เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง

ประวัติเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง เทศกาลนี้มีที่มายังไง

ประวัติเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง เทศกาลนี้มีที่มายังไง

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า เทศกาลตวนอู่ หรือ เทศกาลต่วนหงอ ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติ หรือ “โหงวเหว่ยโจ่ว” เป็นการระลึกถึงวันที่ คุดก้วน หรือ ชีว์หยวน หรือ ชีหยวน กวีผู้รักชาติแห่งรัฐฉู่ กระโดดน้ำเสียชีวิต

นอกจากนี้ ในประเทศจีน บริเวณแม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง), ฮ่องกง, ไต้หวัน, มาเก๊า ยังมีการละเล่น แข่งเรือมังกร (Dragon Boat Festival 龙舟赛) จัดอย่างยิ่งใหญ่ในวันนี้ด้วย ทางรัฐบาลจีนยังกำหนดให้วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นี้เป็น วันกวีจีน (The Chinese Poet’s Day) อีกด้วย เนื่องจากชีหยวน นับเป็นอีกผู้หนึ่งที่เป็นกวีคนสำคัญของจีน

ประวัติ เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง

ในสมัยเลียดก๊ก มีบุคคลหนึ่งนามว่า ชีหยวน เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ และความสามารถรอบด้าน เป็นนักปราชญ์ราชกวีคนหนึ่ง รวมทั้งรู้จักหลักการบริหารปกครองเป็นอย่างดี ชีหยวนเป็นเชื้อสายของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นฉู่ ชีหยวนได้รับราชการเป็นขุนนางในสมัยพระเจ้าฉู่หวายอ๋อง เป็นที่ปรึกษา และดูแลเหล่าเชื้อพระวงศ์ ชีหยวนเป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์ และเปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถอันสูงยิ่ง เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเป็นอันมาก

เมื่อมีคนรัก แน่นอนย่อมต้องมีคนชังเป็นเรื่องธรรมดา เหล่าขุนนางกังฉินทั้งหลายต่างก็ไม่พอใจชีหยวน ด้วยความที่ชีหยวนนั้นเป็นคนที่ซื่อตรง ทำงานอย่างตรงไปตรงมา จึงมีหลายครั้งที่การทำงานของชีหยวนเป็นไปเพื่อการขัดขวางการโกงกินบ้านโกงกินเมืองของขุนนางกังฉินเหล่านั้น พวกเขาจึงรวมหัวกันพยายามใส่ไคล้ชีหยวนต่างๆ นานา จนพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเองก็ชักเริ่มมีใจเอนเอียง ชีหยวนรู้สึกทุกข์ระทมตรมใจมาก จึงได้แต่งกลอนขึ้นเพื่อคลายความทุกข์ใจ กลอนบทนั้นมีชื่อว่า “หลีเซา” หมายถึงความเศร้าโศก จนต่อมาพระเจ้าฉู่หวายอ๋องถูกกลลวงของแคว้นฉิน และสวรรคตในแคว้นฉิน รัชทายาทของฉู่หวายอ๋องจึงได้ขึ้นครองราชบัลลังก์แทน

หลังจากที่กษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงหลงเชื่อคำยุยงของเหล่าขุนนางกังฉินพวกนั้น ในที่สุดจึงได้มีพระบรมราชโองการให้เนรเทศชีหยวนออกจากแคว้นฉู่ไป

ชีหยวนเศร้าโศกเสียใจมาก หลังจากเดินทางรอนแรมมาถึงแม่น้ำเปาะล่อกัง (บางตำราว่าเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง) ชีหยวนจึงได้ตัดสินใจกระโดดน้ำตายในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นั้นเอง
ประวัติเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง เทศกาลนี้มีที่มายังไง

