ปรับสมดุลลำไส้ พิชิตมะเร็งลำไส้ใหญ่

มีข้อมูลที่ได้จากการวิจัยว่า คนที่ชอบกินอาหารที่อุดมด้วยไขมันและเนื้อสัตว์สูงนั้น จะถ่ายอุจจาระประมาณวันละ 3-4 ออนซ์เท่านั้น และใช้เวลาให้อาหารเดินทางตั้งแต่ใส่เข้าปากจนออกมาเป็นอุจจาระถึง 2-3 วันทีเดียว ถ้ามีกากอาหารตกค้างและบูดเน่า อาจมีอาการแสดงเช่น ท้องอืด แน่น เหม็นเปรี้ยว ถ่ายไม่ปกติ ส่วนคนที่ชอบกินผักผลไม้มาก ๆ คือชอบอาหารประเภทเส้นใย จะถ่ายอุจจาระวันละประมาณ 13-17 ออนซ์ และใช้เวลาให้อาหารเดินทางออกมาเพียงประมาณ 20-30 ชั่วโมง

ลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนที่สะสมกากอาหารและช่วยดูดซึมน้ำและสารอาหารพวกวิตามิน เกลือแร่จากกากอาหารที่เหลือจากการดูดซึมของลำไส้เล็ก กากอาหารที่ดูดซึมแล้วจึงมีลักษณะค่อนข้างเหนียวข้น และในที่สุด ลำไส้จะขยับรัดตัวไล่ให้กากอาหารให้เคลื่อนตัวออกไปให้พ้นจากร่างกาย หากมีอะไรที่ไม่ดี เป็นอันตรายต่อผนังลำไส้ที่มีหน้าที่ดูดซับผ่านมา ลำไส้ก็จะป้องกันตัวเองด้วยการผลิตเมือกปิดกั้นผนังไว้ไม่ให้ระคายเคือง ถ้าขืนเรายังใส่ของไม่ดีให้ร่างกายต่อไป ร่างกายก็จะสร้างเมือกนี้ไปเรื่อยๆ มากขึ้นๆ จนอาจเหลือทางให้กากอาหารเดินผ่านแคบลง และทำให้ระคายเคือง ผนังลำไส้ก็จะปูดออก เกิดการหมักหมม กลายเป็นอาการลำไส้อักเสบได้ และเมื่ออักเสบมากขึ้นก็ย่อมเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง

อีกข้อควรระวังคือ ปัจจัยที่ทำให้แบคทีเรียในลำไส้เสียสมดุล เช่น อายุที่มากขึ้น ทำให้สภาวะในลำไส้มีการเปลี่ยนแปลงไป การใช้ยาปฏิชีวนะบ่อยหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำลายสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ จนร่างกายสร้างใหม่ไม่ทัน การรับประทานยาระบาย ยาคุมกำเนิด ยาแก้ปวดเป็นประจำ หรือการดื่มน้ำอัดลม กาแฟ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ความเสี่ยงเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการทำงานของลำไส้และทำให้แบคทีเรียในลำ ไส้เสียสมดุล จนอาจเกิดปัญหาสุขภาพมากมาย นักวิจัยพบว่าหนึ่งในอาหารหลายประเภทที่สามารถสร้างสมดุลของแบคทีเรียในลำ ไส้ได้ คือ พรีไบโอติก (Prebiotic) หรือใยอาหาร

พรีไบโอติก เป็นใยอาหารที่จะไม่ถูกย่อยในกระเพาะอาหารเมื่อรับประทานเข้าไป แต่จะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ใหญ่ที่ เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แลคโตบาซิลลัส และ บิฟิโดแบคทีเรีย ที่จะสามารถทนต่อน้ำย่อย กรด ด่าง ในกระเพาะและลำไส้ได้ จึงเกิดประโยชน์ในการหมักและย่อยอาหาร ทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ ความเป็นใยอาหารของพรีไบโอติก ช่วยดูดซับสารพิษและสารก่อมะเร็งในทางเดินอาหารไม่ให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และยังทำให้อุจจาระมีกากใยและนิ่ม สะดวกต่อการขับถ่าย และใยอาหารยังช่วย ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย นอกจากนั้น ใยอาหารยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆด้วย ดังนี้

1. ป้องกันอาการท้องเสีย โดยเฉพาะที่เกิดจากการติดเชื้อในทางเดินอาหารการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ที่ มีประโยชน์ในลำไส้ จะช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ก่อโรค ลดโอกาสการติดเชื้อ

2. ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด พรีไบโอติก ช่วยจับกับไขมันและน้ำตาลในทางเดินอาหาร ทำให้ร่างกายดูดซึมไขมันได้ช้าลง และเพิ่มการขับออกของโคเลสเตอรอล

3. เสริมสร้างการดูดซึมแร่ธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียม แบคทีเรียในลำไส้จะผลิตกรดไขมันสายสั้นที่มีความเป็นกรด ซึ่งจะช่วยดูดซึมแร่ธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียม สามารถเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก

4. ช่วยเรื่องการควบคุมน้ำหนัก ใยอาหารจากพรีไบโอติก จะถูกหมักด้วยแบคทีเรียในลำไส้เกิดเป็นกรดไขมันสายสั้น เช่น บิวทิเรท ซึ่งจะกระตุ้นการหลั่ง GLP-1 (Glucagons like peptide) ไปในกระแสเลือด ทำให้สมองรับรู้ความรู้สึกอิ่มและสบายท้อง

ดังนั้นการดูแลลำไส้ใหญ่ ของเราให้มีสุขภาพดีจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งด้วยการใส่ ใจในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การเคี้ยว อาหารให้ละเอียดก่อนกลืน เลือกอาหารที่รับประทาน ไม่รับประทานอาหารย่อยยาก ไขมันสูง เราจะเห็นว่าคนสมัยใหม่นี้ท้องผูก กันมากขึ้น เพราะรับประทานแต่แป้งขัดขาวกับน้ำตาล และไขมัน ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยเพิ่มขึ้น เช่น กล้วย มะเขือยาว ผักกาด เป็นต้น นอกจากนั้นยังต้องดูแลเรื่องการขับถ่ายในชีวิตประจำวันให้สม่ำเสมอ หมั่นสังเกตว่าการขับถ่ายของเราเป็นอย่างไร ที่ออกมานั้นสุขภาพดีไหม นุ่มนวล สีสวย ไม่แข็งและไม่กะปริดกะปรอย หรือเป็นเม็ดขนุน และหมั่นออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ได้เคลื่อนไหวเพื่อการทำงานอย่างมี ประสิทธิภาพ

ตัวอย่างเช่นถั่วแดง 100 กรัม มีกากใย 26.9 กรัมมะระขี้นก 100 กรัม มีกากใย 4 กรัมข้าวกล้อง 100 กรัม มีกากใย 3.4 กรัมมะเขือเปราะ 100 กรัม มีกากใย 2.96 กรัมแครอท 100 กรัม มีกากใย 2.8 กรัม

ข้อมูลโดย เมก้า วีแคร์

credit by :http://www.dailynews.co.th/Content/Article/252511/ปรับสมดุลลำไส้+พิชิตมะเร็งลำไส้ใหญ่