแบบยากลางบ้านนี้ล้าสมัยไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างโรงพยาบาล ณ บริเวณริมคลองบางกอกน้อย และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200 ชั่ง โรงพยาบาลแห่งนี้เปิดทำการรักษาประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่อ 26 เมษายน พ.ศ.2431 และใช้ชื่อโรงพยาบาลว่า โรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลศิริราช”
  • การไฟฟ้า พระองค์ทรงมอบหมายให้ กรมหมื่นไวยวรนาถ เป็นแม่งานในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2433

การศึกษา

การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้ขยายการศึกษา ในปี พ.ศ.2414 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นภายในพระบรมมหาราชวังโดยมีท่านพระยาศรีสุนทร โวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นอาจารย์ใหญ่ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนอีกแห่งซึ่งสอนภาษาอังกฤษมีนาย ยอซ แปตเตอร์สัน เป็นอาจารย์ใหญ่ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงเรียนหลวงอีกหลายแห่ง โรงเรียนหลวงแห่งแรกที่สร้างขึ้นในวัดคือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในปี พ.ศ.2427 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร เขียนตำราเรียนขึ้นมา เรียกว่า แบบเรียนหลวง 6 เล่ม คือ มูลบทบรรพกิจ วาห์นิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าผู้หญิงก็สมควรที่จะได้รับความรู้เช่น เดียวกับผู้ชาย ในปี พ.ศ.2444 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสตรีขึ้น โรงเรียนหลวงแห่งแรกที่ตั้งขึ้น คือ โรงเรียนบำรุงสตรีวิทยา การปกป้องประเทศ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ปรีชาสามารถอย่างสุดพระกำลังใน การรักษาประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์ ถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียดินแดนบางส่วนไปก็ตาม ดินแดนที่ต้องเสียให้กับต่างชาติ ได้แก่

  • พ.ศ.2431 เสียดินแดนในแคว้นสิบสอบจุไทย
  • พ.ศ.2436 เสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง
  • พ.ศ.2447 เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง
  • พ.ศ.2449 เสียดินแดนที่เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภรณ

การเสด็จประพาส

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดการเสด็จประพาสเป็นอย่างมาก แต่มิได้ไปเพื่อการสำราญพระราชหฤทัยส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ การเสด็จประพาสภายในประเทศทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนบ้าง ปลอมเป็นขุนนางบ้าง ทรงกระทำเช่นนี้เพื่อเสด็จดูแลทุกข์สุขของประชาชนในหัวเมืองต่าง ๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2440 โดยมีหมายกำหนดการเดินทางออกจากประเทศไทยในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2441 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสยุโรปเป็นเวลานาน 9 เดือน เพื่อเชื่อมความสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรป และในปี พ.ศ.2449 พระองค์ได้เสด็จประพาสยุโรปอีกเป็นครั้งที่ 2 การเสด็จประพาสครั้งนี้ นำความเจริญมาสู่บ้านเมืองอย่างมากมาย
ในปี พ.ศ.2413 ทรงเสด็จประพาสประเทศเพื่อบ้านเป็นครั้งกรำ คือ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศชวา 2 ครั้ง การเสด็จพระราชดำเนินประเทศเพื่อนบ้านนั้นด้วยทรงต้องการที่จะเจริญสัมพันธ ไมตรีกับประเทศเพื่อบ้านในแถบอินโดจีน รวมถึงทรงต้องการเรียนรู้ระเบียบการปกครอง
ในปี พ.ศ.2415 เสด็จเยือนประเทศอินเดีย และประเทศพม่า และได้รับการถวายพระบรมสารีริกธาตุและพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา อินเดียเพื่อนำกลับมาปลูกในประเทศไทย
ในปี พ.ศ.2449 พระองค์ได้เสด็จประพาสยุโรปอีกเป็นครั้งที่ 2 การเสด็จประพาสครั้งนี้นำความเจริญมาสู่บ้านเมืองมากมาย ทั้งการสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำประปา รถไฟ รถราง การแพทย์ การศึกษา รวมถึงระเบียบแบบแผนการปกครองประเทศ สวรรคต
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีชนมพรรษา 58 พรรษา ในบั้นปลายพระชนมชีพทรงพระประชวร เนื่องจากทรงพระชราภาพและเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453 นับว่าประเทศไทยได้สูญเสียพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงปล่อยทาสให้เป็นไท ทรงพัฒนาประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศจนเป็นที่ รู้จักของชาวต่างชาติพระองค์ทรงอยู่ในราชสมบัติ 42 ปี ประชาชนชาวไทยต่างรักและอาลัยพระองค์มาก และพร้อมใจถวาย สมัญานามว่า “พระปิยมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า “พระราชาผู้ยิ่งใหญ่อันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย”

