เริ่มทำความรู้จักกับ IQ , EQ , AQ , MQ , SQ ตัววัดมาตรฐานที่คุณควรรู้

ผู้คนทั่วไปมักจะรู้จักและเคยได้ยินกับ IQ และ EQ กันมาบ้างแล้ว แต่ผู้คนหลายส่วนยังไม่ทราบว่า นอกจากจะมี 2 สิ่งนี้ที่วัดระดับสติปัญญา รวมถึงทักษะการใช้ชีวิตแล้วนั้น ยังมี Q ตัวอื่นที่สามารถวัดและบ่งบอกทักษะต่าง ๆ ที่โดดเด่น หรือสามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ วันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ IQ , EQ , AQ , MQ และ SQ กัน เราจะมาดูกันว่า Q แต่ละตัวมีความหมายว่าอย่างไร และสามารถบ่งบอกอะไรได้บ้าง ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลย

ทำความรู้จักกับ Q ทั้ง 5 ตัว

สำหรับ Q ทั้ง 5 ตัว มีความหมายและการบ่งบอกลักษณะที่แตกต่างกัน อย่างที่ทราบกันดีว่า Q แต่ละตัวจะสามารถบ่งบอกความเป็นตัวเราได้หลากหลาย พร้อมทั้งยังสามารถนำไปพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดี โดย Q ทั้ง 5 ตัว มีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

  1. IQ หรือ INTELLIGENCE  QUOTIENT เป็นการวัดความฉลาดในด้านสติปัญญา

ความฉลาดทางด้านสติปัญญา สามารถเริ่มต้นวัดได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก โดยการวัดสามารถวัดได้จากอายุสมอง เป็นการวัดเทียบกับอายุจริงของตัวผู้วัด ในระดับปกติ IQ จะอยู่ในระดับที่ 90-110 จะเป็นการวัดความสามารถในด้านการคิด การวิเคราะห์ และความสามารถในด้านของวิชาการ เช่น วัดความจำ วัดการคำนวณ และการอ่านเขียน

แต่การวัดความฉลาดและสติปัญญา จะไม่สามารถวัดในด้านอื่น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน ทักษะด้านการทำงาน เรื่องความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการเข้าสังคม เป็นต้น  นอกจากนี้ IQ ยังรายละเอียดปลีกย่อย ตามด้านล่างนี้

การพัฒนาระดับ  IQ จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น

  • กรรมพันธุ์และสภาพแวดล้อม ทั้ง 2 ปัจจัยนี้ จะมีผลอย่างละ 50% แต่กรรมพันธุ์จะสามารถปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาได้ยาก ส่วนมากจึงต้องอาศัยจากสภาพแวดล้อม เช่นความรัก ความใส่ใจภายในครอบครัว การเลี้ยงดูในรูปแบบต่าง ๆ จึงทำให้มีการแนะนำเหล่าผู้ปกครองของเด็ก ๆ ถึงการจัดสรรเวลาให้กับลูกหลาน เพราะความรัก ความเอาใจใส่เป็นตัวกระตุ้นพันธการที่ดีต่อเด็กนั่นเอง
  • ทานอาหารครบ 5 หมู่ สารอาหารและแร่ธาตุต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายและสมอง โดยเฉพาะอาหารประเภท ปลา ไข่ ผัก ถั่วเหลือง รวมถึง วิตามิน เอ บี ธาตุเหล็ก และไอโอดีน ที่เป็นวิตามินสำคัญต่อการพัฒนาระดับ
  • กิจกรรมเพิ่มทักษะ เช่น การละเล่น การทำงานกลุ่ม ร่วมกิจกรรมสันทนาการ เล่นกีฬา ดนตรีที่ชื่นชอบ นอกจากนี้การออกกำลังกายก็มีส่วน ควรออกกำลังกายเพิ่มสมาธิ และฝึกความอดทน
  • การได้รับการยอมรับและคำชมเชยจากผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรม หรือการกระทำต่างที่ดี ควรมอบคำชมเชย และยอมรับในจุดนั้น ถือเป็นการพัฒนาทักษะด้านการคิดในทางบวก ช่วยให้อารมณ์ดี และมีความใจเย็น ไม่ตำหนิพร่ำเพื่อ เพราะจะเป็นการเพิ่มความเครียดได้ง่าย

