“สิทธิบัตร” กับ “ลิขสิทธิ์” ต่างกันยังไง

“สิทธิบัตร” กับ “ลิขสิทธิ์” ต่างกันยังไง

ก่อนอื่นต้องเริ่มตั้งแต่ความหมาย หรือนิยามของทั้ง 2 คำ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

ด้านนิยาม

“สิทธิบัตร” กับ “ลิขสิทธิ์” ต่างกันยังไง

ลิขสิทธิ์ (copyright)

คือ “การให้ความคุ้มครองความคิดริเริ่มสร้างสรรค์” แก่เจ้าของผลงาน ซึ่งต้องใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ผลงานนั้น ๆ ขึ้นมา ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะทำอะไรกับงานของตัวเองก็ได้ เช่น เผยแพร่ จำหน่ายต่อ หรือเป็นผู้อนุญาตให้ผู้อื่นนำผลงานไปใช้ต่อ หากมีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ก็อาจเข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ก็ตามซึ่งจะมีบทลงโทษตามกฏหมาย
ส่วน

สิทธิบัตร (patent)

คือ “การคุ้มครองงานประดิษฐ์” ที่ต้องใช้กระบวนการในการวิจัยและพัฒนา การออกแบบผลิตภัณฑ์ (product design) กรรมวิธีการผลิต กลไกหรือองค์ประกอบของอุปกรณ์ต่างๆ สูตรสารเคมี เครื่องจักรชนิดใหม่ รูปทรงสินค้าต่างๆ ซึ่งรัฐจะออกเป็นหนังสือสำคัญเพื่อคุ้มครองงานดังกล่าวในช่วงระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

ในด้านชนิดของลิขสิทธิ์ กับสิทธิบัตรก็มีความต่างกันอยู่มากทั้งด้านจำนวน และสิ่งที่ถูกคุ้มครอง

ด้านชนิด

“สิทธิบัตร” กับ “ลิขสิทธิ์” ต่างกันยังไง

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 งานสร้างสรรค์มี 9 ชนิด คือ

1. งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ บทความ บทกลอน โปรแกรมคอมพิวเตอร์
2. นาฏกรรม เช่น ท่าเต้น ท่ารำ ที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว
3. ศิลปกรรม เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย
4. ดนตรีกรรม เช่น ทำนองเพลง เนื้อร้อง
5. โสตทัศนวัสดุ
6. ภาพยนตร์
7. สิ่งบันทึกเสียง
8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

ส่วน
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 สิทธิบัตรมี 3 ประเภท คือ

1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ คุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ใหม่ มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น อายุการคุ้มครอง 20 ปี

2. อนุสิทธิบัตร คุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ไม่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น อายุการคุ้มครอง 6 ปี ต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี

3. สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ คุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์ รูปร่าง สีสัน ลวดลายภายนอกของผลิตภัณฑ์แบบใหม่เท่านั้น โดยไม่คุ้มครองถึงกลไกการทำงานภายในแบบผลิตภัณฑ์นั้นๆ อายุการคุ้มครอง 10 ปี

 

และสิ่งที่เป็นความต่างในด้านเอกสาร และการคุ้มครองนั้น ก็มีส่วนที่ต่างกันอย่างชัดเจน

“สิทธิบัตร” กับ “ลิขสิทธิ์” ต่างกันยังไง

ลิขสิทธิ์

1. ผลงานถูกคุ้มครองโดยทันทีโดยไม่ต้องยื่นกรมทรัพย์สินทางปัญญา
2. ไม่ต้องจดทะเบียนเพื่อเป็นลิขสิทธิ์ แต่จะยื่นเอกสารให้กรมทรัพย์ทางปัญญาไว้ด้วยก็ได้
3. ไม่ต้องมีการตรวจสอบ
4. ระยะคุ้มครอง 50 ปี หลังผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต
5. ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
6. กรณีมีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำ ดัดแปลงผลงานโดย
เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ไม่เคยไปจดแจ้งกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาต้องไปยื่นคำร้องต่อศาล

สิทธิบัตร

1. ต้องจดทะเบียนเป็นสิทธิบัตรจึงจะได้รับความคุ้มครอง
2. ต้องยื่นคำขอสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา
3. ต้องมีการตรวจสอบว่าสิ่งประดิษฐ์ เคยมีการคิดค้นมาก่อนแล้วหรือไม่
4. ระยะคุ้มครอง 10 ปี และ 20 ปี
5. ต้องเสียค่าธรรมเนียมจดสิทธิบัตร
6. กรณีมีผู้ละเมิดสิทธิบัตร เจ้าของสิทธิบัตรต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ

 

ที่มา https://www.facebook.com/KBankKSME