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ

  • พ.ศ.2411 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
  • พ.ศ.2412 ทรงโปรดเกล้าให้สร้าง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
  • พ.ศ.2413 เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา โปรดฯ ให้ยกเลิกการไว้ผมทรงมหาดไทย
  • พ.ศ.2415 ทรงปรับปรุงการทหารครั้งใหญ่ โปรดให้ใช้เสื้อราชปะแตน โปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษแห่งแรกขึ้นในพระบรมหาราชวัง
  • พ.ศ.2416 ทรงออกผนวชตามโบราณราชประเพณี โปรดให้เลิกประเพณีหมอคลานในเวลาเข้าเฝ้า
  • พ.ศ.2417 โปรดให้สร้างสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ตั้งโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง และให้ใช้อัฐกระดาษแทนเหรียญทองแดง
  • พ.ศ.2424 เริ่มทดลองใช้โทรศัพท์ครั้งแรก เป็นสายระหว่างกรุงเทพฯ – สมุทรปราการสมโภชพระนครครบ 100 ปี มีการฉลอง 7 คืน 7 วัน
  • พ.ศ.2426 โปรดให้ตั้งกรมไปรษณีย์ เริ่มบริการไปรษณีย์ในพระนครตั้งกรมโทรเลข และเกิดสงครามปราบฮ่อครั้งที่ 2
  • พ.ศ.2427 โปรดฯให้ตั้งโรงเรียนราษฎร์ทั่วไปตามวัด โรงเรียนแห่งแรกคือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม
  • พ.ศ.2429 โปรดฯ ให้เลิกตำแหน่งมหาอุปราช ทรงประกาศตั้งตำแหน่งมกุฏราชกุมารขึ้นแทน
  • พ.ศ.2431 เสียดินแดนแคว้นสิบสองจุไทให้แก่ฝรั่งเศส การทดลองปกครองส่วนกลางใหม่ เปิดโรงพยาบาลศิริราชโปรดฯให้เลิกรัตนโกสินทร์ศก โดยใช้พุทธศักราชแทน
  • พ.ศ.2434 ตั้งกระทรวงยุติธรรม ตั้งกรมรถไฟ เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา
  • พ.ศ.2436 ทรงเปิดเดินรถไฟสายเอกชน ระหว่างกรุงเทพฯ-ปากน้ำ กำเนิดสภาอุนาโลมแดง (สภากาชาดไทย)
  • พ.ศ.2440 ทรงเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก
  • พ.ศ.2445 เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส
  • พ.ศ.2448 ตราพระราชบัญญัติยกเลิกการมีทาสโดยสิ้นเชิง
  • พ.ศ.2451 เปิดพระบรมรูปทรงม้า
  • พ.ศ.2453 เสด็จสวรรคต

พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราช

ในวันสำคัญนี้วันปิยมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตไปยังพระบรมราชานุสรณ์ ที่พระลานพระราชวังดุสิต ถวายพวงมาลาแล้วทรงจุดธูปเทียน เครื่องราชสักการะทองทิศและเครื่องทองน้อย ทรงกราบถวายราชสักการะ และเสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูปปางประจำ พระชนมวารของพระบรมอัฐิและทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะพระบรมอัฐิ พระสงฆ์ 57 รูป เท่าจำนวนพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียน เครื่องทรงธรรม พระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนากัณฑ์ 1 จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมกัณฑ์เทศน์ แล้วทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ และพระราชาคณะที่ถวายพระธรรมเทศนา สดับปกรณ์พระบรมอัฐิ ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินกลับ

ที่มาจาก : tlcthai