เทศนาโวหาร คืออะไร ? มีลักษณะอย่างไร [พร้อมตัวอย่าง]
เทศนาโวหาร คืออะไร? ใช่การแสดงธรรมสั่งสอนหลักทางพระพุทธศาสนาหรือไม่? หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังสับสนเกี่ยวกับคำเหล่านี้อยู่ ในบทความนี้เราจะพามาค้นหาคำตอบของโวหารการเขียนอย่าง “ เทศนาโวหาร” มากยิ่งขึ้น เพื่อแยกความแตกต่างของโวหารประเภทต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
เทศนาโวหาร คืออะไร
เทศนาโวหาร หมายถึง การเขียนอธิบาย การชี้แจงให้ผู้อ่านเข้าใจถึงประโยชน์หรือโทษของเรื่องที่กำลังกล่าวถึง โดยใช้เหตุผลหรือหลักฐานมาประกอบ โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายชัดเจน เป็นการชักจูงให้คล้อยตาม หรือเพื่อแนะนำสั่งสอนและให้ข้อคิดคติเตือนใจผู้อ่าน
วิธีการเขียนผู้เขียนต้องเขียนอธิบาย หรือให้คำจำกัดความของสิ่งที่จะชี้แจงก่อน จากนั้นจึงกล่าวถึงเหตุผลที่จะเกิดตามมา อธิบายคุณและโทษ พร้อมยกตัวอย่างประกอบหรือเปรียบเทียบให้ผู้อ่านเข้าใจดีขึ้น โดยการยกตัวอย่างประกอบเรื่องราวในเทศนาโวหารนั้นเป็นสาธกโวหารประกอบเทศนาโวหารเสมอ
ดังนั้นข้อความที่ใช้เทศนาโวหารนี้ จึงมักเป็นปัญหา ความคิดเห็น วิชาและข้อจรรยา หรือสุภาษิต ฯลฯ ซึ่งผู้แสดงต้องการจะให้ผู้อ่านผู้ฟังเชื่อถือ ซึ่งมีลักษณะย่อ ๆ ดังนี้
- จำกัดความและอธิบายความ เช่น ให้ความหมายของสิ่งต่าง ๆ
- พิสูจน์ข้อเท็จจริง เช่น ครูชี้แจงให้ศิษย์เห็นจริง เรื่องน้ำถูกความร้อน ย่อมกลายเป็นไอ ฯลฯ ทางวิทยาศาสตร์ หรือตระลาการชี้แจงข้อเท็จจริงของโจทก์จำเลย ตามหลักฐานพยาน เป็นต้น
- ชี้แจงเหตุผล เช่น ชี้เหตุแห่งยุงชุมว่า เกิดจากปล่อยให้มีน้ำขังอยู่บน พื้นดินมาก และชี้ผลแห่งการดื่มน้ำโสโครกว่าจะเป็นโรคอหิวาต์ โรคบิด และไข้รากสาด เป็นต้น
- อธิบายคุณและโทษ เช่น ชี้แจงให้เห็นถึงคุณของไฟว่า ให้ความอบอุ่น มีประโยชน์ในการหุงต้มอาหาร ฯลฯ หรือชี้แจงโทษว่า หากพลั้งเผลอก็อาจจะไหม้บ้านได้ เป็นต้น
- แนะนำสั่งสอน ได้แก่ กล่าวสั่งสอน ให้ผู้อ่านคล้อยตาม และประพฤติตามด้วยอุบายต่าง ๆ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าในการใช้เทศนาโวหารนี้ผู้แต่งต้องการจะอธิบายข้อความที่ยากให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นจริงด้วย เช่น ข้อ ก. ข. ข้างต้นนี้แล้ว จะต้องแต่งเป็นร้อยแก้ว เพื่อเลือกใช้คำพูดสะดวก แต่ถ้าต้องการจะปลูกศรัทธาให้มีความรักใคร่หรือเชื่อฟังอย่างข้อ ง.มักแต่งเป็นคำประพันธ์ร้อยกรอง เพื่อเอาความเพราะพริ้งเข้ามาช่วย รวมถึงสุภาษิตต่าง ๆ เช่น เวลานํ้ามาฝูงปลากินมด เวลานํ้าลดฝูงมดกินปลา เป็นต้น
เทศนาโวหารจึงมีวิธีการเขียนที่ค่อนข้างยากกว่าโวหารประเภทอื่น เนื่องจากต้องใช้กลวิธีในการชักจูงใจเป็นถ้อยคำโวหารที่ใช้อธิบายความคิดเหตุผล โดยต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นด้วย เกิดความเชื่อถือและปฏิบัติตาม
หลักการเขียนเทศนาโวหาร มีอะไรบ้าง
ผู้เขียนต้องมีความรู้เรื่องที่จะเขียนเป็นอย่างดี