ปัจจัยที่ส่งผลเสียต่อการพัฒนา IQ

  • ความเครียดและความกดดันจากการทำงาน เช่น อาการบ้างาน ทำงานหามรุ่งหามค่ำ การทำการบ้านที่มีมากจนเกินไป หรือไม่สามารถแก้ปัญหาโจทย์บางข้อได้
  • ร่างกายและสมองได้รับสารอาหารไม่เต็มที่ อาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนา
  • สมองไม่ได้รับการกระตุ้น และการฝึกใช้สมองในการคิดสิ่งต่าง ๆ เช่น ฝึกการจินตนาการ ฝึกการใช้ไหวพริบ การฝึกแก้ปัญหา รวมถึงการคิดสร้างสรรค์
  • ถูกตำหนิมากจนเกินไป หรือผู้ปกครองตำหนิเป็นประจำ แม้ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องเล็ก แต่ถูกตำหนิแทนการอธิบาย และทำความเข้าใจ จะทำให้เด็กหรือคนผู้นั้น เกิดความคิดในแง่ลบต่อตนเอง อาจมองข้ามคุณค่าของตนเอง อีกทั้งยังทำให้เกิดสภาะซึมเศร้า พัฒนาระดับ IQ ลดน้อยลง จนส่งผลให้บางรายเลือกเส้นทางที่ผิดได้

จากเบื้องต้นจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า การพัฒนาระดับและความแก่งของเด็ก สามารถทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ต้องใช้หลากหลายวิธี ไม่ใช่เพียงแค่ป้อนความรู้ด้านวิชาการให้เพียงอย่างเดียว เพราะการที่จะพัฒนาระดับ IQ ได้นั้น จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการอื่น ๆ นอกจากความรู้ด้านวิชาการ

เนื่องจากผลวิจัยพบว่า ความรู้ด้านวิชาการที่มีการบรรจุสอนภายในโรงเรียน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้เพียง 25 % เท่านั้นที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประวันได้จริง แต่ในความจริงแล้วทักษะความรู้ด้านวิชาการ อาจนำมาใช้ได้จริงไม่ถึง 10% ในชีวิตประจำวัน (อ้างอิงจาก รศ.พญ. ศันสนีย์  ฉัตรคุปต์)

  1. EQ หรือ  EMOTIONAL QUOTIENT เป็นการวัดความฉลาดทางด้านอารมณ์

ความฉลาดทางด้านอารมณ์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเข้าสังคมของมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตในด้านต่าง ๆ เช่น การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การทำงาน การประกอบธุรกิจ การเรียน หรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวัน จากงานวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้มีการติดตามกลุ่มเด็กตัวอย่างจำนวน 450 คน เป็นเวลานานถึง 40 ปี พบว่า กลุ่มตัวอย่างนี้ ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ โดยที่ไม่เกี่ยวกับระดับ IQ เพราะพวกเขาสามารถจัดการ ควบคุมอารมณ์ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกมากมายที่เป็นตัวบ่งชี้ ถึงความจริงในเรื่อง EQ ที่จำเป็นต้องมีและพัฒนาระดับ เพื่อที่จะสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้ เพราะการรู้อารมณ์ของตนเองและสามารถควบคุมได้ จะทำให้สามารถเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่นได้เช่นกัน อีกทั้งยังสามารถทำความอารมณ์ต่าง ๆ ของตนเองได้ เช่น อารมณ์โกรธ เศร้า โมโห รัก หรือหลง ทำให้สามารถอยู่กับสถานการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี และการพัฒนารวมถึงรายละเอียดเพิ่มเติม มีดังนี้

การพัฒนาระดับ EQ  สามารถพัฒนาได้ตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น

