พรรณนาโวหาร คืออะไร ?

พรรณนาโวหาร คืออะไร ? สำนวนมีไว้ใช้เล่าเรื่อง [พร้อมตัวอย่าง]

พรรณนาโวหาร คืออะไร

พรรณนา อ่านว่า พัน-นะ-นา หมายถึง การกล่าวเป็นเรื่องเป็นราวอย่างละเอียดให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ

พรรณนาโวหาร หมายถึง สำนวนที่ใช้ในการเล่าเรื่องราว สถานที่ บุคคล สิ่งของ หรืออารมณ์อย่างละเอียด ด้วยการสอดแทรกอารมณ์ ความรู้สึกลงไปในงานเขียน เพื่อสร้างความสนใจและความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อโน้มน้าวใจผู้อ่านหรือผู้ฟังให้เกิดอารมณ์คล้อยตามไปด้วย

ดังนั้นจุดมุ่งหมายในการเขียนจึงต่างจากบรรยายโวหาร ตรงที่พรรณนาโวหารมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตามไปกับข้อความนั้นเลยทำให้การเขียนพรรณนาโวหารยาวกว่าบรรยายโวหารมาก ทว่าไม่ใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนาโวหารมุ่งให้ภาพ และอารมณ์

จึงมักใช้การเล่นคำ เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์ แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มด้วยสำนวนโวหารที่ไพเราะ อ่านแล้วได้อรรถรส

ความสำคัญของพรรณนาโวหารในการเขียน

  • เพิ่มความสวยงามให้กับเนื้อหา : พรรณนาโวหารช่วยให้เนื้อหาที่เขียนมีความสวยงามและน่าสนใจมากขึ้น ด้วยการใช้คำพรรณนาโวหารที่ไพเราะและมีความหมายลึกซึ้ง สร้างเสริมภาพให้กับเนื้อหาและความโดดเด่นในการเล่าเรื่องมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังสัมผัสได้ถึงอารมณ์และความรู้สึก : พรรณนาโวหารเป็นตัวกลางที่ช่วยเชื่อมโยงระหว่างผู้เขียนและผู้อ่านหรือผู้ฟัง ช่วยให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังสามารถรับรู้อารมณ์และความรู้สึกที่ผู้เขียนต้องการสื่อ
  • เพิ่มความเข้าใจและลึกซึ้งในเนื้อหา: พรรณนาโวหารช่วยเพิ่มระดับความเข้าใจและลึกซึ้งในเนื้อหาที่เขียน ด้วยการใช้ภาพเชิงลึกซึ้งและคำพรรณาที่น่าสนใจ ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังสามารถเข้าใจเนื้อหาในระดับที่ลึกซึ้งขึ้น

4 หลักการเขียน พรรณนาโวหาร

สำหรับหลักในการเขียนพรรณนาโวหารออกมาให้เห็นภาพ กระทบความรู้สึกคนอ่าน ตรงกับจุดหมายที่ต้องการ สามารถทำได้ตาม 4 หลักการดังต่อไปนี้

1. เลือกใช้ถ้อยคำที่ไพเราะ เพื่อสื่อความหมาย ภาพ และอารมณ์

ในการเขียนพรรณนาโวหาร ควรเลือกใช้คำที่มีความหมายชัดเจน เห็นภาพชัดเจน บางครั้งอาจต้องเลือกใช้คำที่เสียงสัมผัสกัน เพื่อให้ภาษาสวยงามและสร้างความประทับใจให้กับผู้อ่าน การใช้คำที่ไพเราะและมีความหมายลึกซึ้งจะช่วยให้เกิดการสื่อสารที่เข้มข้นและรู้สึกได้ถึงความลึกซึ้งของเนื้อหาที่กำลังพรรณนาอยู่

2. ต้องมีใจความดี

อย่างที่รู้กันว่าการเขียนพรรณนาโวหารแต่ละครั้งเนื้อความค่อนข้างยาวและรายละเอียกเยอะ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีใจความดี เนื้อหาครบถ้วนและเข้าใจได้ถูกต้อง ใจความต้องมุ่งให้เกิดภาพและอารมณ์ความรู้สึกที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่กำลังพรรณนา นอกจากนี้ควรเลือกใช้คำศัพท์ที่สร้างความพอใจและบรรเทาอารมณ์ของผู้อ่านร่วมดัวย