พวกชาวบ้านที่รู้เรื่องการตายของชีหยวน พวกเขาต่างก็รัก และอาลัยในตัวของชีหยวน จึงได้ออกเรือเพื่อตามหาศพของชีหยวน ในขณะที่ค้นหาศพ พวกเขาก็เตรียมข้าวปลาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำด้วย นัยว่าเพื่อล่อให้สัตว์น้ำมากิน จะได้ไม่ไปกัดกินซากศพของชีหยวน หลังจากนั้นทุกปีเมื่อถึงวันครบรอบวันตายของชีหยวน ชาวบ้านจะนำเอาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำเปาะล่อกัง หลังจากที่ทำมาได้ 2 ปี ก็มีชาวบ้านผู้หนึ่งฝันเห็นชีหยวนที่มาในชุดอันสวยงาม กล่าวขอบคุณเหล่าชาวบ้านที่นำเอาอาหารไปโปรยให้เพื่อเซ่นไหว้ แต่เขาบอกว่าอาหารที่เหล่าชาวบ้านนำไปโปรยเพื่อเป็นเครื่องเซ่นถูกเหล่าสัตว์น้ำกินเสียจนหมดเกลี้ยง เนื่องจากบริเวณนั้นมีสัตว์น้ำอาศัยอยู่มากมาย ชีหยวนจึงแนะนำให้นำอาหารเหล่านั้นห่อด้วยใบไผ่ หรือใบจากก่อนนำไปโยนลงน้ำ เพื่อที่เหล่าสัตว์น้ำจะได้นึกว่าเป็นต้นไม้อะไรสักอย่าง จะได้ไม่กินเข้าไป

หลังจากนั้นในปีต่อมา ชาวบ้านต่างก็ทำตามที่ชีหยวนแนะนำ คือนำอาหารห่อด้วยใบไผ่ไปโยนลงน้ำเพื่อเซ่นให้แก่ชีหยวน หลังจากวันนั้นชีหยวนก็ได้มาเข้าฝันชาวบ้านอีก ว่าคราวนี้ได้กินมากหน่อย แต่ก็ยังคงโดนสัตว์น้ำแย่งไปกินได้ ชาวบ้านต้องการให้ชีหยวนได้กินอาหารที่พวกเขาเซ่นให้อย่างอิ่มหนำสำราญจึงได้ถามชีหยวนว่าควรทำเช่นไรดี ชีหยวนจึงแนะนำอีกว่าเวลาที่จะนำอาหารไปโยนลงแม่น้ำ ให้ตกแต่งเรือเป็นรูปมังกรไป เมื่อสัตว์น้ำทั้งหลายได้เห็นก็จะนึกว่าเป็นเครื่องเซ่นของพญามังกร จะได้ไม่กล้าเข้ามากิน

ประเพณีการแข่งเรือมังกร และประเพณีการไหว้ขนมจั้ง (บ๊ะจ่าง) จึงเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้

ความเชื่อของเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง

นอกจากการไหว้บ๊ะจ่างแล้ว ปัจจุบันในฮ่องกง และเกาลูนก็ยังคงมีผู้จัดประเพณีแข่งเรือมังกรอยู่ รวมทั้งในเทศกาลตวงโหงวนี้ คนจีนโบราณยังเชื่อว่าเป็นวันที่เหล่าปิศาจจะออกมาสำแดงเดช จึงต้องมีการป้องกันด้วยการปัดกวาดทำความสะอาดบ้าน และจุดเครื่องหอมรวมทั้งกำยานเพื่อให้บรรยากาศในบ้านดูสดชื่นขึ้น ภูตผีปิศาจจะได้ไม่กล้าเข้ามากล้ำกราย ในวันนี้สัตว์มีพิษทั้ง 4 ชนิด อันได้แก่ แมงป่อง แมงมุม ตะขาบ และงู จะพากันหลบซ่อนตัว จึงเป็นโอกาสที่เจ้าบ้านจะต้องอบบ้านด้วยการจุดกำมะถัน เพื่อไม่ให้สัตว์มีพิษเหล่านี้กลับเข้ามาอาศัยได้อีก นอกจากนี้ยังมีการดื่มเหล้ายาที่ผสมด้วยผงกำมะถันด้วย โดยเชื่อกันว่าจะสามารถป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี

วันไหว้บ๊ะจ่าง ไหว้อย่างไร

เทศกาลวันไหว้บ๊ะจ่าง คนจีนจะไหว้ในตอนเช้า โดยมีบ๊ะจ่าง กีจ่าง ซึ่งการไหว้นั้น ไหว้โดยไม่ต้องแกะบ๊ะจ่าง โดยไหว้ที่ตี่จู้เอี๊ยะ หรือศาลเจ้าที่และบรรพบุรุษ

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง

เตรียมของวันไหว้บ๊ะจ่าง

  • จัดบ๊ะจ่างที่จะใช้ไหว้เป็นเลขคู่ (ต้องแกะบ๊ะจ่างจากหีบห่อ)
  • ผลไม้มงคล 5 อย่าง ได้แก่ ส้ม, แอปเปิลแดง, สาลี่, แก้วมังกร, กล้วยหอม
  • น้ำชา 5 ถ้วย