เพื่อให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและเป็นรูปแบบการเขียนที่มีความน่าสนใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงความสนใจและเข้าใจของผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรจะมีการอธิบายเนื้อหาอย่างชัดเจนให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง นอกจากนี้ยังควรใช้ประกอบกับโวหารประเภทอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างความชัดเจนและเนื้อหาที่ครอบคลุมมากขึ้น เช่น พรรณนาโวหาร เป็นต้น
ใช้ประกอบกับกับโวหารประเภทอื่น ๆ
โดยปกติแล้วการเขียนเทศนาโวหารต้องใช้โวหารประเภทอื่นประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็นบรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร อุปมาโวหาร หรือสาธกโวหารด้วย เพื่อให้ข้อความหรือสารที่ต้องการสื่อมีความชัดเจน แจ่มแจ้ง ทำให้ผู้อ่านคล้อยตามได้ไม่ยาก
อธิบายอย่างสมเหตุสมผล
เนื้อหาในเทศนาโวหารควรมีความสมเหตุสมผล โดยต้องมีการอธิบายอย่างเป็นระเบียบ และสามารถแสดงความคิดเห็นทั้งในด้านที่เป็นประโยชน์และโทษ หรือแสดงเหตุผลและผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ผู้อ่านควรสามารถเข้าใจและเกิดความคิดคล้อยไปตามที่ผู้เขียนต้องการ
การเขียนเทศนาโวหารมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ อันเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความรู้และเข้าใจในหัวข้อที่สนใจ
เทศนาโวหาร ตัวอย่าง
“โลกหรือสิ่งทั้งปวงมีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์และไม่เป็นตัวตนของโลก มันจะเล่นงานบุคคลผู้ที่เข้าไปยึดถือด้วยตัณหา อุปทานนับแต่วำระแรก คือตั้งแต่เมื่ออยากได้อยากเป็น กำลังได้กำลังเป็น และได้แล้วเป็นแล้ว ตลอดเวลาแห่งกาลทั้งสาม ใครเข้าไปยึดถืออย่างหลับหูหลับตา แล้วก็จะมีความทุกข์อย่างเต็มที่ เหมือนอย่างที่เราเห็นปุถุชนคนเขลาทั้งหลายเป็น ๆ กันอยู่โดยทั่วไปในโลก”
(พุทธทำส : คู่มือมนุษย์)
“เราคิดว่าทุกคนที่เกิดมาอย่างไม่มีอะไรติดตัวมาเลยแม้แต่ผ้านุ่งห่มสักผืนหนึ่งเวลาจากไปก็ นำเอาไปไม่ได้ จะเป็นทรัพย์สมบัติแท้ ๆ ที่ใกล้ชิดที่สุดก็ต้องฝังหรือเผาเปลี่ยนสภาพไป เมื่อฐานะที่แท้จริงของมนุษย์คือการไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือชีวิตเลือดเนื้อของตนเช่นนี้ การที่เราจะมานั่งเศร้ำโศกกับสิ่งที่เราไม่สามารถจะมีสิทธิ์ครอบครองได้จริงจังนั้น จะต่างอะไรกับคนที่เวียนดีใจเมื่ออาทิตย์ขึ้น และเสียใจเมื่ออาทิตย์ตก ซ ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน”
(สุชีพ ปุญญานุภาพ : เชิงผำหิมพานต์)
สรุป
จึงสรุปได้ว่า เทศนาโวหาร เป็นสำนวนการเขียนที่มีจุดมุ่งหมายในการอบรมสั่งสอน ด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้กับผู้อ่านผ่านการเขียนอธิบายถึงคุณและโทษของเรื่องต่าง ๆ เป็นหลัก เพื่อให้ผู้อ่านเห็นถึงความจริงทั้งสองด้านและคล้ายตามได้ไม่ยาก ซึ่งการเขียนเทศนาโวหารให้ออกมาดีและครบถ้วนสมบูรณ์ ผู้เขียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจของเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี มีการอธิบายอย่างสมเหตุสมผล พร้อมทั้งหยิบยกเอาโวหารประเภทอื่นมาประกอบการเขียนนั่นเอง