  • ผู้ปกครองเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก เพราะอารมณ์และการรับรู้ของเด็ก ขึ้นอยู่กับอารมณ์และการสั่งสอนจากผู้เลี้ยงดู อย่างตัวผู้ปกครอง หากผู้เลี้ยงดูมีอารมณ์รุนแรง อาจทำให้เด็กซึมซับและนำอารมณ์รุนแรง มาใช้กับผู้คนในสังคม
  • ไม่ดุด่า หรือ ต่อว่าเด็กต่อหน้าเพื่อน และผู้อื่น เพราะอาจทำให้เด็กเกิดความรู้สึกไม่มั่นใจ เกิดแผลทางด้านจิตใจ ส่งผลให้เด็กไม่กล้าแสดงออก
  • ไม่เปรียบเทียบบุตรหลานของตนเองกับผู้อื่น เพราะจำให้เด็กเกิดปมด้อยที่มาจากคำพูดของผู้ปกครอง ด้อยค่าตนเอง และส่งผลต่อการเกิดสภาวะซึมเศร้า
  • หมั่นชมเชยและมอบรางวัลเล็ก ๆ ให้กับเด็ก เมื่อเด็กกระทำการที่ดีควรชมเชย เพื่อให้กำลังใจและเสริมสร้างความมั่นใจของเด็ก อีกทั้งยังส่งผลให้เด็กมองเห็นคุณค่าในตนเอง และพร้อมกระทำสิ่งที่ดี
  • เมื่อเกิดเหตุการณ์ขัดแย้งและโต้เถียงกัน ไม่ควรใช้อารมณ์ร่วม ควรอธิบายอย่างใจเย็น เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจสถานการณ์และการกระทำเหล่านั้น
  • ไม่ควรตามใจ และปกป้องเด็กมากจนเกินไป เพราะมันส่งผลให้เด็กขาดทักษะในการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ จนก่อให้เกิดผลเสียในอนาคตเมื่อเด็กเติบโตขึ้น
  • ฝึกฝนให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง ควรเสริมสร้างทักษะนี้ตั้งแต่ยังอายุเพียง 6-8 เดือน ไม่ว่าจะเป็นการ ฝึกนั่งรับประทานอาหารเอง อาบน้ำ ใส่รองเท้า นอกจากนี้ยังสามารถดูทีวีได้เป็นระยะเวลาเพียง 1 ชั่วโมงต่อวัน
  • เมื่อเด็กมีอารมณ์ร้อน ผู้ปกครองควรใจเย็น พูดอธิบายเหตุผลอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • พาเด็กออกไปเปิดหูเปิดตา พาออกไปทำกิจกรรมกับเด็กคนอื่นนอกบ้าน เช่น เรียนว่ายน้ำ เล่นดนตรี ฝึกกีฬา เพื่อกระตุ้นความสดใส ความกล้าเข้าสังคม

การมีระดับ EQ ที่ดี ควรมีดังนี้

  • รับรู้และเข้าใจสภาวะอารมณ์ของตนเองได้เป็นอย่างดี
  • เข้าใจความรู้สึก และอารมณ์ของผู้อื่น มีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา จิตใจเมตตา โอบอ้อมอารีย์ ไม่คำนึงถึงความรู้สึกของตนเองฝ่ายเดียว อีกทั้งยังมีน้ำใจคอยช่วยเหลือผู้อื่น และเป็นการช่วยเหลือที่ไม่ทำให้ตนเองลำบาก
  • – สามารถปรับ และควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ เมื่อเกิดความโกรธ หรืออารมณ์ฉุนเฉียว ไม่กระทำพฤติกรรมอย่างหุนหันพลันแล่น สามารถปล่อยวางอารมณ์ค้างได้   ไม่ปล่อยให้ความรู้สึกไม่ดีจากสถานการณ์เก่า ๆ  มารบกวนการทำงาน และกิจกรรมที่กำลังกระทำในปัจจุบัน
  • ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ เช่น รัก โกรธ แค้น เศร้า เป็นต้น เมื่อเกิดความโกรธแล้วไม่นำมาผูกใจเจ็บ สามารถใจเย็นและนิ่งเฉยได้เมื่อพบเจอผู้คนยั่วยุ หากสามารถทำได้จะกลายเป็นคนที่น่าเคารพนับถืออีกหนึ่งคน  พร้อมทั้งยังมีผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีประสบการณ์กล้าให้คำแนะนำต่าง ๆ
  • ฝึกความมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบในตนเองและสังคม เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น อีกทั้งควรมีพัฒนาทักษะทางสังคมให้ดียิ่งขึ้น เช่น รู้เวลาถอย ตั้งรับ ทำความเข้าใจ มีไหวพริบ สามารถเอาตัวรอดได้ในหลากหลายสถานการณ์
  • อดทน ขยันหมั่นเพียร มีความกระตือรือร้น และมุ่งมั่น สามารถรู้เป้าหมายของตนเอง