วันไหว้บ๊ะจ่าง ใช้ธูปกี่ดอก

ธูปที่ใช้ในการไหว้จะใช้ธูป 3 ดอก หรือ 5 ดอก
ซึ่งการไหว้ด้วยธูป 5 ดอกนั้น เพื่อเป็นการเพื่อระลึกถึงครู-อาจารย์ พ่อ แม่ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และจะเข้าหลัก 5 ธาตุ หรือ โหงวเฮ้ง ของจีน ประกอบด้วย ธาตุดิน ทอง น้ำ ไม้ และไฟ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวกับวิถีชีวิตโดยตรง

วิธีไหว้

  • จัดโต๊ะไหว้หันหน้าทางทิศตะวันออก
  • จุดธูปเทียน และ กล่าวคำบูชา
  • อธิษฐานขอพรเรียบร้อย
  • เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว นำเครื่องเซ่นไหว้ไปแจกจ่ายให้กับผู้อื่น

ตำนานเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง

มีความเชื่อว่า เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง เกิดขึ้นเพื่อรำลึกถึง ชวี หยวน ขุนนางตงฉินที่กระโดดน้ำเสียชีวิต โดยชวี หยวนนั้น เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ และความสามารถรอบด้าน รวมถึงรู้จักหลักการบริหารการปกครองเป็นอย่างดี มีความซื่อสัตย์ แต่การทำงานของชวี หยวนไปขัดขวางการโกงกิน พวกเขาจึงรวมตัวกันใส่ความชวี หยวน

ชวี หยวนทุกข์ระทมมาก จึงได้แต่งกลอนบทหนึ่งเพื่อคลายความทุกข์ ซึ่งกลอนบทดังกล่าวมีชื่อว่า หลีเซา และจากนั้น ชวี หยวน ถูกเนรเทศไป เดินทางรอนแรมมาถึงแม่น้ำเปาะล่อกัง (บางตำราว่าเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง) ชวี หยวนจึงได้ตัดสินใจกระโดดน้ำ เสียชีวิต เพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกจงรักภักดีแก่ประเทศชาติและความคับแค้นใจที่มีต่อสังคม ในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5
เมื่อชาวบ้านทราบข่าวการเสียชีวิต จึงได้ออกตามหาศพของขุนนางผู้นี้ โดยการโปรยข้าวลงแม่น้ำด้วย

หลังจากนั้นทุกๆ ปี ที่เป็นวันครบรอบการเสียชีวิต ชาวบ้านก็จะนำข้าวไปโปรย

จนต่อมามีชาวบ้านผู้หนึ่งฝันเห็นชวี หยวน โดยได้มากล่าวขอบคุณชาวบ้านที่ได้มาโปรยข้าวเพื่อการเซ่นไหว้ และได้แนะนำให้นำอาหารเหล่านั้นห่อด้วยใบไผ่ หรือใบจากก่อนที่จะโยนลงน้ำ ชาวบ้านต่างก็ทำตามที่ชวี หยวนแนะนำ

ความเชื่อของเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง

นอกจากการไหว้บ๊ะจ่างแล้ว ปัจจุบันในฮ่องกง และเกาลูนก็ยังคงมีผู้จัดประเพณีแข่งเรือมังกรอยู่ รวมทั้งในเทศกาลตวงโหงวนี้ คนจีนโบราณยังเชื่อว่าเป็นวันที่เหล่าปิศาจจะออกมาสำแดงเดช จึงต้องมีการป้องกันด้วยการปัดกวาดทำความสะอาดบ้าน และจุดเครื่องหอมรวมทั้งกำยานเพื่อให้บรรยากาศในบ้านดูสดชื่นขึ้นภูตผีปิศาจจะได้ไม่กล้าเข้ามากล้ำกราย

ในวันนี้สัตว์มีพิษทั้ง 4 ชนิด อันได้แก่ แมงป่อง แมงมุม ตะขาบ และงู จะพากันหลบซ่อนตัว จึงเป็นโอกาสที่เจ้าบ้านจะต้องอบบ้านด้วยการจุดกำมะถัน เพื่อไม่ให้สัตว์มีพิษเหล่านี้กลับเข้ามาอาศัยได้อีก นอกจากนี้ยังมีการดื่มเหล้ายาที่ผสมด้วยผงกำมะถันด้วย โดยเชื่อกันว่าจะสามารถป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดีนั่นเอง.

ขอบคุณข้อมูล
https://www.thairath.co.th/
https://www.sanook.com/