จังหวัดบุรีรัมย์

บุรีรัมย์ เป็นจังหวัดในภาคอีสาน ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดสุรินทร์ ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดสระแก้ว และประเทศกัมพูชา ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดสุรินทร์

บุรีรัมย์ เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมือง เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยสำหรับคนในท้องถิ่น และเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วยปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ สมัยทวาราวดี และที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์ คือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐและปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ เตาเผาภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่า “เครื่องถ้วยเขมร” ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-18 อยู่ทั่วไป หลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณแล้ว หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของบุรีรัมย์เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุง ศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา และปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ บุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมืองๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้

หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 23 อำเภอ ดังนี้

อำเภอเมืองบุรีรัมย์
อำเภอคูเมือง
อำเภอกระสัง
อำเภอนางรอง
อำเภอหนองกี่
อำเภอละหานทราย
อำเภอประโคนชัย
อำเภอบ้านกรวด
อำเภอพุทไธสง
อำเภอลำปลายมาศ
อำเภอสตึก
อำเภอปะคำ
อำเภอนาโพธิ์
อำเภอหนองหงส์
อำเภอพลับพลาชัย
อำเภอห้วยราช
อำเภอโนนสุวรรณ
อำเภอชำนิ
อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
อำเภอโนนดินแดง
อำเภอบ้านด่าน
อำเภอแคนดง
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

คำขวัญประจำจังหวัด
เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม

ตราประจำจังหวัด

รูปเทวดารำและปราสาทหิน เทวดารำหมายถึงดินแดนแห่งเทพเจ้าผู้สร้าง ผู้ปราบยุคเข็ญ และผู้ประสาทสุข ท่ารำ หมายถึงความสำราญชื่นชมยินดี ซึ่งตรงกับพยางค์สุดท้ายของชื่อจังหวัด ปราสาทหินคือปราสาทเขาพนมรุ้งซึ่งมีกำแพงล้อมรอบ ภายในท้องพระโรงมีเทวสถาน

ต้นไม้ประจำจังหวัด
กาฬพฤกษ์

ดอกไม้ประจำจังหวัด
ฝ้ายคำ

สถานที่สำคัญ
แหล่งท่องเที่ยว
ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ปราสาทหินเมืองต่ำ พระสุภัทรบพิตร ปรางค์กู่สวนแตง แหล่งเตาเผาโบราณ