 

  1. AQ หรือ Adversity Quotient เป็นการวัดด้านการแก้ปัญหาและวิกฤติ

การวัดความรู้ ความสามารถในการแก้ปัญหา รวมถึงทักษะการเผชิญหน้ากับวิกฤติต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งที่ AQ เป็นตัววัดตามมาตรฐาน และเป็นที่น่าเชื่อถือ สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตจริง หากค่า Q ตัวนี้ของคุณอยู่ในระดับดี หรือสูง แสดงว่า คุณเหมาะสมกับการเป็นผู้นำ และเป็นเจ้าของธุรกิจของตนเองได้ในอนาคต อีกทั้งยังพลิกเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสได้อีกด้วย แต่ถ้าหากว่า คุณมีค่าวัดมาตรฐานตัวนี้ต่ำ คุณมีโอกาสที่จะเป็นได้เพียงลูกจ้าง หรือมีโอกาสตกงานสูงนั่นเอง (อ้างอิงจาก Dr.Pual Gstolt)

การที่มีระดับ AQ ค่อนข้างต่ำ หรืออยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงมากนัก ไม่ต้องตกใจไป เพราะมันสามารถพัฒนาขึ้นได้ สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ หรือท่านผู้ปกครองทั้งหลาย ควรพัฒนาและกระตุ้นตั้งแต่ยังวัยเยาว์ ควรฝึกฝนและส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสม จึงจะสามารถพัฒนาได้อย่างลื่นไหล

การพัฒนาทักษะ AQ สามารถทำได้ตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น

  • ให้ทำกิจกรรมการแก้ปัญหารอบตัวด้วยตนเอง เป็นการกระตุ้นการเผชิญปัญหา มีความคิด ความอ่านก่อนวัย
  • เข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อน หรือ คนรอบข้าง เพื่อที่จะได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง สามารถเข้าสังคม และวางตัวได้อย่างเหมาะสม
  • ทำกิจกรรมสันทนาการ และกิจกรรมรอบตัวที่หลากหลาย ถือเป็นการพาไปเรียนรู้ความรู้ใหม่ ได้ลองทำหลากหลายสิ่ง
  • ฝึกให้เด็กช่วยเหลือตัวเอง สัมผัสกับการทำงานตามวัย รวมถึงการใช้ชีวิตจริงในปัจจุบัน
  • เมื่อเจออุปสรรค ควรให้เด็กได้เผชิญและแก้ปัญหาด้วยตนเอง หากมีบางจุดที่ไม่สามารถแก้ไขได้ สามารถให้คำปรึกษาตามเหตุและผลได้
  • หากเด็กอยู่ในวัยรุ่น หรือเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ควรให้เด็กได้เรียนรู้ และช่วยงานธุรกิจของผู้ปกครอง อาจจะแนะนำงานเล็กน้อยให้กับเด็ก เพื่อได้มีโอกาสหาประสบการณ์ตั้งแต่ในช่วงวัยนี้

การสร้าง AQ เพื่อพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส

  • Control การควบคุมสถานการณ์ และเหตุการณ์ได้ดี
  • Ownership ความเป็นตนเอง และการเป็นตัวของตนเอง ปัญหาที่เกิดมักอยู่ที่เรา
  • Reach มองหาหาทางเสมอ ทุกปัญหามีทางออก ไม่จบสิ้นแม้เผชิญกับปัญหาเดียว
  • Endurance มีความอดกลั้น อดทนสูง ไม่ว่าจะต้องเจอกับปัญหาอะไร ก็สามารถแก้ไข พร้อมมองโลกในแง่ดีได้ ไม่ฉุนเฉียววู่วาม

อย่างที่ทราบกันดีว่า การเพิ่ม AQ สามารถทำได้ โดยการฝึกฝนสมาธิ มีสติตลอดเวลา เพราะทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ เมื่อมีสติ ส่วนมากมักพึ่งพพาการใช้สติปัญญา พร้อมการมองโลกในแง่ดี จึงจะสามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้

