ศาสตร์การบำบัด อาการออฟฟิศซินโดรม

ศาสตร์การบำบัด อาการออฟฟิศซินโดรม

การที่เรามีอาการเคล็ด ขัด ยอก ปวดหลัง ปวดเอว ปวดสะโพก ปวดร้าวชาลางไปที่ขา กล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ขาและเข่า อันมีสาเหตุมาจากอาการออฟฟิศซินโดรมนั้น มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง ลองดูกันเลยดีกว่า

1> เกิดจากพฤติกรรม เช่น การนั่ง เดิน ยืน นอน ที่ไม่ถูกท่าและไม่ถูกสุขลักษณะ อีกทั้งใช้พฤติกรรมที่ซ้ำๆ เดิมๆ และทำพฤติกรรมเช่นนั้นติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น การนั่งไขว่ห้าง การยืนทิ้งน้ำหนักไปที่ขาข้างใดข้างหนึ่งเป็นระยะเวลานาน การใส่ส้นสูงที่มีความสูงมากกว่า 1.5 นิ้วขึ้นไป การนอนบนที่นอนหดตัว นอนตัวคดตัวงอนอนคุดคู้ นอนงอศีรษะเป็นระยะเวลานาน นอนที่นอนนุ่มเกินไป นอนหมอนสูงเกินไป เป็นต้น

2> เกิดจากการกระแทก ซึ่งเกิดจากการปะทะกันบริเวณกล้ามเนื้อ หรือกระดูกสันหลังโดยตรงจากการเล่นกีฬา หรือจากการหกล้ม

3> เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ตกบันได รถชน มีสิ่งของตกใส่ หรือทับไปที่บริเวณหลัง

4> เกิดจากหมอนรองกระดูกเสื่อม มีภาวะกระดูกผุ หรือกระดูกพรุน อาจมีผลทำให้กระดูกบริเวณหลังเกิดการทรุดตัว หรือไม่อยู่ในตำแหน่งที่ควรอยู่ จึงทำให้ไปกดทับเส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลังได้

5> เกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ไปกดทับเส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลัง

6> เกิดจากกล้ามเนื้อที่หดเกร็งและตึงแข็งมากจนไปเบียดหรือไปดันกับส่วนของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ทำให้กดทับเส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลังได้

7> เกิดจากความสูง-ต่ำ ที่ไม่เท่ากันของกล้ามเนื้อบริเวณหลัง อันมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมและความตึงแข็งของกล้ามเนื้อจากการใช้งานที่ผิดท่าผิดทาง และใช้งานไม่ถูกสุขลักษณะ

8> เกิดจากการบิด ดัด หรือการยกของที่มีน้ำหนัก หรือใช้ท่ายกที่ไม่ถูกสุขลักษณะ จึงทำให้เกิดการเคล็ด ขัดยอก ปวดเอว ปวดหลังได้

9> เกิดจากอวัยวะ หรือระบบภายในร่างกายเริ่มเสื่อมสมรรถภาพ หรือเกิดจากความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายตามวัย เช่น หัวใจ ไต ตับ หมอนรองกระดูกสันหลัง ไขกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลัง ข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย

10> เกิดจากโรคหรืออาการความเจ็บป่วย เช่น มีโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกผุ กระดูกพรุน โรคไต โรคมะเร็ง โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ โรคไขข้ออักเสบ โรคนอนไม่หลับ
โรคเครียด ท้องผูก ปวดหัว เวียนหัวบ่อยๆ มีอาการตื้อ มึน งง มีอาการปวดๆ และมีอาการชาบริเวณศีรษะบ่อยๆ เป็นต้น

 

http://www.posttoday.com/ไลฟ์สไตล์/สุขภาพ/317608/ศาสตร์การบำบัด-อาการออฟฟิศซินโดรม