3. ใช้อุปมาโวหารในการเขียน

เพื่อให้เนื้อหาของพรรณนาโวหารมีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น อุปมาโวหารเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเปรียบเทียบ เช่น ใช้การเปรียบเทียบกับสิ่งที่เป็นทั่วไปหรือตัวอย่างอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจและนำความหมายออกมาได้อย่างชัดเจน

4. ใช้สาธกโวหารในการเขียน

สาธกโวหาร คือการยกตัวอย่าง เพื่อให้เกิดความชัดเจนและโดดเด่น โดยการใช้สาธกโวหารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เพื่อสร้างภาพและอารมณ์ที่เด่นชัดในพรรณนาโวหาร สาธกโวหารมักถูกใช้กับการพรรณนาความงามของสถานที่ การยกเลิกุลเลือดบุคคล หรือใช้ในการพรรณนาอารมณ์และความรู้สึก เช่น ความรัก เกลียด โกรธ แค้น เศร้าสลด เป็นต้น

ตัวอย่าง พรรณนาโวหาร

“ถ้าหากว่า เหงื่อและน้ำตา ตลอดจนชีวิตของมนุษย์ที่ถูกเกณฑ์เอามาสร้าง นครวัดนี้ สามารถตักตวงเอาไว้ได้ เหงื่อ น้ำตา และชีวิตนั้นก็คงจะท่วมท้นคูที่ล้อมรอบนครวัดนี้อยู่ เสียงลมที่พัดเข้ามาทางช่องทวารศิลา และแล่นไปตามระเบียงมืดดังเหมือนเสียงสะท้อนของเสียงโหยหวนด้วยความเจ็บปวดเมื่อพันปีมาแล้ว เสียงค้ำงคำวกระพือปีก และเสียงค้างคาวร้องฟังดูเหมือนเสียงคนกระซิบกระซาบปรับทุกข์กันด้วยความเหนื่อยอ่อนและเมื่อยล้า”
(ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปรำโมช : ถกเขมร)

“อากาศยามเช้าในสวนของคฤหาสน์บดินทราช… ดูสดใส ผีเสื้อแสนสวย กรีดปีก ระยับในสายแดดอ่อนยามเช้าจากดอกหนึ่งไปที่ดอกไม้นานาพันธุ์อีกหลำย ๆ ดอก สีของกุหลาบปักกิ่ง … แดงสดสว่างจ้าตัดกับสีเขียวสดของสนำมหญ้า ประกำยของน้ำค้างต้องแดดวาววับราวกับอัญมณีเรี่ยรายอยู่บนพื้นสนาม”
(วาณิช จรุงกิจอนันต์ : ซอยเดียวกัน)

“ดอกจันทน์กระพ้อร่วงพรูแต่มิได้หล่นลงสู่พื้นดินทีเดียว เกสรเล็ก ๆ แดงเรี่อแกมเหลือลอยว่อนกระจัดพรัดพรายอยู่ในอากาศที่โปร่งสะอาดหน่อยหนึ่ง เหมือนลวดลายของตาข่ายที่คลุมไตรพระ กลีบและเกสรอาจจะตกลงถูกเหยียบเป็นผุยผงไป”
(แม่อนงค์ : แผ่นดินของเรา)

สรุป

พรรณนาโวหารนับเป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญในการเขียน ช่วยสร้างความสวยงาม ความลึกซึ้งให้กับเนื้อหา รวมถึงสร้างภาพเสียงที่สมจริงและอารมณ์ที่สื่อความจริงจังให้กับผู้อ่านหรือผู้ฟัง

นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือในการเพิ่มความน่าสนใจให้กับผู้ติดตามเนื้อเรื่อง ทำให้เนื้อหาเป็นไปในทิศทางที่น่าสนใจและน่าติดตาม เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังได้รับประสบการณ์การอ่านหรือการฟังที่มีคุณค่าและความหมายมากที่สุด