 

  1. MQ หรือ MORAL  QUOTIENT เป็นการวัดด้านคุณธรรม จริยธรรมในตัวบุคคล

มนุษย์ทุกคนย่อมมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในตัวเอง แต่จะมาก น้อย ขึ้นอยู่กับความคิด การเติบโต สภาพแวดล้ออมที่ต้องเผชิญของตัวบุคคลนั้น แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถพัฒนา หรือเพิ่มเติมขึ้นได้ หากเปิดใจแน่นอนว่าสามารถพัฒนาขึ้นได้อย่างแน่นอน

การพัฒนา MQ สามารถทำได้ตามปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  • เล่านิทานสอนใจ สำหรับเด็กเล็ก ผู้ปกครองควรปลูกฝังในเรื่องคุณธรรม อย่างเช่น การเล่านิทานสอนใจ นิทานอีสป หรือเหตุการณ์ที่มีคติสอนใจ เป็นต้น
  • ปลูกฝังการทำความดี การช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อคนรอบข้าง รวมถึงชุมชน
  • ผู้ปกครองควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็ก อย่างเช่น การมีจิตใจที่โอบอ้อมอารีย์ ไม่ทิ้งขยะลงพื้น ช่วยคนชราข้ามถนน หรือพบเจอผู้ที่ทำของมีค่าตกหล่น ควรเอ่ยเตือนหรือนำไปคืน จะทำให้เด็กเรียนรู้และซึมซับการคิดไปในตัว
  • ช่วงวัยเรียนประถม มัธยม มีการสอนและปลูกฝังหลักธรรม การช่วยทำนุบำรุงศาสนา การบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน คนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็น การสอนหนังสือเด็ก ช่วยดูแลรุ่นน้อง ออกค่ายอาสา ช่วยคุณครูทำกิจกรรม หรือมีน้ำใจต่อเพื่อนฝูง
  • ไม่ประพฤติตนในทางที่ผิด อย่างเช่น การพูดคำหยาบคาย การลักขโมย การทำร้ายร่างกายผ็อื่น ไม่ว่าจะทางร่างกาย หรือจิตใจ ควรให้ความรู้การกระทำ ที่ไม่ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่างตั้งแต่เด็ก

 

  1. SQ หรือ SOCIAL QUOTIENT   เป็นทักษะการเข้าสังคม การประพฤติตัวและใช้ชีวิตร่วมผู้อื่น

ทักษะการเข้าสังคม เป็นสิ่งที่ควรมีในทุกเพศทุกวัย ถือเป็นทักษะสำคัญที่จะส่งผล ในการดำเนินชีวิตในอนาคตและปัจจุบัน เพราะไม่ว่าจะสังคมใด การมีทักษะในด้านนี้จะส่งผลดีต่อตนเอง นอกจากจะช่วยสร้างมิตรภาพที่ดี  ยังช่วยในเรื่องของการสร้างพันธมิตรในด้านธุรกิจได้อีกด้วย

การพัฒนาทักษะ SQ สามารถทำได้ไม่ยาก เช่น

  • ทำกิจกรรม สันทนาการกับเพื่อนวัยเดียวกัน ควรส่งเสริมการทำกิจกรรมตั้งแต่ยังเล็ก
  • ในวัยเด็กโตเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนที่หลากหลาย และทำการบ้าน กิจกรรมสันทนาการกับเพื่อน หรือรุ่นพี่
  • ทำความรู้จักกับเพื่อนหลากหลายประเภท แต่ควรรู้ขอบเขต

 

 

จากทั้งหมดที่กล่าวถึงในด้านบน ถือเป็น 5 ทักษะที่ตัววัดสามารถทำการวัด ออกมาได้ตรงตามความเป็นจริง ทำให้สามารถพัฒนา และแก้ไขจุดบกพร่องได้อย่างตรงจุด อีกทั้งยังเป็นแนวทางให้กับเหล่าคุณผู้ปกครองนำไปใช้ และพัฒนาเด็ก ๆ ที่บ้านได้อีกด้วย