สาธกโวหาร คืออะไร

สาธกโวหาร สำนวนการเขียนที่มีการยกตัวอย่างมาอ้างให้เห็น

สาธกโวหารเป็นหนึ่งในสำนวนการเขียนที่มีประโยชน์อย่างมากในการสร้างความน่าเชื่อถือและความหนักแน่นให้กับข้อความหรือความคิดเห็นที่ต้องการสื่อสารออกไป เราจะเขียนสาธกโวหารอย่างไรให้ความสัมพันธ์และสอดคล้องกับสารที่ต้องการสื่อถึงผู้อ่าน ในบทความนี้จะพาทุกคนมาเรียนรู้เกี่ยวกับโวหารเสริมความอย่าง “สาธกโวหาร” มากยิ่งขึ้นไปด้วยกัน

สาธกโวหาร คืออะไร

“สาธกโวหาร” มาจากคำว่า “สาธก” และ ““โวหาร” ” ในภาษาไทย โดยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ได้ให้ความหมาย ดังต่อไปนี้

  • สาธก : (คำกริยา) ยกตัวอย่างมาอ้างให้เห็น. (ป.; ส. ว่า ช่วยทํา, ทําให้สําเร็จ).”
  • โวหาร : (คำนาม) ชั้นเชิงหรือสํานวนแต่งหนังสือหรือพูด เช่น มีโวหารดี, ถ้อยคําที่เล่นเป็นสําบัดสํานวน เช่น อย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร. (ป.).”
  • สาธกโวหาร” : (คำนาม) สำนวนเขียนที่มีการยกตัวอย่างมาอ้างให้เห็น.”

ดังนั้น สาธกโวหาร หมายถึง การหยิบตัวอย่างมาอ้างอิงประกอบการอธิบาย เพื่อสนับสนุนข้อความหรือความคิดเห็นให้มีความหนักแน่น และน่าเชื้อถือมากยิ่งขึ้น

ซึ่งตัวอย่างหรือเรื่องราวที่ยกมาประกอบการเขียน เช่น ประสบการณ์ตรงของผู้เขียน เรื่องราวของบุคคลสำคัญ นิทาน ตำนาน หรือวรรณกรร โดยสาธกโวหารเป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร การเลือกยกตัวอย่างจึงควรเลือกให้เข้ากับประเภทของโวหารนั้น ๆ

หลักการเขียนสาธกโวหาร

  1. การเขียนสาธกโวหารจะเขียนควบคู่กับเทศนาโวหาร หรือบรรยายโวหาร โดยการยกตัวอย่างประกอบ
  2. ตัวอย่างที่ยกมาประกอบเนื้อหาที่จะเขียนต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องสัมพันธ์กับเนื้อหาในพรรณนาโวหาร เทศนาโวหาร หรือบรรยายโวหาร อาจเป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ข่าว นิทาน หรือเหตุการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้น เป็นต้น ด้วยวิธีการเขียนที่กลมกลืนกัน เพื่อให้เนื้อหานั้น ๆ มีความเด่นชัดขึ้นนั่นเอง
  3. ภาษาที่ใช้บรรยายตัวอย่าวต้องมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย ต้องยกตัวอย่างชัดเจนใช้ถ้อยคำง่าย และควรสรุปหลังจากยกตัวอย่างประกอบแล้ว ให้เห็นความสำพันธ์ของเทศนาโวหารกับสาธกโวหารหรือบรรยายโวหารกับสาธกโวหาร

หลักการเขียนสาธกโวหาร

การยกตัวอย่างประกอบเนื้อหาควรรู้จักเลือกใช้โวหารให้เหมาะสมกับจุดประสงค์  บางครั้งอาจต้องใช้โวหารหลายชนิดในงานเดียวกัน แต่สิ่งสำคัญคือต้องเลือกใช้โวหารที่เหมาะสมสำหรับโอกาสและจุดมุ่งหมาย และเขียนอย่างถูกต้องตามลักษณะของโวหารนั้นๆ อาจเสริมแสดงโดยให้ตัวอย่างสั้นๆ เช่น ในบรรยายโวหาร หรืออาจให้ตัวอย่างที่มีรายละเอียดในพรรณนาโวหารและเทศนาโวหาร เป็นต้น

ตัวอย่าง สาธกโวหาร

“เย็นวันหนึ่ง ข้ำพเจ้ำเดินลัดเข้ำไปในตรอก ผ่ำนห้องแถวเตี้ย ๆ ซึ่งเป็นที่อยู่อำศัย
ของผู้หำเช้ำกินค ่ำ มองเข้ำไปในห้องหนึ่งเห็นชำยอำยุค่อนข้ำงหนุ่มกำลังนั่งขัดตะหมำด
เปิบข้ำวอยู่ในนั้น ที่นอนหมอนมุ้งก็เห็นอยู่ในห้องเดียวกันเห็นเมียอุ้มลูกน้อยนั่งอยู่ข้ำง ๆ ได้
เห็นชำยผู้นั้นกินข้ำวพลำงล้อลูกพลำง เห็นหน้ำเมียที่ยิ้มแย้ม เห็นลูกเล็กมีหน้ำเป็นหัวร่อ
อย่ำงไม่เดียงสำ ข้ำพเจ้ำเห็นแล้วก็เต็มตื้น นี่แหละควำมสุขอันแท้จริงของครอบครัว ถึงจะ
ยำกจนก็ยังมีควำมสุขตำมประสำจน เป็นควำมสุขที่จะซื้อหำกันด้วยเงินทองไม่ได้”

(เสถียรโกเศศ: ค่ำของวรรณคดี


ไม่มีอะไรที่น่าเอา…แต่คนทั่วไปก็ยังอยากจะเอาอยู่ เงินทองก็อยากได้ ชื่อเสียงก็อยากได้ อุ้งตีนหมีก็อยากจะกิน อำนาจยิ่งอยากได้ มากขึ้น ทุกคนอยากเป็นใหญ่เป็นโต เป็นเจ้าแห่งรุสเซียซึ่งใหญ่มหึมาแล้วยังไม่พอ เป็นเจ้าแห่งอเมริกาแล้วก็ยังไม่พอ ทะเยอทะยานอยากจะเป็นเจ้าโลก อยากเป็นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งโลกทั้งโลกต้องมาสยบอยู่แทบฝ่าพระบาท แต่ก็ยังอุตส่าห์มีตาแก่คนหนึ่งซึ่งนอนอยู่ข้างถนน มีหลังคา สับปะรังเคคลุมหัวอยู่

พอหลบฝนได้ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์เห็นสภาพ สุดอนาถาเช่นนั้นก็สงสาร ตรัสถามว่า ‘เจ้าอยากได้อะไร จงขอมา …ข้าจะให้เอ็ง ‘ ‘ขออย่างเดียวเท่านั้น ขออย่าได้มายืนบัง แสงอาทิตย์เกล้ากระผมชอบ แสงแดดอ่อนๆ ยามเช้า’ นี่คือคำตอบของตาแก่ผมยาว ร่างกายแสนจะสกปรกที่ทำให้จอมราชัน ผู้พิชิตถึงกับตะลึง

(วิลาศ มณีวัต)


“อำนำจควำมสัตย์เป็นอำนำจที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่เพียงแต่จับหัวใจคน แม้แต่สัตว์ก็ยังมี
ควำมรู้สึกในควำมสัตย์ซื่อ เมื่อกวนอูตำยแล้ว ม้ำของกวนอูก็ไม่ยอมกินหญ้ำกินน ้ำ และตำม
เจ้ำของไปในไม่ช้ำ ไม่ยอมให้หลังของมันสัมผัสกับผู้อื่นนอกจำกนำยของมัน”

(ประภัสสร เสวิกุล : ลอดลำยมังกร)


สรุป

สาธกโวหารเป็นการหยิบยกตัวอย่างมาประกอบการอธิบาย ในเทศนาโวหารและบรรยายโวหาร เพื่อสนับสนุนข้อความหรือความคิดเห็นให้มีความหนักแน่น และน่าเชื่อถือ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจและคล้อยตามมากยิ่งขึ้น

โดยตัวอย่างดังกล่าวอาจจะเป็นประสบการณ์ตรงของผู้เขียนเอง ผู้มีชื่อเสียง เหตุการณ์บ้านเมือง ตำนวน วรรณกรรม หรืออื่น ๆ  แน่นอนว่าตัวอย่างเหล่านั้นจะต้องตรงประเด็น ความสอดคล้องกับเนื้อหา และสามารถพบเห็นได้ทั่วไปก็จะทำให้สารที่เราส่งเข้าใจง่ายมากที่สุดนั่นเอง